Schedule

กำหนดการห้อง Ballroom

กล่าวรายงานโดย ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

กล่าวเปิดงานประชุม โดย ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ปาฐกถาพิเศษโดย ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คณะผู้บริหาร คณะสื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมงานสัมมนา เยี่ยมชมงานนิทรรศการ และผลงานวิจัย

Monday September 12, 2016 10:30 am -12:00 pm., Ball Room It states that today’s emerging technologies will have a similar effect on our society as water power and steam engines had at the end of the 19th century.  With the rising of Smart items, sensors and actors, products, tools, and machines, traditional “mechanical chains” in production are […]

การเสวนา Open Data and Big Data Analytics for E-Government ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม และผลักดันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเปิดและข้อมูลขนาดใหญ่ จะมาช่วยถ่ายทอดให้เห็นถึงเป้าหมายและความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบ ตลอดจนฉายภาพให้เห็นถึงข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของภาครัฐตามแนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ (Open Government Data) เพื่อส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใสของภาครัฐ การสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ และ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ริเริ่มเว็บไซต์ Data.go.th ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลเปิดของหน่วยงานภาครัฐที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในแบบชุดข้อมูลที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ง่าย (machine-readable data) ทั้งนี้ข้อมูลที่หลายหน่วยงานได้เปิดเผยนี้เป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ (Big Data) ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ (Data Analytics) เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย ที่สามารถนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของภาครัฐตามแนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ได้ การเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม และผลักดันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเปิดและข้อมูลขนาดใหญ่ มาช่วยถ่ายทอดให้เห็นถึงเป้าหมายและความก้าวหน้าในการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว ตลอดจนฉายภาพให้เห็นถึงข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของภาครัฐตามแนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เวลา 12:30-13:00 น. ลงทะเบียน เวลา 13:00-14:30 น. การเสวนา “Open Data and Big Data Analytics for E-Government” […]

ในปัจจุบันเทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาภาคการเงินของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าเดิม โดยพัฒนาการดังกล่าวครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของระบบการชำระเงิน การประกันภัย การฝากถอนกู้ยืมเงิน การซื้อขายหลักทัพย์ ไปจนถึงเรื่องของการระดมทุน อย่างไรก็ตามยังคงมีประเด็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัย ที่อาจทำให้ผู้ใช้งานบางกลุ่มเกิดความไม่มั่นใจ ไม่กล้าเริ่มใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าว การเสวนาครั้งนี้ จะเจาะลึกถึงอนาคตของเทคโนโลยีทางการเงินในประเทศไทย ว่าจะมีการพัฒนาไปในทิศทางใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และความมั่นคงปลอดภัยของระบบดังกล่าว รวมไปถึงเทคโนโลยี Blockchain ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางทั่วทุกมุมโลกว่าจะสามารถเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าของวงการธุรกรรมทางการเงินได้จริงหรือไม่ และพวกเราชาวไทยจะรับมือกับความเสี่ยง และโอกาสที่จะมาถึงนี้ได้อย่างไร เวลา 14:30-14:45 น. ลงทะเบียน เวลา 14:45-16:15 น. การเสวนาเรื่อง “FINTECH: อนาคตของ E-Payment และความมั่นคงปลอดภัย” ผู้ร่วมเสวนา คุณสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ Head of IT Security, Maybank Kim Eng Securities (Thailand) ดร.ชัยชนะ มิตรพันธ์ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) ดร.ภูมิ ภูมิรัตน ที่ปรึกษาอาวุโสบริษัท G-Able ดร. […]

Meeting Room1

“Lexitron” เครื่องมือในการสร้างรากฐานความเป็นพจนานุกรม ที่บุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้อ้างอิงและต่อยอด สนับสนุนการเพิ่มความสามารถของบุคคลากร โดยยกระดับจาก Labour Worker สู่ Knowledge Worker ในยุคที่มีการกล่าวถึง เศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ เช่น เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) เศรษฐกิจเชิงนวัตกรรม (Innovation based Society) การพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันนั้น จำเป็นต้องสร้างรากฐานของเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ให้ดีก่อน เล็กซิตรอนได้กำเนิดขึ้นในระยะแรกเพื่อพัฒนาข้อมูลพจนานุกรมโดยมีหลักการจากการนำข้อความที่มีการใช้งานจริงมาเป็นตัวตั้งต้นในการพัฒนาพจนานุกรม จากนั้นมีการเผยแพร่ ทั้งข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์เป็นวงกว้าง ในยุคถัดมาได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างรากฐานในการสะสมฐานความรู้ให้ขยายไปวงกว้างยิ่งขึ้น โดยการนำแพลตฟอร์มไปขยายในการพัฒนาพจนานุกรมต่างๆ ได้แก่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2554 พจนานุกรมเฉพาะทางต่างๆ เช่น ศัพท์แฟชั่น ศัพท์หม่อนไหม ศัพท์ลำไย และศัพท์พุทธศาสนา เป็นต้น ทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และบนมือถือ ซึ่งขยายผลไปถึงการรองรับในส่วนของผู้พิการทางสายตาด้วย การดำเนินงานในระยะถัดไป ทางทีมวางแผนในการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรากฐานความรู้ต่างๆ ให้เป็นพจนานุกรมที่บุคคทั่วไปสามารถนำไปใช้อ้างอิงและต่อยอดได้ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการเพิ่มความสามารถของบุคคลากรและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยยกระดับจาก Labour Worker สู่ Knowledge Worker ต่อไป […]

ร่วมเสวนาถึงอนาคตของการศึกษาไทยในยุคดิจิทัลเมื่องานวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Coursesหรือ MOOC) กับระบบคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources หรือ OER) เชื่อมโยงถึงกันกลายเป็นเครือข่ายทรัพยากรการศึกษามหภาค  ตั้งแต่ปี 2558 สวทช. โดยการสนับสนุนของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ริเริ่มงานวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Coursesหรือ MOOC) เชื่อมต่อกับระบบคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources หรือ OER) ภายใต้โครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ปัจจุบันเปิดให้บริการที่ http://mooc.learn.in.th และ http://oer.learn.in.th มีเป้าหมายเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่รวบรวมคลังข้อมูลเอกสาร ภาพ และวิดีโอคลิป ภายใต้สัญญานุญาตแบบเปิด (Creative Commons) เปิดเผยให้ผู้สนใจนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือสร้างบทเรียนในรูปแบบ MOOC ที่ผู้เรียนจากทั่วสารทิศสามารถเข้ามาเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรผู้นำเข้าข้อมูลจำนวนมาก ปัจจุบันมีข้อมูลOER […]

สะเต็มศึกษา (STEM Education) คือ แนวทางการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ได้แก่ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต โดยวิชาดังกล่าวมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศ ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสะเต็มศึกษา จึงได้พัฒนางานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่เน้นการส่งเสริมทักษะในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์นโยบายการศึกษาในรูปแบบดังกล่าว กรณีตัวอย่าง ผลงาน Kid-Bright บอร์ดที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ผ่านการเรียนรู้แบบ Learn and play โดยผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้างชุดคำสั่งแบบ Block-structured programming ผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน และผลงานวิจัย Mueye (เลนส์มิวอาย) ซึ่งเป็นเลนส์ที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้กล้องสมาร์ทโฟนหรือแทปเล็ตกลายเป็นกล้องจุลทรรศน์แบบพกพา สามารถบันทึกภาพวัตถุขนาดเล็กได้ง่ายขึ้น และเมื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายจะช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลและการเรียนรู้ระหว่างกันได้ ทั้งนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการพัฒนาผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยส่งเสริมนวัตกรรมการศึกษาในรูปแบบสะเต็มศึกษาที่เนคเทคได้วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเด็กไทยรุ่นใหม่ให้มีทักษะในการสร้างนวัตกรรมที่จะช่วยเสริมความสามารถในการแข่งขันของประเทศ   ผู้ร่วมเสวนา ดร.กุศลิน มุสิกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ ที่ปรึกษา สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ คุณสุภารัตน์ จูระมงคล ผู้จัดการกิจกรรมเพื่อชุมชน บริษัท ไมโครซอฟท์ […]

Meeting Room2

ร่วมเสวนาเกี่ยวกับ “การสร้างธุรกิจใหม่ ด้วยเทคโนโลยี IoT” แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นตั้งแต่แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี IoT ด้วย แพลตฟอร์ม NETPIE การประยุกต์ใช้งานสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการแนวทางการลงทุนต่อยอดสู่ธุรกิจ  ปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) มีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของอุปกรณ์ หรือ “Things” ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบต่างๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมก็ต่อเมื่อมีบุคลากรร่วมกันเข้าใช้และพัฒนาการใช้งานในลักษณะต่างๆ เพื่อพัฒนาสู่ธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี IoT บนแพลตฟอร์ม NETPIE เหมาะกับทั้งผู้ประกอบการ ผู้วิจัยพัฒนา รวมถึงบุคคลผู้สนใจทั่วไป อันจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับประเทศไทยและสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ในอนาคต การนำเสนอและ Showcase ในครั้งนี้จะเป็นการให้มุมมองความคิดเห็นอย่างครบวงจร ตั้งแต่แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี IoT ด้วย แพลตฟอร์ม NETPIE การประยุกต์ใช้งานสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการแนวทางการลงทุนต่อยอดสู่ธุรกิจ ซึ่งสามารถใช้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลงานวิจัยพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการของไทยให้ตอบสนองความต้องการของตลาด และผู้บริโภค อย่างแท้จริง โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลาย เวลา 10:30-12:00 น. Special Talk I “มุมมอง…การสร้างธุรกิจใหม่ ด้วยเทคโนโลยี IoT” เปิดมุมมอง […]

ร่วมเสวนากับเหล่านักพัฒนาผู้ใช้ NETPIE พร้อมไขข้อข้องใจอนาคตของนักพัฒนาไทยและการนำ IoT ไปใช้ต่อยอดสร้างธุรกิจ

การนำเสนอผลงานประดิษฐ์คิดค้นด้าน IoT ที่พัฒนาด้วย NETPIE ร่วม Vote ผลงานที่สนใจในแง่ความคิดสร้างสรรค์และน่าลงทุน

Meeting Room3

ระบบบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูก กับ แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ จะมีผลต่ออนาคต Smart Farm ของประเทศไทยอย่างไร? What2Grow เป็นระบบบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสมจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินในการเพาะปลูก ข้อมูลเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านราคา แหล่งรับซื้อ และเครื่องมือสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อสร้างโมเดลแนะนำพืชทดแทนให้เกษตรกร เพื่อให้มีรายได้สูงขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2558 โครงการระยะที่ 1ได้นำร่องในจังหวัดกำแพงเพชร และในปีงบประมาณ 2559 จะดำเนินการเพิ่มอีกใน 16 จังหวัด และจะพัฒนาระบบให้สามารถใช้งานครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศต่อไป Agri-Map Online เป็นแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้แบบออนไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยบูรณาการข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร จากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สําหรับใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการการเกษตรไทยอย่างมีประสิทธิภาพครอบคลุมทุกพื้นที่ มีการปรับข้อมูลให้ทันสมัย พร้อมกับสามารถติดตามข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง ครอบคลุมการนําไปใช้ประโยชน์ทุกด้าน ที่สําคัญเป็นการนําเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้กับข้อมูลด้านการเกษตร ซึ่งสามารถตอบโจทย์การช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรไทยในรายพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ระบบนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย เนคเทค สวทช. ร่วมพัฒนาระบบแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ (Agri-Map Online) ในงานเสวนานี้ ผู้เข้าฟังจะได้รับทราบถึงความสำคัญของข้อมูลและฟังก์ชันที่น่าสนใจของสองระบบ รวมไปถึง การบูรณาการข้อมูลและเครื่องมือของสองระบบ เพื่อการวิจัยและพัฒนาSmart Farm ในประเทศไทยให้เป็นจริงได้ในอนาคตอันใกล้นี้ […]

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ได้มีความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับการผลิตเป็นอาหารเท่านั้น สัตว์น้ำสวยงามยังเป็นกลุ่มที่ทำรายได้จำนวนมหาศาลให้กับเกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เห็นความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพยายามคิดค้นวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีลักษณะภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรได้ ในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2559 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 30 ปีเนคเทค ทีมวิจัยจากห้องปฏิบัติการต่างๆที่เกี่ยวข้อง จึงได้ร่วมกันจัดการเสวนาเรื่องแนวโน้มและทิศทางระบบตรวจสอบและติดตามเพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอัจฉริยะ (Smart Aqua Monitoring System – SAMS) ขึ้น เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยน รับทราบความคิดเห็น ความต้องการของเกษตรกร ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเอาข้อมูลดังกล่าว มาพัฒนาผลงานซึ่งมีการพัฒนามาระดับหนึ่งแล้ว ให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อหาทิศทางที่เหมาะสมในการพัฒนาผลงานให้พร้อมไปสู่การนำไปขยายผลต่อ เพื่อการทำธุรกิจขายหรือให้บริการระบบ/อุปกรณ์ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้น อีกด้วย ผู้ร่วมเสวนา คุณบรรจง นิสภวาณิชย์ นายกสมาคมสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย คุณเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด คุณเสกสรรค์ ศาสตร์สถิต หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดร.ศุภนิจ […]

ร่วมเสวนาถึงเส้นทางการวิจัยเทคโนโลยีแสงของเนคเทค การนำผลงานวิจัยเทคโนโลยีแสงไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนตัวอย่างเทคโนโลยีแสงที่กำลังก้าวเข้ามาในอนาคต ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ได้เริ่มมีการวิจัยด้านเทคโนโลยีแสงอย่างต่อเนื่องและยาวนานเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ เริ่มจากงานวิจัยเทคโนโลยีฮอโลแกรมจนถึงการพัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์เชิงแสง เทคนิคเชิงแสงในการตรวจวัดตรวจสอบต่าง ๆ ของเนคเทคได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างกว้างขวาง อาทิ การเคลือบเลนส์แว่นตา การตรวจวัดหัวอ่านฮาร์ดดิสต์ การตรวจสอบผลผลิตทางการเกษตร และการตรวจสอบสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น ปัจจุบัน เทคโนโลยีแสงยังคงเป็นงานที่ท้าทายสำหรับนักวิจัยทั่วโลก การค้นพบใหม่ถูกนำไปพัฒนาต่อยอดในเชิงเทคนิคเพื่อรองรับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม 4.0 มากมาย ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับทราบถึงเส้นทางการวิจัยเทคโนโลยีแสงของเนคเทค การนำผลงานวิจัยเทคโนโลยีแสงไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนตัวอย่างเทคโนโลยีแสงที่กำลังก้าวเข้ามาในอนาคตและทิศทางการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม อาทิ เทคโนโลยีแสงแบบใหม่ในหัวอ่านฮาร์ดดิสต์ และเทคโนโลยี TeraHertz (THz) เป็นต้น ผู้ร่วมเสวนา คุณธรณ์ ประจักษ์ธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดร.กฤษฎา เสียงแจ้ว ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดร.กิตติพงศ์ […]

Meeting Room4

การพัฒนาเมืองธรรมดาให้กลายเป็น Smart City สามารถทำได้อย่างไร อะไรคือองค์ประกอบ? มาร่วมฟังประสบการณ์ของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่ได้มีส่วนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาร่วมแก้ปัญหา ตลอดจนการร่วมสร้าง Business Model เพื่อประโยชน์ของเมืองต่างๆ ในปัจจุบัน Smart City หรือเมืองอัจฉริยะเป็นกระแสที่กำลังมีพัฒนากันทั่วโลก เพราะเป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับเมืองเพื่อให้มีความน่าอยู่มากขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองได้อย่างรวดเร็ว การเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเพื่อช่วยพัฒนาระบบบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับพื้นที่ มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างความปลอดภัยได้มากขึ้น แนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเมืองให้มีความอัจฉริยะนั้น จะต้องมีความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจ รัฐบาล รวมถึงประชาชนในพื้นที่ร่วมกันพัฒนาเมือง ซึ่งในหลายประเทศก็ได้มีการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจ เช่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สเปน เป็นต้น โดยมีบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกได้เข้ามาร่วมมือกับรัฐบาลในการนำเอาเทคโนโลยี ICT เข้ามาช่วยบริหารจัดการเมืองและชุมชนให้มีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นจนประสบความสำเร็จในการเป็นต้นแบบให้กับประเทศอื่นๆ สำหรับประเทศไทย การประกาศนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล (Digital Economy) ที่จะเน้นการผลักดัน Smart City ให้เป็นกลไกที่จะสร้างโอกาสในการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับพื้นที่ให้ดีขึ้น แต่มีคำถามต่างๆ ที่ตามมาว่า การที่จะผลักดันให้มีความสำเร็จ และเกิดความยั่งยืนได้เช่นเดียวกับประเทศที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะมาแล้ว อะไรคือ องค์ประกอบ วิธีการจะเป็นอย่างไร และควรจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้างที่เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีความเป็นไทย ดังนั้น การสัมมนาในหัวข้อนี้จะเป็นการนำเสนอประสบการณ์ของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มีประสบการณ์ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ เทคโนโลยี ICT เข้ามาร่วมแก้ปัญหา ตลอดจนการร่วมสร้าง Business […]

“Are we ready for creating captions on digital TV? ” ร่วมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคนพิการทางการได้ยิน เสวนาประเด็นโครงสร้างพื้นฐานเชิงเทคนิคและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พร้อมชมการสาธิตระบบต้นแบบบริการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงแบบทันเวลา และการประยุกต์เพื่อทำคำบรรยายแทนเสียงบนสื่อออนไลน์ เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกกลุ่ม วงการสื่อสารมวลชนของประเทศไทยมีความตื่นตัวมากขึ้นในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เพื่อเอื้อสำหรับการเข้าถึงของประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก “ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนพิการ ให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์” เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 ที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ต้องจัดให้มีรายการโทรทัศน์ที่มี บริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง เสียงบรรยายภาพ หรือบริการอื่นใด ตามสัดส่วนรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยเฉพาะเรื่องคำบรรยายแทนเสียงต้องมีสัดส่วนร้อยละ 40 และต้องจัดให้มีเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 60 ภายใน 5 ปี รวมเวลาตลอดทั้งวันเฉลี่ยแล้วต้องไม่น้อยกว่า 180 นาทีต่อวัน ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดบริการดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป การจัดทำคำบรรยายแทนเสียงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันเพื่อให้ผลการดำเนินการสามารถตอบโจทย์การนำไปใช้ เพื่อให้ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินได้รับข้อมูลจากรายการโทรทัศน์เท่าเทียมกับผู้ที่ได้ยินเสียง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือช่วยการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงในหลายๆ รูปแบบ ได้แก่ เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแบบบันทึกล่วงหน้า และแบบทันเวลาหรือใกล้เคียงกับเวลาออกอากาศ ในการสัมมนาวิชาการครั้งนี้จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องในการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงให้เป็นไปตามข้อกำหนดและทันต่อเวลาในการนำไป […]