"Lexitron" เครื่องมือในการสร้างรากฐานความเป็นพจนานุกรม ที่บุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้อ้างอิงและต่อยอด สนับสนุนการเพิ่มความสามารถของบุคคลากร โดยยกระดับจาก Labour Worker สู่ Knowledge Worker
ในยุคที่มีการกล่าวถึง เศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ เช่น เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) เศรษฐกิจเชิงนวัตกรรม (Innovation based Society) การพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการแข่งขันนั้น จำเป็นต้องสร้างรากฐานของเศรษฐกิจสังคมฐานความรู้ให้ดีก่อน
เล็กซิตรอนได้กำเนิดขึ้นในระยะแรกเพื่อพัฒนาข้อมูลพจนานุกรมโดยมีหลักการจากการนำข้อความที่มีการใช้งานจริงมาเป็นตัวตั้งต้นในการพัฒนาพจนานุกรม จากนั้นมีการเผยแพร่ ทั้งข้อมูลและโปรแกรมประยุกต์ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์เป็นวงกว้าง ในยุคถัดมาได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างรากฐานในการสะสมฐานความรู้ให้ขยายไปวงกว้างยิ่งขึ้น โดยการนำแพลตฟอร์มไปขยายในการพัฒนาพจนานุกรมต่างๆ ได้แก่ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2554 พจนานุกรมเฉพาะทางต่างๆ เช่น ศัพท์แฟชั่น ศัพท์หม่อนไหม ศัพท์ลำไย และศัพท์พุทธศาสนา เป็นต้น ทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และบนมือถือ ซึ่งขยายผลไปถึงการรองรับในส่วนของผู้พิการทางสายตาด้วย การดำเนินงานในระยะถัดไป ทางทีมวางแผนในการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างรากฐานความรู้ต่างๆ ให้เป็นพจนานุกรมที่บุคคทั่วไปสามารถนำไปใช้อ้างอิงและต่อยอดได้ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการเพิ่มความสามารถของบุคคลากรและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันโดยยกระดับจาก Labour Worker สู่ Knowledge Worker ต่อไป
เวลา 10:00-10:30 น. ลงทะเบียน
เวลา 10:30-12:00 น. การเสวนา “20 ปี Lexitron กับเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้”
ผู้ร่วมเสวนา
- ดร.ชลธิชา สุดมุข
นักวรรณศิลป์ชำนาญการพิเศษ
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา - คุณศิริพร บุญชู
ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม - คุณภัทระ เกียรติเสวี
ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เมตามีเดีย เทคโนโลยี จำกัด - คุณปรเมศวร์ มินศิริ
กรรมการผู้จัดการ บริษัท บันฑิต เซ็นเตอร์ จำกัด Kapook.com - ดร.วีระแมน นิยมพล
อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล
ดำเนินรายการโดย
- ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย
หน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สรุปประเด็นการเสวนา
1. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งได้นำฐานข้อมูลและแพลตฟอร์ม Lexitron ไปใช้ประโยชน์มานาน และในปัจจุบันมีการพัฒนาต่อยอดเป็น application บนอุปกรณ์เคลื่นที่เพื่อการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำพจนานุกรมภาษาท้องถิ่นไทยภาคต่างๆ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับสังคมไทยเป็นอย่างมาก
2.สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม ผู้อำนวยการสำนักกล่าวว่า เรื่องหม่อนไหมเกี่ยวข้องทั้งด้านวิทยาศาสตร์และยังเป็นศิลปะภูมิปัญญาท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งได้รับประโยชน์จาก Lexitron เป็นอย่างมากที่จะช่วยอนุรักษ์เรื่องหม่อนไหมและการทอผ้าให้คนรุ่นหลังผู้ที่สนใจได้ศึกษาเรียนรู้ให้คงอยู่คู่กับสังคมไทยสืบไป
3. วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.วีระแมน นิยมพล อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตซึ่งเป็นผู้พิการทางสายตา แสดงให้เห็นว่าทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ทางภาษาได้อย่างเท่าเทียมและควรมุ่งสู่ inclusive society
4. ผู้แทนจากภาคเอกชน ผู้จัดการทั่วไปพจนานุกรม Longdo Dictionary และกรรมการผู้จัดการ Kapook.com ขอบคุณที่เนคเทคเผยแพร่ให้มีการใช้ประโยชน์ Lexitron ทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย และหากหน่วยงานภาครัฐเผยแพร่ข้อมูลมากขึ้นจะทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วน เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นอย่างมาก
ดาวน์โหลดไฟล์นำเสนอ (.pdf)
- พจนานุกรมศัพท์หม่อนไหม โดย คุณศิริพร บุญชู