TTRS Service Platform

Facebook
Twitter
TTRS เนคเทค

 

แฟลตฟอร์มระบบบริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยิน และคนพิการทางการพูด
สำหรับศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ

แฟลตฟอร์มระบบบริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยินและคนพิการทางการพูด ถูกพัฒนามาจากแฟลตฟอร์มของ NECTEC ชื่อ iAgent ถ้าดูตามโครงสร้างของ Service Platform (รูปที่ 1) ตามโครงสร้าง iAgent จะมี Core Engine อยู่ในส่วน Platform as a Service (PaaS) และ Application Interface อยู่ในส่วน Software as a Service (SaaS) ซึ่งทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกัน ซึ่งในส่วน SaaS จะเป็น Software

TTRS เนคเทค

 

รูปที่ 1 : โครงสร้างแฟลตฟอร์มของเนคเทค (iAgent) ตามรูปแบบโครงสร้างของ Service Platform

ตัวอย่างในการเชื่อมต่อกับชั้น PaaS ในการนำประยุกต์ใช้งานต่างๆ ต้องมีการพัฒนา User Interface ให้มีความเหมาะสมกับบริการนั้นๆ และต้องมีการปรับแต่งในส่วน PaaS ให้มีการเชื่อมกับภายในกันเองและเชื่อมต่อกับ Software ที่ชั้น SaaS ด้วย เพื่อให้ได้ระบบบริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยิน และคนพิการทางการพูดได้ (ดังเช่นตัวอย่างระบบตามรูปที่ 2)

TTRS เนคเทค

 

รูปที่ 2: ตัวอย่างโครงสร้างการทำงาน iAgent ที่มีฟังก์ชันแบบ Total Communication และนำมาเหมาะสมกับบริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบสนทนาวิดีโอ

ระบบบริการถ่ายทอดการสื่อสารสำหรับคนพิการทางการได้ยิน และคนพิการทางการพูด สำหรับศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ ประกอบด้วยระบบดังนี้

TTRS เนคเทค

 

1. ระบบ SMS Relay Service
มีขั้นตอนการใช้งานเริ่มจากคนหูหนวกส่ง SMS ข้อความและเบอร์คนหูดี เข้าศูนย์บริการที่มีเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือประจำอยู่ เมื่อเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือรับเรื่องผ่านเว็บไซด์ CRM และแปลข้อความที่ส่งเข้ามา จากนั้นเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือจะโทรออกไปยังเบอร์คนดีที่คนหูหนวกแจ้งเข้ามา เมื่อคนหูดีรับสายเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือจะแจ้งข้อความที่คนหูหนวกส่งมาให้คนหูดีทราบ และเมื่อคนหูดีตอบกลับเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือจะพิมพ์คำตอบที่ได้เป็นข้อความ แล้วส่งข้อความกลับเป็น SMS เข้ามือถือของคนหูหนวก โดย SMS จะส่งผ่านเว็บไซด์ ด้วยวิธีการนี้ทำให้คนหูหนวกและคนหูดีสามารถสื่อสารกันได้
2. ระบบ Multimedia Message Relay Service (MMS Relay หรือ TTRS Message)
มีขั้นตอนการใช้งานเริ่มจากคนหูหนวกใช้แอปพลิเคชัน TTRS Message ส่งวิดีโอภาษามือและเบอร์คนหูดีเข้าศูนย์บริการที่มีเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือประจำอยู่ เมื่อเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือรับเรื่องผ่านเว็บไซด์ CRM ของ TTRS Message และแปลวิดีโอภาษามือที่ส่งเข้ามา จากนั้นเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือจะโทรออกไปยังเบอร์คนดีที่คนหูหนวกแจ้งเข้ามา เมื่อคนหูดีรับสายเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือจะแจ้งข้อความที่คนหูหนวกส่งมาให้คนหูดี และเมื่อคนหูดีตอบกลับเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือจะแปลคำตอบที่ได้ไปเป็นวิดีโอภาษามือ แล้วส่งวิดีโอภาษามือกลับผ่านเว็บไซด์ CRM ของ TTRS Message ไปยังแอปพลิเคชัน TTRS Message ของคนหูหนวก ด้วยวิธีการนี้ทำให้คนหูหนวกและคนหูดีสามารถสื่อสารกันได้
3. ระบบ IP Relay Service via PC and Mobile (TTRS Live Chat)
เป็นการให้บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบการส่งข้อความผ่านเว็บไซต์ www.ttrs.or.th หรือแอปพลิเคชัน TTRS Live Chat โดยแจ้งชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ผู้รับปลายทางพร้อมข้อความติดต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสารจะติดต่อไปยังผู้รับปลายทางเพื่อแจ้งให้ทราบ ถ้ามีการสอบถามหรือตอบกลับกลับมา เจ้าหน้าที่ถ่ายทอดการสื่อสารจะพิมพ์ข้อความโต้ตอบกับผู้ที่บกพร่องทางการได้ยิน ทำเช่นนี้จนจบข้อความสนทนา
4. ระบบ Video Relay Service via Mobile, Web Based และ Video Phone
มีขั้นตอนการใช้งานเริ่มจากคนหูหนวกโทรผ่านแอปพลิเคชัน TTRS Video เข้าไปศูนย์บริการที่มีล่ามภาษามือประจำอยู่ เมื่อล่ามภาษามือรับสายคนหูหนวกก็จะโทรออกไปยังเบอร์คนปกติที่คนหูหนวกต้องการสนทนาด้วย ในการสื่อสารล่ามภาษามือจะแปลภาษามือของคนหูหนวกเป็นเสียงให้กับคนหูดีฟัง และเมื่อคนหูดีพูดล่ามภาษามือจะแปลเสียงคนหูดีเป็นภาษามือให้กับคนหูหนวก ด้วยวิธีการนี้ทำให้คนหูหนวกและคนหูดีสามารถสื่อสารกันได้
5. Captioned Phone Relay Service
มีขั้นตอนการใช้งานเริ่มจากคนหูตึงโทรผ่านแอปพลิเคชัน TTRS Captioned เข้าศูนย์บริการที่มีเจ้าหน้าที่ถอดความเสียงพูดประจำอยู่ เมื่อเจ้าหน้าที่ถอดความรับสายคนหูตึง เจ้าหน้าที่ถอดความเสียงพูดจะโทรออกไปยังเบอร์คนดีที่คนหูตึงต้องการสนทนา เมื่อคนหูดีรับสายและเริ่มพูด เจ้าหน้าที่ถอดความเสียงพูดก็จะเริ่มถอดความเสียงของคนหูดีแล้วส่งข้อความให้กับคนหูตึงแบบการแสดงผลแบบทันต่อเวลา คนหูตึงก็จะได้ยินทั้งเสียงพูดของคนหูดีและข้อความที่ถอดความเสียงไปพร้อมกัน ด้วยวิธีการนี้ทำให้คนหูตึงเข้าใจในสิ่งที่คนหูดีพูดได้
6. CRM for Emergency Relay Service
เป็นการใช้สำหรับกรณีคนหูหนวกโทรเข้ามาใช้บริการถ่ายทอดการสื่อสารแบบกรณีฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือก็สามารถคุยกับแบบ Video Conference เพื่อให้เจ้าหน้ารับแจ้งเหตุฉุกเฉินและคนหูหนวกและล่ามภาษามือได้เห็นหน้ากันครบสามฝ่ายได้ ทำให้เจ้าหน้าที่รับเรื่องได้เห็นภาพในฝั่งคนหูหนวกก็จะทำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือคนหูหนวกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และกรณีเป็นการขอความช่วยเหลือทางการแพทย์สามารถส่งข้อมูลไปยังระบบ ITEMES ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินได้อีกด้วย
7. Speech Enhancement for Laryngectomee and Palate
มีขั้นตอนการใช้งานเริ่มจากผู้ที่บกพร่องทางการพูดโทรเข้าเครื่อง Server ที่มีโปรแกรมปรับปรุงเสียงพูดจากนั้นระบบจะโทรออกไปยังเบอร์คนทั่วไปที่ต้องการสนทนา เมื่อผู้ที่บกพร่องทางการพูดพูดระบบจะนำเสียงไปผ่าน Engine ปรับปรุงเสียงพูด ซึ่งเสียงที่ได้จะมีความชัดเจนขึ้น ทำให้คนทั่วไปได้ยินเสียงผู้ที่บกพร่องทางการพูดชัดเจนขึ้น
8. 3D Sign Language Dictionary
เป็นพจนานุกรม3D Animation ของการแสดงท่าภาษามือ โดยคำศัพท์และการแสดงท่าทางสามารถเพิ่มได้ผ่านเครื่องมือ ซึ่งจะทำโดยเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือ ไว้เป็นเครื่องมือให้คนหูหนวกในท้องถิ่นไว้ใช้ศึกษาท่าภาษามือกลาง ซึ่งจะช่วยให้สื่อสารกับเจ้าหน้าที่ล่ามภาษามือได้ดีขึ้น
TTRS เนคเทค

 

รูปที่ 3 : โครงสร้างระบบบริการถ่ายทอดการสื่อสาร, ระบบบริการ Speech Enhancement และระบบ 3D Sign Language Dictionary