|หน้าหลัก|ประวัติการทำบูดู|ปลากะตัก|การผลิตบูดู|วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู|การนำบูดูไปประกอบอาหาร|ลักษณะของบูดู|เอกสารอ้างอิง|

คณะผู้จัดทำ: โรงเรียนสายบุรี "แจ้งประชาคาร" ถ.สายบุรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 94110
โทรศัพท์: 073-411031 แฟกซ์: 073-411031

เวปไซต์นี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดกับ Internet Explorer 6.0 ขึ้นไป, ความละเอียดจอภาพ 800x600 พิกเซล, Text Size Medium

การจับปลากะตัก


ในการทำประมงปลากะตักนั้น จากการสอบถามพบว่ามีการทำการประมงปลากะตักด้วยกัน 2 วิธีคือ การทำประมงปลากะตักแบบพื้นบ้าน และการทำประมงปลากะตักโดยใช้เรือปั่นไฟ ซึ่งมีวิธีการดังนี้

      การทำประมงปลากะตักแบบพื้นบ้าน จะใช้เครื่องมืออวนทับตลิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องมืออวนประมงพื้นบ้านแบบที่สร้างขึ้นอย่างง่ายๆ เครื่องมืออวนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนใหญ่จะทำการประมงในเวลากลางวัน แหล่งทำการประมงลึกประมาณ 1-3 เมตร โดยเรือจะแล่นหาฝูงปลากะตัก แล้วจึงปล่อยอวนล้อมซึ่งจะเป็นรูปเกือกม้า ชาวประมง 8-10 คน ที่อยู่บนฝั่งจะช่วยฉุดอวนขึ้นเกยฝั่ง จนอวนทั้งสองเข้ามาเกยถึงฝั่ง จากนั้นจะดึงสายทุ่น เนื้ออวนและสายคร่าวล่างของอวนปีกซ้ายและขวากองไว้ที่ชายหาดจนถึงกึ่งกลางอวนแล้วดึงเนื้ออวนที่เป็นขอบของปากถุงไว้ นำสวิงหรือตะกร้าตักปลากะตัก วันหนึ่งจะทำการประมงได้ 3-4 ครั้ง ดังรูป ปัจจุบันที่อำเภอสายบุรีไม่มีการทำประมงแบบนี้แล้ว













การทำประมงปลากะตักโดยใช้เรือปั่นไฟ          ปลากะตัก

หน้าหลัก ประวัติการผลิตบูดู ปลากะตัก กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู การนำบูดูไปประกอบอาหาร ลักษณะของบูดูที่ดี เอกสารอ้างอิง