พื้นที่ชุมน้ำ (Wetland) คืออะไร

 

 

  พื้นที่ชุ่มน้ำ ซึ่งคำกำจัดความตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ กล่าวว่า พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายความถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ลุ่มชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นน้ำนิ่ง และน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึงที่ชายฝั่งทะเลและที่ในทะเล ในบริเวณเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกของระดับน้ำ ไม่เกิน 6 เมตร
พื้นที่ซึ่งมีลักษณะจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงรวมถึง ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ กระพัง บาราย แม่น้ำ ลำธาร แคว สนุ่น แก่ง น้ำตก หาดหิน หาดกรวด หาดทราย หาดโคลน หาดเลน ชายทะเล ชายฝั่งทะเล พืดหินประการัง แหล่งหญ้าทะเล คุ้ง อ่าว ดินดอนสามเหลี่ยม ช่องแคบ ชะวากทะเล ตะกาด หนองน้ำกร่อย ป่าพรุ ป่าเลน ป่าชายเลน ป่าโกงกาง ป่าจาก ป่าแสม รวมทั้งนาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บ ละหาร ชานคลอง ฝั่งน้ำ สบธาร สระ ทะเลสาบ แอ่ง ลุ่ม กุด ทุ่ง กว้าน มาบ บุ่ง ทาม เป็นต้น
  ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำ
  เป็นแหล่งน้ำจืด ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ที่คน พืช และสัตว์ เข้าไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง หรือนำน้ำมาใช้ในกิจกรรทต่าง ๆ เช่นการอุปโภคบริโภค การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ อุตสาหกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นันทนาการ นอกจากนั้นพื้นที่ชุ่มน้ำยังช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำใต้ดิน โดยน้ำภายในพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งเป็นจะค่อย ๆ ไหลถ่ายเทลงสู่ชั้นน้ำใต้ดิน กลายเป็นน้ำใต้ดินที่ใสสะอาด หากจัดการควบคุมอัตราการใช้น้ำขึ้นมาใช้ให้เหมาะสม และดูแลรักษาคุณภาพของน้ำให้ดี จะสามารถนำกลับมาใช้ได้อย่างยั่งยืน ในทางกลับกัน น้ำในชั้นใต้ดิน ก็อาจไหลกลับขึ้นมาเป็นน้ำผิวดินอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแหล่งน้ำใช้ของชุมชนที่อยู่โดยรอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้ง
    เป็นแหล่งเก็บกักน้ำฝนและน้ำท่า ที่ไหลบ่าลงมาจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำ แทนที่จะไหลออกไปสู่ทะเล อย่างรวดเร็วทั้งหมด ช่วยลดและป้องกันปัญหาน้ำท่วมฉับพลันที่จะเกิดกับพื้นที่โดยรอบ หากพื้นที่ชุ่มน้ำถูกถมหรือเปลี่ยนไป จะเกิดปัญหาน้ำท่วมขังบ่อยครั้งขึ้น
มีบทบาทมิให้น้ำเค็มลุกล้ำเข้ามาในแผ่นดิน น้ำจืดที่ไหลมาตามทางน้ำต่าง ๆ จะไหลผ่านพื้นที่ชุ่มน้ำแล้วไหลลงสู่ชั้นน้ำใต้ดินในพื้นที่ชุ่มน้ำและผลักดันน้ำทะเล มิให้ลุกเข้ามา ในแผ่นดิน การถมทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเล มิให้ลุกเข้ามา ในแผ่นดิน การถมทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเล การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินขนาด การผันน้ำมาใช้มากเกินไป รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเส้นทางน้ำ การขุดขยายทางน้ำและถากถางพืชพรรณชายคลองชายฝั่ง ล้วนมีผลทำให้นำเค็มลุกเข้ามาในแผ่นดินได้มากขึ้น โดยเฉพาะน้ำท่วมสูงสุด
    ช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งทะเลและลดการพังทลายของชายคลองชายฝั่ง พืชพรรณในพื้นที่ชุ่มน้ำ พืชริมตลิ่ง ชายฝั่งคลองและชายฝั่งทะเล ที่โดดเด่นเห็นชัดที่สุด คือ ป่าชายเลน จะช่วยยึดติดปะทะแรงลมพายุ กระแสน้ำ และคลื่น รวมทั้งช่วยป้องกันพื้นที่ กิจกรรมและทรัพย์สินต่างๆ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล
ช่วยชะลอการไหลของน้ำ ดักจับตะกอนมาจากพื้นที่พัดพาตอนบน พื้นที่ชุ่มน้ำชายฝั่งทะเล คือ ราการด่านสุดท้ายของพื้นที่ชุ่มน้ำก่อนที่น้ำภายในลุ่มน้ำจะไหลออกสู่ทะเล พืชพรรณที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น อ้อ แขม และหญ้า ช่วยชะลอความเร็วของน้ำ กักเก็บตะกอน จึงช่วยลดการตื้นเขิน ของอ่าวและรักษาคุณภาพของพื้นที่ชายฝั่งทะเลและแม่น้ำในทะเล
  ช่วยดักจับเก็บธาตุอาหารที่ถูกพัดพามากับน้ำและตะกอนไว้ ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยส่วนเกินจากพื้นที่เกษตรกรรม น้ำทิ้งจากชุมชน และอุตสาหกรรม รวมทั้งน้ำทิ้งจากแหล่งน้ำทิ้งจากแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พืชพรรณและสัตว์ในพื้นที่ชุ่มน้ำสามารถดึงธาตุอาหารเหล่านั้น ไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต การจัดการอย่างเหมาะสม เก็บเกี่ยวผลผลิตพืชพรรณ และสัตว์จากพื้นทีชุ่มน้ำอย่างเป็นระบบ มีการหมุนเวียนใช้ธาตุอาหารที่ถูกเก็บกักไว้นี้อย่างสมดุล นอกจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ยังช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้น ช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดต่อสภาพแวดล้อม ได้อีกทางหนึ่ง
  ช่วยดักจับเก็บสารพิษลายชนิดทียึดเกาะกับนุภาคของดิน ที่พัดพามากับน้ำ และตะกอนไว้ ช่วยลดอันตรายที่จะเกิดกับระบบนิเวศโดยรอบ
มีทรัพยากรธรรมชาติที่คนเข้าไปเก็บเกี่ยวนำมาใช้ประโยชน์ได้ มากมายหลายชนิดซึ่งล้วนเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน ความเป็นอยู่ของประชาชน ที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ชุ่มน้ำและมีความสำคัญต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมโดยรวมของชาติได้แก่
ทรัพยากรป่าไม้ ทั้งในรูปของพืชพรรณที่นำมาใช้เป็นอาหาร สมุนไพร นำผลผลิตไม้มาแปรรูปเป็นวัสดุใช้สอยในครัวเรือน เช่นเนื้อไม้ยาง ทำอุปกรณ์เครื่องมือการทำมาหากิน โดยเฉพาะเครื่องมือการประมง เช่นโพงพาง ลอบ นำมาใช้เป็นวัสดุทำเสา รั้วบ้าน คอกสัตว์ รวมทั้งนำมาใช้เป็น วัตถุดิบของอุตสาหกรรมในครัวเรือน
    เป็นแหล่งที่ส่งผ่านเคลื่อนย้ายถ่ายเทธาตุอาการและมวลชีวภาพ ไปตามเส้นทางน้ำหรือการไหลของน้ำผิวดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ระบบนิเวศโดยรอบและบริเวณใกล้เคียง
  เป็นแหล่งทรัพยากรพลังงานหลายรูปแบบ เช่น ไม้เพื่อการเผาถ่าน ไม้ฟืนเพื่อการหุงต้ม สุมไฟไล่ยุง หรือเพื่อให้ความอบอุ่น เชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เช่น ใช้รมควันปลา รวมทั้งเชื้อเพลิงในรูปของพีท (peat)มีความสำคัญต่อการคมนาคมในท้องถิ่น เป็นเส้นทางคมนาคมที่มีประสิทธิภาพเสียค่าใช้จ่ายน้อย และเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
  เป็นแหล่งรวมสายพันธุ์พืชและสัตว์ระจำถิ่น อันประโยชน์ต่อการพัฒนาสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นเป็นที่ต้องการในเชิงพาณิชย์
  มีความสำคัญทางระบบนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์ธรรมติ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดต้องพึ่งพาอาศัยพื้นที่ชุ้มน้ำเพื่อความสมบูรณ์ของชีวิต พืชและสัตว์ป่าหลายชนิดจะพบเห็นได้เฉพาะในพื้นที่ชุ้มน้ำเท่านั้น
  มีความสำคัญต่อนันทนาการละการท่องเที่ยว กิจกรรมที่พบเห็นได้เสมอ เช่น การเล่นกีฬาทางน้ำ การตกปลา การดูนก การถ่ายภาพธรรมชาติ การศึกษาธรรมชาติ การศึกษาชีวิตสัตว์ป่า การว่ายน้ำ การดำน้ำ การเล่นเรือ การพายเรือเล่น และอื่นๆอีกมากมาย
  มีความสำคัญทางประวัตศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งเกี่ยวข้องผูกพันกับภูมิหลังของท้องถิ่น ศาสนา ความเชื่อของชุมชน
  เป็นแหล่งสำหรับการศึกษาวิจัยทางธรรมชาติวิทยา การศึกษาขบวนการความสมดุลในระบบธรรมชาติทั้งระบบ   เป็นแหล่งที่สมควรทำการติดตาตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นสถานที่ใช้สอน ให้การศึกษาและให้การอบรมแก่ระชาชนได้ทุกกลุ่มทุกระดับ
เป็นส่วนหนึงของภูมิทัศน์และมีบทบาทช่วยรักษาความสมดุลของขบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่น เห็นแหล่งสะสมคาร์บอน ช่วยรักษาสมดุลของสภาพอากาศท้องถิ่นเป็นต้น
  พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย
  พื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย ประกอบด้วย ป่าชายเลน ป่าพรุ หนอง บึง สนุ่น ทุ่งนา ทะเลสาบ และแม่น้ำ กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทยในเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 21.63 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.75 ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ (Ramsar site)
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2541 ในลำดับที่ 110 และตามพันธกรณีของอนุสัญญาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศโดยส่งเสริมให้มีการใช้อย่างชาญฉลาด
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานประสานการดำเนินงานและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานประสานการดำเนินงานตามอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำและประเทศไทย
จึงได้ดำเนินงานด้านการจัดการพืนที่ชุ่มน้ำมาตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน
ประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศหรือ แรมซาไซต์ (Ramsar site)
แล้วจำนวน 10 แห่ง ได้แก่
 

1. ลำดับที่ 984 พื้นที่ชุ่มน้ำควนขี้เสี้ยน ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง
2. ลำดับที่ 1098 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงโหลง จังหวัดหนองคาย
3. ลำดับที่ 1099 พื้นที่ชุ่มน้ำดอนหอยหลด จังหวัดสมุทรสงคราม
4. ลำดับที่ 1100 พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำกระบี่ จังหวัดกระบี่
5. ลำดับที่ 1101 พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย จังหวัดเชียงราย
6. ลำดับที่ 110.พื้นที่ชุ่มน้ำเขตรักษาพันธ์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ(พรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส)
7. ลำดับที่ 1182 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง-ปากแม่น้ำตรังจังหวัดตรัง
8. ลำดับที่ 1183 พื้นที่ชุ่มน้ำปากคลองกะเปอร์-อุทยานแห่งชาติแหลมสน-ปากแม่น้ำกระบุรีจังหวัดระนอง
9. ลำดับที่ 1184 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
10. ลำดับที่ 1185 พื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา
  การเป็นแรมซาไซต์นับว่าเป็นเครื่องมืการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรอีกรูปแบบหนึ่ง
ที่อนุรักษ์ความหลากหลายของชีวภาพ เพราะช่วยเป็นจุดนำในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์
และใช้พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดให้แก่ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรพัฒนาเอกชน จากหลักการของอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำหรืออนุสัญญแรมซาไซต์ที่ต้องการให้มีการอนุรักษ ์
โดยส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด การสร้างเสริมแรงจูงใจ
และปลูกจิตสำนึกให้คุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นวิธีหนึ่งที่ทุกพื้นที่จะต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะประชาชน ชุมชมท้องถิ่น และองค์กรต่างๆ ในพื้นที่เป็นผู้ใกล้ชิด และเก็บเกี่ยวทรัพยากรมาใช้ประโยชน
์ ดังนั้น การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ
จะต้องเกิดขึ้นในทุกพืนที่และเกิดอย่างนต่อเนื่อง