พื้นที่ชุ่มน้ำ

พรุควนขี้เสี้ยนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย

  ลักษณะทั่วไป
  พื้นที่ชุ่มน้ำพรุควนขี้เสี้ยน เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแห่งแรกของประเทศไทย เป็นพื้นที่ไม้เสม็ดขาว มีน้ำท่วมขัง พื้นมีกก หญ้ากระจูดหนูขึ้นอยู่อย่าหนาแน่น ตั้งอยู่ในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยตอ นเหนือของทะเลสาบสงขลา
  คุณค่าด้านคาวมหลากหลายทางชีวภาพ
  พืช   
  ทะเลน้อยมีความหลากหลายของพรรณพืชแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ อันประกอบด้วยป่าพรุ ป่าเสม็ด พื้นน้ำ ป่าดิบชื้นและพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งมีความสำคัญในการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งสร้างรัง วางไข่ และเป็นแหล่งหาอาหารของนกและสัตว์ป่าประเภทอื่น
  สัตว์
  พบนกอย่างน้อย 217 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นนกน้ำ เป็นนกประจำถิ่นอย่างน้อย 121 ชนิด นกอพยพที่มิใช่การผสมพันธุ์ 1 ชนิด บริเวณควนขี้เสี้ยนซึ่งเป็สนป่าเสม็ด มีนกนาอยู่รวมกันกว่า 10,000 ตัว ในฤดูอพยพ และเป็นที่สร้างวางไข่ของนกอย่าน้อย 5 ชนิด ได้แก่ นกกาน้ำ นกกระสาแดง และนกยางเปีย พบปลา 29 ชนิด เช่น ปลาหระทุงเหว ปลาหมอข้างเหยียบ พบสัตว์สะเทินน้ำ สะเทินบกรวมทั้งสิ้น 12 ชนิด เช่น ขีด กบหนอง  พบสัตว์เลื้อยคลาน 29 ชนิด เช่น เต่าหวาย เต่าหับ เหี้ย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 8 ชนิดเช่น ลิงแสม นางเล็บสั้นและเสือปลา
  คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม
  เป็นแหล่งรวมคาวมหลากหลายของระบบนิเวศที่ซับซ้อนและอุดมสมบูรณ์ ชุมชนได้อาศัยใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชุ้มน้ำแห่งนี้ทำประมงและหาอาหาร ชาวบ้านมีอาชีพบริการนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพดั้งเดิม เนื่องจากทะเลน้อยจัดว่าเป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีความสำคัญทางการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ โดยเฉพาะความหลากหลายทางชีวภาพ บริเวณโดยรอบพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย เป็นที่ตั้งถิ่นฐานดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมด้านความเป็นอยู่ การทำมาหากิน และการอยู่รวมกันเป็นสังคมชนบท ที่ยังคงรักษาความบริสุทธิ์อันควรค่าแก่การอนุรักษณ์