พื้นที่ชุ่มน้ำ

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง

  ลักษณะทั่วไป
  บึงโขลงหลงเป็นบึงน้ำจืดลักษณะแคบยาว เกิดจากลำห้วยหลายสายไหลมารวมกัน น้ำในบึงลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 50 - 100 เซนติเมตร
น้ำในบึงไหลลงแม่น้ำสงครามก่อนแม่น้ำโขง มีเกาะกลางบึง ได้แก่ ดอนแก้ว ดอนโพธิ์ ดอนน่อง ดอนสวรรค์ บนเกาะเหล่านี้มีป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ พื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่ค่อนข้างราบเรียบ มีชุมชนเมืองอาศัยอยู่ตอนล่างของบึง พื้นที่ดินรอบบึงเป็นที่นา เขตห้ามล่าป่าบึงโขงหลงนี้ตั้งอยู่อำเภอเซกาและอำเภอบึงโขงหลง จังหวัดหนองคา
  คุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ
  พืช   พันธุ์ไม้รอบบึงได้แก่ ยาง ตะแบกใหญ่ ประดู่ ตะเคียนทอง เกาะกลางน้ำมีหว้า ไทร ตะแบกนา
  บนดอนสวรรค์เป็นป่าดงดิบแล้ง มีไม้ใหญ่ได้แก่ ตะแบก กระบก แสมขาว ตีนเป็ด เป็นต้น ขอบบึงล้อมรอบด้วยดงแห้วดงกระเทียม
กกเหลี่ยม เอื้องเพ็ดม้า บริเวรพื้นน้ำมีบัวสาย บัวหลวง กลางน้ำมีพืชใต้น้ำ ได้แก่ สาหร่ายหางกระรอก ผักโฮบเฮบ ผักบุ้ง
ชายน้ำใกล้บริเวรเกาะต่างๆพบพังพวยน้ำ บอน
  สัตว์
   พบนกอย่าน้อย 25 ชนิด เป็นนกน้ำ นกชายเลนอย่าน้อย 27 ชนิด นกประจำถิ่น 3 ชนิด นกอพยพ แต่มิใช่เพื่อการผสมพันธุ์
26 ชนิด บึงโขงหลงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย และหากินของนกจำนวนมากนับร้อยตัว ได้แก่ เป็ดแดง นกยางโทนน้อย นกยางเปีย นกอีแจว เป็ดลาย พบปลาอย่างน้อย 25 ชนิด ปลาที่มีความสำคัญทางเศรฐกิจได้แก่ ปลากระสูบจุด ปลาตะโกก ปล
าสร้อยขาว ปลาสร้อยนกเขา ปลาแขยงข้างลาย ปลากดเหลือง ปลานิล ปลาช่อน
  คุณค่าด้านสังคมและวัฒนธรรม
  เป็นแหล่งประมงที่สำคัญ แหล่งท่องเที่ยวดูนกน้ำจำนวนนับพัน ตอนเหนือของบึงเป็นที่ตั้งโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และที่นา น้ำฝน นอกนั้นเป็นที่เพาะปลูกพิชไร่รอบบึงมีชุมชนประมาณ 18 หมู่บ้าน บางหมู้บ้านมีอายุการตั้งถิ้นฐานประมาณ 200 ปี แต่สว่นมากเป็นชุมชนที่ขยายการบุกเบิกที่ทำกินใหม่ ประชากรเป็นกลุ่มวัฒนธรรม ไทย-ลาว มีประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังมีศักยภาพของธรรมยากรธรรมชาติสูงทั้งในทางเศรฐกิจเพื่อยังชีพ เขตเกษตรกรรมก้าวหน้า ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม