|
ลักษณะทั่วไป
หมู่เกาะอ่างทองประกอบด้วยหมู่เกาะต่าง ๆประมาณ 42 เกาะ
ที่มีขนาดเล็กและขนาดกลางอยู่เป็นกลุ่มเกาะกลางทะเลวางเรียงในแนวเหนือใต้
ส่วนใหญ่เป็นเขาหินปูนสูงชันซึ่งเป็้นแนวผาสูงชันตั้งดิ่งจากพื้นน้ำทะเล
พื้นที่อุทยานประกอบด้วยพื้นที่พื้นน้ำประมาณ 52000 ไร่ หรือประมาณ
ร้อยละ 82
ของพื้นที่ทั้งหมด อยู่ในเขตน้ำตื้นใกล้ฝั่ง มีความลึกเฉลี่ยของน้ำประมาณ
10 เมตร
และได้รับอิทธิพลของตะกอนแม่น้ำตาปี ลักษณะชายฝั่งมีความสูงชัน
มีแนวประการังก่อตัวเป็นแนวแแคบ ๆ ชายฝั่ง |
|
คุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ |
|
พืช
สังคมพืชธรรมชาติประกอบด้วยป่าดงดิบแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ของเกาะขนาดใหญ่
ป่าชายหาดเป็นป่าโปร่งขึ้นบริเวรแคบ ๆ ตามชายหาดและเชิงเขาชายทะเลทั่วไปของเกาะต่าง
ๆ ป่าเขาหินปูนพบเฉพาะบริเวณเทือกเขาหินปูนซึ่งมีชั้นดินน้อย
ป่าชายเลนพบอยู่น้อยมากบริเวณซอกหินที่มีหาดทรายหรือหาดเลน สภาพป่าเป็นป่าชายเลนเิกดใหม่และมีขนาดเล็ก พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นโกงกางใบเล็ก |
|
สัตว์
พบนกไม่น้อยกว่า 35 ชนิดเป็นนกน้ำ นกชายเลน ประมาณ
10 ชนิด
นกประจำถิ่น 32 ชนิด เช่น นกยางเขียว เหยี่ยวแดง นกอพยพแต่มิใช้เพื่อการผสมพันธุ์
9 ชนิด เช่นนกยางดำ นกปากซ่อมแดง
ปลาชุกชุม ได้แก่ ปลาทู ปลาลัง ปลาเก๋าดอกแดง ปลาปากคม
ปลาสีกุน เป็นต้น
ปลาตามแนวประการัง ได้แก่ ปลาสลิดหินหินฉุด ปลาเข้าเม่าน้ำลึก ปลาพยาบาล
เป็นต้น
พบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเพียง 5 ชนิด ในขณะที่พบสัตว์เลี้ยงลุกด้วยนมอย่างน้อย
16 ชนิดเช่นค่างแว่นถิ่นใต้ นากใหญ่หัวปลาดุก โลมา และวาฬ
เป้นต้น
แนวประการังบริเวณนี้มีการเจริญเติบโตน้อย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของตะกอน
ของแม่น้ำตาปี ประกอบกับพื้นทะเลมีความลึกน้อย กระแสน้ำระหว่างเกาะไหลแรง
ทั้งอาจจะได้รับการกวนตะกอนจากประมงอวนลาก และคราดหอยลาย
ที่มีอยุ่เป็นจำนวนมาก
ทำให้น้ำบริเวณนมีความโปร่งใสน้อยจึงเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการแพร่กระจายของประการัง
จำนวนชนิดมีน้อย ที่เด่นและพบมากคือ ประการังโขด ประการังกิ่ง ประการังแผ่น
เป็นต้น |
|
คุณค่าทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
บริเวณในรอบหมู่เกาะอ่างทองเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ตามธรรมชาติของสัตว์น้ำ
ที่สำคัญอย่างยิ่งได้แก่ ปลาทู เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ลักษณะเด่นคือมีทะเลใน
3 แห่ง อยุ่บนเกาะวัวตาหลังซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญทีสุดในบรรดาหมู่เกาะอ่างทอง
2 แห่ง
อยุ่บนเกาะแม่เกาะ 1 แห่ง มีลักษณะเป้นพื้นน้ำ ที่อยุ่ภายในวงล้อมของผาสูงชัน
เกาะสามเล้า เป็นแหล่งประการังซึ่งค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ วางตัวในแนวเหนือใต้
เกาะท้ายเพลาเป็นจุดที่มีแนวประการังน้ำตื้นสวยงามแห่งหนึ่งของอุทยาน |
|
|