ประวัติการกระจายทางภูมิศาสตร์
Losch (1875) ได้พบและอธิบายลักษณะโปรโตซัว Entamoeba dysenteriae ชนิดนี้จากผู้ป่วยชาวรัสเซียจากเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก โดยพบระยะ
โทรโฟซอยด์1 ที่แผลของลำไส้ส่วน colon ขณะผ่าศพตรวจดูร่องรอยการเสียชีวิต Kartulis (1886), Hlava (1887) พร้อมกับ Councilman และ Lafleur (1891)
ได้อธิบายอาการทางคลินิกและพยาธิวิทยาของโปรโตซัวชนิดนี้ เกี่ยวกับอาการท้องเดิน ปวดเบ่ง และฝีในตับ (liver abscess) ในปี ค.ศ. 1893 Quincke และ Roos
ได้รายงานพบระยะซิสต์และโทรโฟซอยด์ ต่อมา Schaudium (1903) ได้ตั้งชื่ออะมีบาชนิดนั้นว่า Entamoeba histolytica พร้อมกับอธิบายรูปร่างข้อแตกต่างกับ
E.coli
อะมีบาชนิดนี้พบได้ในคนทั่วทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะประเทศเขตร้อน (tropic) และประเทศใกล้เขตร้อน (subtropic) แต่ในประเทศเขตหนาว ชุมชนที่การ
สุขาภิบาลไม่ดีอาจจะมีอมีบาชนิดนี้มากเช่นกัน พบมากในประเทศที่มีชุมชนทางเศรษฐกิจต่ำทั่วโลก ได้แก่ บราซิล เม็กซิโก แอฟริกา บังคลาเทศ อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น และ
ออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค โดยมีหลักฐานรายงานการระบาดของโรคตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยของพระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3
Walsh (1986) ประมาณว่าทั่วโลกมีคนติดเชื้อประมาณ 480 ล้านคน ในจำนวนนี้มีประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น คือ ประมาณ 48 ล้านคนที่เป็นโรคบิดลำไส้ และมี
ีจำนวนหนึ่งมีอาการฝีบิดในตับ ประมาณร้อยละ 90 เป็นโรคบิดอะมีบาชนิดไม่มีอาการ โดยผู้ป่วยมีจำนวนการเสียชีวิตอยู่ในช่วง 40,000 - 110,000 รายต่อปี อัตราการเสีย
ชีวิตประมาณร้อยละ 2 - 10 จากกลุ่มฝีบิดอะมีบาที่ตับ (amoeba liver abscess) และประมาณร้อยละ 70 จะเสียชีวิตด้วยโรคลำไส้ส่วนปลายอักเสบ (fulminating
colitis) องค์การอนามัยโลกได้จัดโรคอะมีบาเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนเป็นอันดับ 3 รองจากโรคมาลาเรียและโรคพยาธิใบไม้เลือด (WHO, 1985)
1- โทรโฟซอยต์ เป็นระยะที่สามารถเคลื่อนที่กินอาหารได้ตามปกติ รูปร่างไม่แน่นอน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 -60 ไมโครเมตร โดนโทรโฟซอยต์ที่ออกมา
กับอุจจาระเหลวในผู้ป่วยที่มีอาการท้องเดิน (dysenteric stool) มักจะมีขนาดใหญ่กว่าระยะโทรโฟซอยต์ที่พบในอุจจาระก้อนธรรมดา