รามรณะ Pseudallescheria boydii
เชื้อรา P.boydii อยู่ในระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีการสร้างถุงหุ้มสปอร์แบบ Cleistothecia | เชื้อรา P.boydii ในระยะสืบพันธุ์แบบไม่อาศับเพศแบบ Scedosporium apiospermum. |
จากข่าวการป่วยของนักร้องชื่อดัง บิ๊ก ดีทูบี ซึ่งประสบอุบัติเหตุรถจมน้ำและได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง อาการดูมีท่าว่าจะหายเป็นปกติ แต่ต่อมากลับมีอาการทรุดหนักจนต้องเข้ารับการผ่าตัดเอาฝีในสมองออกเร่งด่วน ขณะผ่าเอาฝีออกทีมแพพทย์สังเกตพบว่ามีเส้นใยของเชื้อราปนเปื้อนอยู่ในหนองเป็นจำนวนมาก หลังจากนำเชื้อราไปทดสอบยังห้องปฏิบัติการ พบว่าเชื้อรามรณะดังกล่าวคือ "Pseudallescheria boydii" หลายๆคนคงสนใจและอยากทราบแล้วซิคะว่าเชื้อราชนิดนี้มีลักษณะอย่างไร พบได้ที่ไหน ทำให้เกิดโรคร้ายแรงกับคนได้หรือเปล่า วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับราชนิดนี้กัน
รา หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ค่ะ มีรูปร่างเป็น filament เรียกว่า เส้นใย สืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศไม่มีดลอโรฟิลล์ จึงไม่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้
รา จัดเป็นผู้ย่อยสลายเพราะดำรงชีวิตโดยการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ให้เน่าเปื่อยผุพังกลายเป็นสารอินทรีย์ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยช์ในการเจริญเติบโตต่อไป รามีทั้งประโยชน์และโทษนะคะ ประโยชน์ของรามีหลายอย่าง เช่น
- ใช้ในการผลิตยาและยาปฏิชีวนะ เช่น ยาเพ็นนิซิลินผลิตจากเชื้อ Penicillium motatum
- ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เนยแข็งผลิตจากเชื้อรา Penicillium roqueforti ซีอิ้วผลิตจาก Aspergillus oryzae
- ใช้ในการเกษตรกรรม มักใช้ราในการควบคุมแมลง เช่น เชื้อราพวก Entomophthora grylli ใช้ในการควลบคุมตั๊กแตน
ส่วนโทษของเชื้อราก็มีมากเช่นกัน ส่วนมากจะก่อให้เกิดโรคผิวหนังในคนและสัตว์ ทำให้เกิดโรคเชื้อราในพืช ทำให้อาหารเน่าเสีย และบางครั้งเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็ง เช่น Aflatoxin เป็นต้น
ทีนี้เรามารู้จักกับเชื้อราที่พบในสมองของ บิ๊ก ดีทูบี กันนะคะ เชื้อราชนิดนี้ชื่อ Pseudallescheria boydii ถูกพบครั้งแรกในโลกในชื่อของ Allescheria boydii shear โดยแยกเชื้อได้จากผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดนี้ในปี 1922 ต่อมาปี 1943 ได้มีการแยกเชื้อราชนิดนี้ออกมาจากผู้ป่วยในคนเช่นกัน แต่มีการตั้งชื่อเป็นราสกุลใหม่คือ Pseudallescheria shearii แต่มีการตรวจสอบพบว่าเชื้อรา 2 ชนิดดังกล่าวเป็นเชื้อราชนิดเดียวกันจึงตั้งชื่อใหม่ว่า "Pseudallescheria boydii" สามารถจำแนกเชื้อราในกลุ่มตามหลักอนุกรมวิธานดังนี้ เชื้อราชนิดนี้อยู่ใน Kingdom: Fungi, Phylum: Ascomycota,
Class: Euascomycetes,Order: Microascales, Family: Microascaceae, Genus:Pseudallescheria, Species: Pseudallescheria boydii ซึ่งเชื้อราชนิดนี้สามารถสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ถ้าอยู่ในระยะสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศจัดอยู่ในกลุ่ม Ascomycetes จะมีการสร้างถุงหุ้มสปอร์แบบ cleistuthecia แต่ถ้าอยู่ในระยะสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศจะมีลักษณะ 2 รูปแบบนี้แตกต่างกัน คือ Genus Garphium (พบในสมองของบิ๊ก) และ Scedosporium apiospermum
ในธรรมชาติ P.boydii จะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ ไม่จัดเป็นราที่ก่อให้เกิดโรคโดยตรง แต่เป็นราชนิดฉวยโอกาสในการก่อให้เกิดโรค (Opportunistic Fungus) แหล่งที่
พบราชนิดนี้จะพบได้มากบริเวณที่มีการสะสมของสารอาหารและการเน่าเปื่อยของอินทรีย์วัตถุ เช่น เศษพืช ซากสัตว์ ตลอดจนสิ่งสกปรกโสโครก แหล่งมลพิษต่างๆทั้งในดินและน้ำ ราชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 30-37 องศา โดยปกติแล้วเชื้อราชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดโรคโดยตรง แต่อาจทำให้เกิดโรคกับคนได้ถ้าไปสัมผัสกับร่างกายของคนที่มีบาดแผล หรือเข้าไปอยู่ตามอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ปอด หัวใจ ตับ สมอง ซึ่งจะพบได้ในกรณีของคนจมน้ำ โดยเชื้อราจะเข้าไปเจริญเติบโตในร่างกายของคนป่วยและใช้สารอาหาร เช่น โปรตีน ไขมัน ในร่างกายของผู้ป่วยเป็นแหล่งอาหาร ซึ่งทำให้เชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่และเจริญเติบโตได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
จากรายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อราชนิดนี้ในอวัยวะต่างๆดังนี้
1. ติดเชื้อที่ผิวหนัง 3 ราย
2. โพรงไซนัสอักเสบหรือหนองในโพรงไซนัส 9 ราย
3. เยื่อบุตาอักเสบ 3 ราย
4. ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ 1 ราย
5. ติดเชื้อภายในลูกตา 4 ราย
6. เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังอักเสบ 6 ราย
7. ฝีในสมอง (brain abscess) 6 ราย
8. ลิ้นหัวใจอักเสบ endocarditis 2 ราย
9. ปอดอักเสบและฝีในปอด 5 ราย
10.ผู้ป่วยที่เชื้อกระจายไปทั่วกระแสเลือดเรียกว่า disseminated infections ทั่วโลก 3 ราย เสียชีวิตทั้งหมด
11.การติดเชื้อในสมองพบในผู้ป่วยจมน้ำ 2 ราย
สำหรับยาต้านเชื้อรามที่ใช้รักษาได้ผลมี 8 ชนิด ได้แก่ miconazole, itraconazole, voriconazole, posaconazole, ravuconazole, UR-9825, caspofungin และ sordarins แต่ยาที่ได้ผลดีที่สุดจากรายงานการศึกษาวิจัยทั้งหมดที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้คือ " voriconazole" ที่มีชื่อทางการค้าว่าVfend เวชภัณฑ์ลิขสิทธิ์ของบริษัทไฟเซอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา