ผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกประมาณว่ามีประชากรทั่วโนโรคลกmoebiasis อยู่ร้อยละ 10 ในประเทศไทยน่าจะมีทุกภาคของประเทศ เนื่องจากเป็นปรสิต
ที่แพร่หลาย อัตราการติดโรคปรสิตนี้ในแต่ละที่แปรเปลี่ยนไป เนื่องจากการใช้วิธีการตรวจหลายวิธี ทำให้การประมาณอัตราการเป็นโรคปรสิตถูกต้องแม่นยำมากขึ้น จึงคาดว่า
มีประชากรประมาณ 480 ล้านคน ที่มีอะมีบาอยู่ในลำไส้ (Walsh, 1986) ในกลุ่มประชากรเหล่านี้มีจำนวน 48 ล้านคนมีอาการลำไส้อักเสบ อาจเป็นอะมีบาหรือฝีบิดในตับ
และมีอย่างน้อย 40,000 - 110,000 รายที่เสียชีวิต ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 2 ถึง ร้อยละ 10 ของผู้ป่วนโรคฝีในตับ และประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยมีลำไส้อักเสบรุนแรงจน
เสียชีวิต
อายุมีผลต่อการเป็นโรคอะมีบาชนิดนี้ เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีอัตรการเกิดโรคชนิดนี้น้อย ผู้ชายมีอัตราการติดโรคนี้มากว่าผู้หญิง เชื้อชาติไม่มีผลต่อความแตกต่าง
ของการเป็นโรค ฐานะทางสังคม (social condition) เป็นสิ่งสำคัญต่อการระบาด คนจนมีโอกาสเป็นมาก ส่วนผู้ป่วยในโรงพยาบาลโรคจิต ทัณฑสถาน สถานเลี้ยงเด็ก
มีอัตราการติดโรคนี้สูงกว่ากลุ่มคนธรรมดา ในสังคมตะวันออกพบผู้ป่วยด้วยโปรโตซัวชนิดนี้ในกลุ่มคนขาดอาหาร อยู่กันอย่างแออัด สุขลักษณะสิ่งแวดล้อมไม่ดี
การติดต่อและการแพร่กระจายของโรค
อาหารและน้ำดื่มที่มีซิสต์1 ของอะมีบาชนิดนี้ปะปน เป็นต้นเหตุสำคัญของการติดต่อและแพร่กระจายโรค โดนเฉพาะคนที่ไม่มีอาการแต่มีซิสต์ในอุจจาระ หรือม
ีอาการท้องเดินอ่อน ๆ แล้วอาการหายไป ถือเป็นพาหะนำโรค และเป็นผู้แพร่กระจายอะมีบาได้อย่างกว้างขวาง ส่วนโทรโฟซอยต์แม้จะปนไปกับอาหารและน้ำดื่มแต่จะถูกทำล
ายด้วยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร อะมีบาชนิดนี้จะทนอยู่ในที่ชื้นแฉะได้ถึง 8 วัน ในน้ำ 9 -30 วัน ในน้ำเย็น 4 ๐ c อยู่ได้ถึง 3 เดือน
ซิสต์จะถูกทำลายด้วยความแห้งที่อุณหภูมิ 50 ๐ c หรือถูกทำลายด้วยน้ำยาฟอร์มาลิน 5 % ในเวลา 30 วินาที ถ้าต้องการทำลายซิสต์ที่อาจปนเปื้อนในน้ำประปา ควร
ใส่คลอรีนเป็นจำนวนมากเกินพอในน้ำ วิธีที่สะดวกสำหรับผู้เดินทางไปในถิ่นที่มีโปรโตซัวชนิดนี้ระบาด คือใช้สารละลายไอโอดีนใส่ในน้ำ
แมลงวันสามารถนำซิสต์ของอะมีบาโดยตรวจพบในน้ำลายที่แมลงวันสำรอกและอุจจาระของแมลง ในบ้านที่มีผู้ป่วยด้วยโปรโตซัวชนิดนี้จะพบซิสต์ในลำไส้ของแมลง
วันที่เกาะอยู่ในบ้าน นอกจากนี้ยังพบซิสต์ได้ในลำไส้ของแมลงสาบ สรุปแล้วอาหารและน้ำดื่มที่มีซิสต์ของ E. histolytica ปะปนได้ เนื่องจาก
1. น้ำกินน้ำใช้ ได้มาจากแหล่งน้ำที่ไม่สะอาดพอ เช่น น้ำคลอง น้ำบ่อ น้ำในคลองชลประทาน
2. คนที่มีซิสต์ของอะมีบาชนิดนี้เป็นผู้กระจายซิสต์ลงในน้ำกิน น้ำดื่ม เช่น บริกรที่ไม่รักษาความสะอาด นำอาหารและน้ำดื่มมาให้ผู้บริโภค
3. แมลงวันนำซิสต์มาเกาะบนอาหาร
4. การใช้อุจจาระคนเป็นปุ๋ย
5. ผู้อยู่ในชุมชนแออัด เช่น สลัม สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงพยาบาลโรคจิต
นอกจากนี้ยังพบในพวกรักร่วมเพศ (homosexual) ซึ่งเป็นการติดต่อทางเพศ
ปัจจุบันเชื้ออะมีบามีอยู่อย่างน้อย 2 ชนิด ชนิดแรกสามารถทำให้เกิดโรคบิดอะมีบา (E. histolytica) กับอีกชนิดหนึ่งซึ่งไม่ทำให้เกิดโรค (e. dispar) วิธีแยกชนิด
อย่างง่ายทำโดยการสังเกตความสามรถกินเม็ดเลือดแดง คือ สามารถตรวจพบเม็ดเลือดแดงในตัวอะมีบา จะบ่งบอกว่าเป็นเชื้อบิดอะมีบาชนิดใด จะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจว่าผู้
ป่วยที่มีเชื้อควรได้รับการรักษาหรือไม่
1 ซิสต์ คือ ระยะโทรโฟซอยต์ที่ปลดปล่อยอาหารที่ย่อยไม่หมดออกมา แล้วหดตัวเป็นรูปกลม