( มนุษย์ต้องประดิษฐ์หลอดไฟให้แสงสว่าง แต่หิ่งห้อยนั้นสามารถเปล่งแสงได้ด้วยตัวมันเอง)
1. แสงของหิ่งห้อยนั้น มีระดับแสงที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ และมีลักษณะเป็นแสงเย็น
ซึ่งมีพลังงานความร้อนเกิดขึ้นเพียง 10% จึงต่างจากหลอดไฟทั่วไปที่ปล่อยพลังงานความร้อนออกมาถึง
95% จึงได้มีผู้ที่พยายามศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในหิ่งห้อย เพื่อออกแบบการผลิตแสง
ที่ไม่สิ้นเปลืองขึ้นมาใช้ในอนาคต
2. หิ่งห้อยจะมีการกะพริบแสงทุก ๆ 24 ชั่วโมง เหมือนมันมีนาฬิกาใจในตัว
เพราะเวลาที่เรานำหิ่งห้อยมาขังไว้ในห้องมืดที่ไม่มีแสงเลย ก็จะเห็นว่า
ในทุก ๆ 24 ชั่วโมงมันจะกะพริบแสง ทั้ง ๆ ที่มันไม่รู้เลยว่า ขนาดนั้นเป็นเวลาอะไร
3. หิ่งห้อยมีเซลล์ สองเซลล์ที่ใช้ในการสื่อสารซึ่งมรสองเซลล์คือ
เซลล์ประสาท (octopamine) และเซลล์แสง (phtocyte) ซึ่งสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารกันด้วยแก๊ส
No ซึ่งในตัวหิ่งห้อยก็มีอยู่เช่นเดียวกัน เพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารกับตัวอื่น
ๆได้
4. แสงจากหิ่งห้อยสามารถใช้เป็นตะเกียง ให้แสงสว่างได เพราะในอดีตคนจีนโบราณ
และคนบราซิลที่ยากจน มักจะจับหิ่งห้อยใส่ในขวดแก้ว เพื่อใช้เป็นตะเกียง พบว่าหิ่งห้อยที่โตเต็มที่ประมาณ
6 ตัวสามารถให้แสงสว่างที่เพียงพอ เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือ ในเวลากลางคืนได้
คนญี่ปุ่นในสมัยก่อนก็นิยมใช้ตะเกียงหิ่งห้อยเช่นเดียวกัน
5. นอกจากจะนำมาใช้เป็นตะเกียงแล้ว ชาวบ้านที่ยากจน ก็นิยมจับหิ่งห้อยมาใส่กรงกระดาษเล็ก ๆ เพื่อนำมาติดเป็นตุ้มหู
|