หิ่งห้อยมีการผลิตแสงสีเขียวเหลืองตรงปลายท้อง และมีการเปล่งแสงเป็นจังหวะ
ตัวผู้ในแสงเดียวกันจะเปล่งแสงเป็นจังหวะพร้อมกัน หิ่งห้อยต่างชนิดกันจะมีจังหวะในการเปล่งแสงแตกต่างกัน
ส่วนตัวเมียจะไม่เปล่งแสงก่อน แต่จะเปล่งแสงตอบก็ต่อเมื่อได้รับแสงจากตัวผู้ชนิดเดียวกัน
เป็นการบอกทิศทางให้ตัวผู้บินตามมา และแสงที่เปล่งออกมาอาจจะเปลี่ยนสีได้ตามที่ที่มันอยู่
นักชีววิทยาเรียกแสงของหิ่งห้อยว่าแสงเย็น (cold light) ทั้งนี้เพราะ
กระบวนการปล่อยแสงจากตัวหิ่งห้อยให้ความร้อนไม่มากตมปกติหลอดไฟทั่วไป
เวลลารับกระแสไฟมันจะแปลงไฟฟ้า 90% ของพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับเป็นพลังงานความร้อน
และแปลงพลังงาน 10% ที่เหลือเป็นแสงสว่าง ดังนั้น เวลาที่เราเปิดไฟทิ้งไว้เป็นเวลานาน
ๆ หลอดไฟจึงร้อน แต่ในกรณีหิ่งห้อยมันแปลง 90% ของพลังงานเคมีในร่างกายเป็นแสง
แสงพลังงานอีก 10% ที่เหมือนเป็นพลังงานความร้อน ดังนั้นอุณหภูมิของหิ่งห้อยจึงไม่สูง
|