หน้าหลัก
ลักษณะสำคัญของหิ่งห้อย
กลไกการเปล่งแสง
กลไกควบคุมการเรืองแสง
แสง สี ที่เปล่งจากหิ่งห้อย
แหล่งที่อยู่อาศัยของหิ่งห้อย
วิวัฒนาการ
ทำไมต้องเปล่งแสง
การค้นพบหิ่งห้อยครั้งแรก
ความสำคัญของหิ่งห้อยในระบบนิเวศ
คุณสมบัติของหิ่งห้อย
การค้นพบหิ่งห้อยครั้งแรก
เมื่อเอยชื่อของหิ่งห้อยขึ้นมา หลายคนคงจะรู้จักกันดี หิ่งห้อยหรือที่ชาวบ้านมักเรียกกันว่าแมงแสงลักษณะของมันที่ ชอบเปล่งแสงอกมานั้นเอง ดร. องุ่น ลิ่ววานิช นักชีววิทยาได้ ให้ความหมายของหิ่งห้อยว่า "เป็นแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่มีขนาดเล็ก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Luciola substriata (Gorh) " ในตอนกลางคืนที่มืดสนิท เราสามารถมองเห็นแสงของหิ่งห้อย ได้ไกลถึงหลายเมตร และจะมองเห็นอย่างสวยงามมากขึ้นเมื่อ มองเห็นแสงจากฝูงหิ่งห้อย

หิ่งห้อยนั้นมีลำตัวยาวตั้งแต่ 2-25 มิลิเมตร ลำตัวของมันเป็นรูปทรงกระบอก อวัยวะที่มามารถเปล่งแสงได้ของมันอยู่ที่ส่วนล่างตอนท้ายของลำตัว หิ่งห้อยจักเป็นแมลงในวงศ์ Lampyridae อันดับ Coleptera หิ่งห้อยสามารถกะพริบแสงได้ทั้งตัวผู้และตัวเมีย หิ่งห้อยขยายพันธ์ โดยการว่างไข่เป็นฟองเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้ เมื่อไข่ฝักเป็นตัว 4-5 วัน จึงเข้าเป็นดักแด้ แล้วออกมาเป็นตัวเต็มวัยวงจรชีวิตของ หิ่งห้อยใช้เวลาทั้งสิ้น 3-12 เดือนแล้วแต่ชนิดของหิ่งห้อย

นักชีววิทยาประมาณว่า โลกนี้มีหิ่งห้อยราว 2,000 ชนิด ยกตัวอย่างเช่น โพทูรัสไพราลิส และพีเฟนชิลวานิคัส เป็นแมลงที่พบ ทั่วไปทั่ว เอเชีย ยุโรป และอเมริกา หิ่งห้อยเป็นแมลงที่ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน และหลบซ้อนตัวในเวลากลางวัน เหมือนค้างคาว ดังนั้นเราจึงเห็นหิ่งห้อยกะพริบแสง ในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ หิ่งห้อยชอบเกาะอยู่ตามต้นลำพู ต้นเหงือกปลาหมอ ต้นโกงกาง ต้นลำแพน ต้นแสน และต้นสาคู