หน้าหลัก
ลักษณะสำคัญของหิ่งห้อย
กลไกการเปล่งแสง
กลไกควบคุมการเรืองแสง
แสง สี ที่เปล่งจากหิ่งห้อย
แหล่งที่อยู่อาศัยของหิ่งห้อย
วิวัฒนาการ
ทำไมต้องเปล่งแสง
การค้นพบหิ่งห้อยครั้งแรก
ความสำคัญของหิ่งห้อยในระบบนิเวศ
คุณสมบัติของหิ่งห้อย
กลไกควบคุมการเรืองแสงของหิ่งห้อย
การเปรียบเทียบปฏิกิริยาการเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต (bioluminescence) และการเรืองแสงในระบบสิ่งไร้ชีวิต มีข้อแตกต่างสำคัญก็คือ การเรืองแสงในระบบสิ่งไร้ชีวิตเป็นผล ของการเปลี่ยนแปลงความร้อนหรือกระแสไฟฟ้าหรือการสั่นสะเทือนของอณู ส่วนการเรืองแสงของสิ่งมีชีวิตเป็นผลจากปฏิกิริยาชีวเคมีภายในเซลล์ มีการผลิตแสงที่ไม่มีพลังงานความร้อน และสีที่ปรากฏพบใน สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว จะเป็นแสงสี (น้ำเงินเขียว) ถึงช่วงคลื่นประมาณ 0.0000565 ซม. สีเขียวปนเหลือง จะพบในสัตว์หิ่งห้อย มีชั่งคลื่น 0.0000614 ซม. สีแดง พบในสัตว์พวกหนอนรถไฟ

การเรืองแสงในสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ จะเกิดขึ้นภายใต้สภาวะ แวดล้อมต่างกัน มีส่วนให้ต่างกันในเรื่องแง่ของ สี แสง ตำแหน่ง ช่วงเวลา และจังหวะการเรืองแสง แต่การเรืองแสงในสิ่งมีชีวิทุก ชนิดเป็นปฏิกิริยาชีวเคมีภายในเซลล์ ภายใต้การควบคุมงานของสาร ที่เรียกว่า เอ็นไซม์ปฏิกิริยาชีวเคมีภายในเซลล์ที่มีสิ่งมีชีวิตมีผลสำคัญ คือเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสารในเซลล์ การหมุนเวียนพลังงาน ในปฏิกิริยาการเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต เอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้อง คือ ลูซิเฟอรัส จะทำปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงสารลูซิเฟอริน ปฏิกิริยานี้ เป็นปฏิกิริยาที่ต้องการก๊าซออกซิเจนเพื่อไปทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงแบบปฏิกิริยาเผาไหม้ภายในเซลล์ ในกรณีนี้เป็นการเกิดของ พลังงานแสงภายในเซลล์ของสัตว์แต่ละชนิดที่สามารถเรองแสงได้

แสงที่เกิดขึ้นจึงเป็นพลังงานที่ถูกเปลี่ยนมาจากพลังงานที่เกิดจาก ปฏิกิริยาเคมีที่อาจเกิดได้ในหลอดแก้วที่มีเอ็นไซม์และวัตถุดิบลูซิเฟอริน ที่สกัดจากเซลล์เรืองแสง ก๊าซออกซิเจนและ ATP ซึ่งเป็นสารประกอบ ที่มีพลังงานสูง พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั่วไป แสงที่เกิดจากการ ใช้ ATP จากเซลล์ปกติจะมีความเข้มมากกว่าแสงเรืองที่เกิดในการ ใช้ ATP จากเซลล์มะเร็ง ข้อแตกต่างนี้นอกจากจะแสดงกลไกของปฏิ กิริยาการเรืองแสงแล้ว ยังให้ความหวังว่าอาจใช้การวัดความเข้มของแสงที่ได้รับเป็นดรรชนีในการวินิจฉัยสภาพของเซลล์ในการตรวจสอบมะเร็งได้

สรุปจากการเปรียบเทียบสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีการเรืองแสง ตั้งแต่จุลินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีเซลล์เดียวกัน จนถึงพวกที่มีกระดูกสันหลัง และ ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดพบว่า เป็นปฏิกิริยาชีวเคมีแบบเดียวกันซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่ต้องใช้ออกซิเจนไปทำปฏิกิริยากับสารในเซลล์ โดยการควบคุมของเอ็นไซม์ และ จะปล่อยพลังงานในรูปของแสง การเกิดวิวัฒนาการของขบวนการเรืองแสงของสิ่งมีชีวิตนี้จึงสันนิษฐานว่าเป็นขบวนการเริ่มแรกที่เกิดขึ้นในโลกโดยเฉพาะปัจจุบันนี้เริมมีการผลิตออกซิเจนโดยขบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชสีเขียวและเป็นขบวนการระยะเดียวกับที่มีการหายใจโดยการใช้ก๊าซออกซิเจน การผลิตแสงเป็นการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตบางอย่างที่รอดตายจากการคัดเลือกโดยธรรมชาติและอยู่มาได้จนถึงปัจจุบันนี้