การเตรียมสารส้มจากกระป๋องน้ำอัดลม

ปัจจุบันไทยเรานิยมดื่มน้ำอัดลมกันมาก เดิมน้ำอัดลมที่มีจำหน่ายในบ้านเราเป็นประเภทบรรจุขวด ซึ่งเมื่อดื่ม แล้วก็ต้องคืนขวดเพราะสามารถนำขวดไปล้างทำความสะอาดแล้วใช้บรรจุน้ำอัดลมได้อีก เมื่อไม่กี่ปีมานี้มี น้ำอัดลมบรรจุกระป๋องได้รับความนิยมกันแพร่หลายมากขึ้น น้ำอัดลมชนิดนี้เมื่อดื่มหมดแล้วก็ทิ้งได้เลย แต่ เนื่องจากภาชนะที่ใช้ทำกระป๋องน้ำอัดลมเป็นโลหะโดยเฉพาะส่วนที่เป็นฝาและก้นทำจากโลหะอะลูมิเนียมซึ่ง สลายตัวได้ยาก ดังนั้นถ้ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมได้ ดังนั้นการศึกษาเพื่อหา แนวทางในการกำจัดหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกจะเป็นการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และเป็นการใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่าอีกด้วย ในที่นี้จึงขอเสนอแนะแนวทางในการนำกระป๋องที่เป็นโลหะอะลูมิเนียมมาใช้เตรียมสารส้ม ซึ่งนอกจากจะชี้ให้เห็นแนวทางในการนำวัสดุเหลือใช้มาให้เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นการฝึกให้นักเรียนได้ใช้ ความรู้ทางเคมีที่ได้เรียนมาทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว อีกด้วย และยังเป็นการศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อีกทางหนึ่ง

ประเภทของสารส้ม

สารส้มมีสมบัติละลายน้ำได้ มีรสเปรี้ยวและฝาด ใช้ประโยชน์ในกระบวนการทำน้ำประปาในอุตสาหกรรมทำ กระดาษ ฟอกหนัง ย้อมผ้า และเป็นส่วนผสมของตัวยาบางชนิด นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมาก นับว่าสารส้มเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน โดยทั่ว ๆ ไปแบ่งสารส้มได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. สารส้มชนิดใส จะมีลักษณะเป็นผลึกใสซึ่งเป็นเกลือซัลเฟตเชิงซ้อน และเป็นชนิดที่เราซื้อมาใช้เป็นประจำนั่น เอง ได้แก่ KAL(SO4)2.12H2O, NH4AL(SO4)2.12H2O และ NH4Fe(SO4)2.12H2O เป็นต้น
2. สารส้มชนิดขุ่น จะมีลักษณะสีขาวขุ่นเป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียม เช่น AL2(SO4)3.XH2O ซึ่งมี คุณสมบัติในการตกตะกอนได้ดีกว่าสารส้มชนิดใส นิยมใช้ในอุตสาหกรรมทำกระดาษ และการทำน้ำประปา


วิธีที่จะเสนอแนะต่อไปนี้ เป็นวิธีการเตรียมสารส้มชนิดใส คือ KAL(SO4)2 .12H2O ซึ่งสามารถใช้เตรียมใน ห้องปฏิบัติการระดับโรงเรียนได้ ทั้งนี้เพราะสารเคมี ตลอดจนอุปกรณ์ที่จะใช้ก็มีอยู่แล้วในโรงเรียน จึงง่าย และสะดวกสำหรับอาจารย์ที่จะจัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนที่สนใจโดยเฉพาะใช้ในชั่วโมงกิจกรรมของชุมชน วิทยาศาสตร์


อุปกรณ์และสารเคมี
วิธีการเตรียมสารส้ม
ปฏิกิริยาเคมีที่เกี่ยวข้องในการเตรียมสารส้ม
การคำนวณหากร้อยละของผลิตภัณฑ์
การทดสอบสมบัติของสารส้มเกี่ยวกับจุดหลอมเหลว
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม


ผู้เขียน : ประสงค์ เมธีพินิตกุล วิทยากรสาขาเคมี
ที่มา : วารสาร สสวท.
เอกสารอ้างอิง :
1. ศึกษาธิการ, กระทรวง, สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. สาขาชีวเคมี การหาจุด หลอมเหลวของสารบริสุทธิ์และสารละลาย ในหนังสือเรียนวิชาเคมี เล่ม 2 ว.032 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน้า 12, กรุงเทพฯ, คุรุสภา, 2530.
2. อุตสาหกรรม, กระทรวง. องค์การสารส้ม, "สารส้ม" อุตสาหกรรมสาร 21(7), (กรกฎาคม 2541): 7-9.
3. JONES, MARK M. and other. Laboratory Manual for Chemistry, Man and Society 2nd ed. pp. 193-198 Philadelphia W.B. Saunders, 1976.
4. Michell, Tony "Questions from a Can of Pepsi," Journal of Chemical Education 65 (12), (December 1988):1077
5. Beasley, Naren "Recycling the Aluminium Can" The Australian Science Teachers Journal 33(4), (March 1988):63-64.