ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. ก่อนลงมือทำปฏิบัติการ อาจารย์ผู้ควบคุมควรแนะนำเครื่องมือที่จะใช้ในการทำปฏิบัติการตลอดจนเทคนิค ต่าง ๆ เกี่ยวกับเครื่องมือชนิดนั้น ๆ และเมื่อนักเรียนเข้าใจดีแล้วจึงให้ลงมือทำปฏิบัติการได้ ในขณะที่ทำ ปฏิบัติการอาจารย์ผู้ควบคุมก็ควรที่จะสังเกตและบันทึกการใช้เครื่องมือของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละบุคคลไว้ เพื่อที่จะได้นำมาประเมินผลตลอดจนเสนอแนะนักเรียนภายหลังจากสิ้นสุดกิจกรรม

2. เนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการทดลองนี้ได้แก่สารละลายกรดซัลฟิวริกและสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งอาจมีอันตรายได้ หากนักเรียนใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้นอาจารย์ผู้ควบคุมควรเน้นให้นักเรียนทราบถึง อันตรายที่อาจเกิดขึ้น และควรควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด

3. ในขณะต้มสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์กับฝากระป๋องจะเกิดปฏิกิริยาอย่างรุนแรง จึงควรระมัดระวัง เป็นพิเศษและเนื่องจากปฏิกิริยานี้จะเกิดก๊าซไฮโดรเจนขึ้น จึงควรระวังในการติดไฟด้วย

4. เปลี่ยนชิ้นโลหะอะลูมิเนียมจากฝากระป๋องน้ำอัดลมเป็นโลหะอะลูมิเนียมจากภาชนะอื่น ๆ เช่น ฝากขวด เครื่องดื่มต่าง ๆ ที่เป็นอะลูมิเนียม หรือใช้อะลูมิเนียมแผ่นบาง จะได้ผลเหมือนกันหรือไม่

5. ความเข้มข้นของสารละลายต่าง ๆ ที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเป็นค่าที่แน่นอนอาจใช้เป็นค่าโดยประมาณได้

6. ก่อนที่จะหยดกรดซัลฟิวริกลงไปในสารละลายที่เตรียมได้จากข้อ 2 ต้องแน่ใจว่าสารละลายนี้ถูกทำให้เย็น แล้วเสียก่อน เพราะถ้าเติมกรดซัลฟิวริกลงไปในขณะที่ร้อนอยู่ จะเกิดปฏิกิริยารุนแรง อาจทำให้นักเรียน ได้รับอันตรายได้

7. เมื่อนักเรียนเสร็จกิจกรรมแล้วให้นักเรียนเขียนรายงานและช่วยกันระดมพลังสมองเพื่อหาทางเปลี่ยนวัสดุที่ เหลือใช้ต่าง ๆ ให้มีประโยชน์ต่อไป