หัวข้อ : Trends and Technology for Smart Living
ห้องสัมมนา
: Meeting room 1
เวลา : 13.00 – 16.15 น.

เนื้อหาโดยย่อ

ไทยแลนด์ 4.0 หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล มีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ที่นำมาช่วยในการขับเคลื่อน คือ การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ (Smart City) จะเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้เมืองมีความน่าอยู่ มีการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลให้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้เติบโตเพื่อเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) และเทคโนโลยีอำนวยความสะดวกในชีวิต (Smart Living) ทำให้เมืองเชื่อมโยงกันด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีและเพิ่มเติมความสะดวกให้แก่วิถีชีวิตและเศรษฐกิจ

การเสวนาในครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Smart Living ทั้งในส่วนของภาพรวมและทิศทางของเทคโนโลยีโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตลอดจนตัวอย่างการนำงานวิจัยของ ศอ. ไปใช้งานจริงที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อสอดรับกับนโยบายภูเก็ตสมาร์ทซิตี้ อาทิเช่น ระบบรู้จำป้ายทะเบียนรถรวมชื่อจังหวัดที่ได้นำเอาเทคโนโลยีประมวลผลภาพ (Image Processing) เข้ามาช่วยเพื่อรองรับงานของตำรวจจราจร ระบบอัจฉริยะจัดเก็บขยะ (Traffy Waste) ที่ถูกใช้งานโดยเทศบาลเมืองป่าตอง เป็นต้น พร้อมพบกับงานวิจัย Partii2goแปลงเสียงพูดเป็นข้อความตัวหนังสือ (Speech to Text Application) เพื่อรองรับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตหรืองานที่ต้องการความเร็วในการประมวลผล โดยได้เปิดให้ใช้งานแล้วอย่างเป็นทางการ

กำหนดการ

เวลา13.00-13.45 น.   เสวนาเรื่อง “Convergence for Smart Living”
โดย พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ
รองประธานกรรมการ
กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

เวลา13.45-16.15 น.   เสวนาเรื่อง “Technology for Smart Living”
ผู้ร่วมเสวนา

  1. พ.ต.อ.พีรยุทธ การะเจดีย์
    รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดภูเก็ต
  2. นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์
    นายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง
  3. นางสาวชัชฎา อภิชาสุทธากุล
    นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
  4. นายวศิน สินธุภิญโญ
    นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีภาพ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  5. ดร.วสันต์ ภัทรอธิคม
    นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  6. ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
    นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดำเนินการเสวนาโดย
 ดร.ศุภกร สิทธิไชย
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

สรุปเนื้อหาจากสัมมนา

  • บรรยาย เรื่อง Convergence for Smart Living

พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการหลอมรวมของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อรองรับ Smart living ไม่ว่าจะเป็น Mobile wireless, Social media, Big data analytics, Blokchain, AI, IoTและ Smart material เป็นต้น ก่อให้เกิดนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Disruption innovation เช่น Robot, Cloud, Smart social media, Advanced search engine (AI search), Drone, Self driving vehicle & EV, Clean energy (Micro grid), Biometrics identification และ Cryptocurrency เป็นต้น ซึ่งเป็นการยกระดับองค์กรต่างๆ ให้มีศักยภาพสู่การเป็น Smart Business Model ต่อไป

  • เสวนา เรื่อง Technology for Smart Living

การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ (Smart City) เป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อให้เมืองมีความน่าอยู่ มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีความสะดวกในชีวิต โดยมีภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง ซึ่งในการพัฒนาเมืองจำต้องอาศัยงานวิจัยไปช่วยแก้ปัญหาต่างๆ เช่น

1) ด้านความปลอดภัยของเมือง โดยการบูรณาการเชื่อมโยงกล้อง CCTV ที่มีอยู่แล้วในจังหวัดและการประมวลผลภาพเพื่อป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก ซึ่งเนคเทคได้พัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของตำรวจ ได้แก่ ระบบรู้จำป้ายทะเบียนรถยนต์ ระบบประมวลผลสภาพการจราจร เพื่อแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่เมื่อมีสภาพการจราจรติดขัด ระบบตรวจสอบการจอดรถในที่ห้ามจอด

2) ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ น้ำเสีย น้ำท่วมขัง landslide เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องขยะที่มีจำนวนมาก ยากต่อการบริหารจัดการ เนคเทคได้พัฒนาระบบจัดการการเก็บขยะอัจฉริยะ (Traffy Waste) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการถังขยะ รถเก็บขยะ ร่วมกับการใช้ Mobile Application และGNSS ซึ่งสามารถช่วยวางแผนSchedule Route การจัดเก็บขยะแบบ Dynamic ได้ด้วย

นอกจากนี้ เทคโนโลยีในอนาคตที่สามารถตอบโจทย์ด้าน Smart living ได้แก่ Smart home speaker เป็นอุปกรณ์สำหรับควบคุม (Control hub) การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านด้วยเสียงพูด โดยเนคเทคได้พัฒนาระบบรู้จำเสียงพูดภาษาไทย: พาที (Partii) ใน2 รูปแบบ คือ 1) แบบ Client-server ครอบคลุมคำศัพท์กว่า 140,000 คำ ด้วยความถูกต้อง 80% ให้บริการได้ผ่าน Web serviceและ 2) แบบ Offlineที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ครอบคลุมคำศัพท์ 1,000 คำ ด้วยความถูกต้อง 80% ซึ่งได้เปิดให้บริการฟรีในชื่อ Partii2go นอกจากนี้ ยังมีแนวทางอื่นๆ ที่งานวิจัยสามารถช่วยตอบโจทย์เพื่อรองรับ Smart living อีกมากมาย เช่น เทคโนโลยีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยสำหรับตำรวจ เทคโนโลยีเก็บค่าจอดรถ และการช่วยปิดช่องโหว่ในภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น

ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)

Part 1

Part 2

Watch more on Youtube