หัวข้อเสวนา : ขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ด้วย Internet of Things
ห้องสัมมนา : Lotus
เวลา : 13.00 – 15.00 น.
เนื้อหาโดยย่อ
ในปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเกิดขึ้นรวดเร็ว เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นทุกวัน สถาบันการศึกษามีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างบุคลากรเข้าไปเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดการใช้ประโยชน์ พื้นฐานทางทฤษฎีที่เข้มแข็ง ผนวกกับประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง คือเป้าหมายพื้นฐานในการเรียนการสอนของนักเรียนนักศึกษาในสายวิชาชีพวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
เทคโนโลยี Internet of Things หรือเรียกย่อๆ ว่า IoT เข้ามาอยู่ในกระแสของวงการ IT ทั่วโลกในช่วง 2-3 ปีมานี้ การที่เทคโนโลยี IoT ซึ่งรวมไปถึงเซนเซอร์และอุปกรณ์สมองกลฝังตัวสามารถนำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพได้ในทุกๆ กระบวนการ คือหัวใจสำคัญที่จะผลักดันให้เทคโนโลยีนี้เติบโตและถูกนำไปใช้งานในทุกธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายในทศวรรษที่จะมาถึงอย่างแน่นอน
สถาบันการศึกษาจะมีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างบุคลากรเข้าไปเป็นกลจักรในการขับเคลื่อนเทคโนโลยี IoT ให้เกิดการใช้ประโยชน์ ดังนั้นวิสัยทัศน์ของหน่วยงานหรือองค์กรด้านการศึกษา รวมไปถึงสถาบันการศึกษาเอง จึงเป็นสิ่งที่จะชี้ชะตาอนาคตของประเทศว่าจะเดินไปสู่ยุค 4.0 ได้สำเร็จหรือไม่ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงอันเชี่ยวกรากนี้
ผู้เข้าร่วมการสัมมนา “ขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ด้วย Internet of Things” จะได้รู้จักกับ KidBright และ NETPIE ซึ่งเป็นเครื่องมือล่าสุดที่พัฒนาขึ้นโดย NECTEC ในการช่วยให้การเรียนการสอน IoT เป็นเรื่องง่ายและสนุก รวมทั้งรับฟังการเสวนาระดมสมองแลกเปลี่ยนแนวคิดในหัวข้อ “แนวทางการประยุกต์ Internet of Things เพื่อสะเต็มศึกษา” จากวิทยากรที่มีประสบการณ์ในแวดวงเทคโนโลยีและการศึกษามาอย่างยาวนาน
กำหนดการ
13.00 – 13.15 น. อุปกรณ์ส่งเสริมการเรียน Programming “KidBright”
โดย ดร. เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด
หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยการประมวลผลสัญญาณชีวการแพทย์ (BSP)
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
13.15 – 13.30 น. เปิดตัว NETPIE Sketch: เรียนรู้ IoT อย่างมีจินตนาการ
โดย ดร. เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยเพื่อทดลองให้บริการ NETPIE ในเชิงพาณิชย์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
13.30 – 15.00 น. เสวนา หัวข้อ "แนวทางประยุกต์ใช้ Internet of Things เพื่อสะเต็มศึกษา” โดย
- อาจารย์ จิระศักดิ์ สุวรรณโณ
ที่ปรึกษาโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี - ดร. ธงชัย ชิวปรีชา
ผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ - รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - นายชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จํากัด
ดำเนินการเสวนาโดย
ดร. พนิตา พงษ์ไพบูลย์
นักวิจัย กลุ่มวิจัยเพื่อทดลองให้บริการ NETPIE ในเชิงพาณิชย์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
นายชัยวุฒิ สีทา
วิศวกร ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สรุปเนื้อหาจากสัมมนา
การเสวนาหัวข้อ “ขับเคลื่อนการศึกษา 4.0 ด้วย Internet of Things” ได้แบ่งเป็นสองช่วง ในช่วงแรก สวทช. โดยหน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ให้ความรู้ในผลงาน Kidbright คือ บอร์ดส่งเสริมการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องกับทุกๆด้านในชีวิตประจำวัน เช่น การเกษตร การแพทย์ การธนาคาร การศึกษา ซึ่งมีพื้นฐานจากเทคโนโลยีทั้งสิ้น
Kidbright เป็นอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ที่เหมาะใช้เป็นสื่อการเรียนรู้การเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 2 ส่วน 1.โปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง ที่สามารถเลือกมาวางเรียงกันตามความต้องการ ทำงานบน Android และ web based 2.อุปกรณ์ Hardware (Embedded Board) เช่น บอร์ดแสง เซ็นเซอร์ต่างๆ ที่เป็นตัวแสดงผล
หลังจากนั้นเป็นการเปิดตัว PIE Sketch เรียนรู้ IoT อย่างมีจินตนาการ โดย NETPIE คือ IoT Platform ของเนคเทคที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ ให้รู้จัก และติดต่อกันแบบ Real time มีการเชื่อมต่อด้วยหลายๆภาษา หลายๆ OS รองรับหลากหลายอุปกรณ์ มีการเก็บข้อมูล และมี Dashboard ให้ใช้งาน บริการ PIE Sketch เป็นบริการเรื่องการเรียนการสอนด้าน IoT ที่เหมาะกับผู้เรียนสายศิลปะ เป็นการเชื่อมต่อ P5JS เข้ากับ NETPIE เหมาะกับการให้ศิลปินที่จะเขียนโปรแกรมเพราะการใช้งานง่าย สะดวก ไม่ซับซ้อน สามารถ share ได้ง่าย และ Run บน Browser ได้เลย พร้อมกับมีการสาธิต PIE Plant และ ให้ร่วมเล่นเกม BINGO ผ่าน NETPIE
ในช่วงสุดท้ายเป็นการเสวนาหัวข้อ “แนวทางการประยุกต์ใช้ Internet of Things เพื่อสะเต็มศึกษา” ดำเนินการเสวนาโดยเนคเทค ผู้เสวนาประกอบด้วย 1.ผอ.โรงเรียนกำเนิดวิทย์ 2.ที่ปรึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี 3.อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 4.กรรมการบริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด 5. เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี สสวท. เริ่มจากการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ STEM คือเป็นการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนรัก และสนใจใน วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematic) อีกทั้งยังมีโครงการส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นห้องเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยโครงการนี้ได้ทำงานร่วมกับคณะอาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ STEM นี้ยังได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนกับเด็กในพื้นที่ห่างไกล พระ เณร และเด็กในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มากว่า 10 ปีภายใต้โครงการสมองกลฝังตัว ในมุมของบริษัทก็ยืนยันว่าทุกอย่างต้องมาจากความแม่นยำของพื้นฐานทั้ง 4 ด้าน (STEM) และในมุมนโยบาย สสวท. ปกติการเรียนการสอนจะใช้แบบบูรณาการ และภายหลังปรับมาเป็นการเรียนการสอนแบบ STEM โดยเน้นให้เป็นการนำความรู้ทาง STEM มาพัฒนาทำสิ่งใหม่ และประกอบอาชีพ ซึ่งจะได้มีการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับ STEM บูรณาการ และการคิดเชิงคำนวณ (Computing)
ส่วนความเกี่ยวข้องของการเรียนการสอน STEM กับ IoT นั้น การเรียนการสอน STEM จะใช้ IoT เป็นเครื่องมือสร้างแรงจูงใจในการเรียน โดยต้องสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน และต้องมองถึงความสำคัญของ IoT ในยุคปัจจุบันที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตทุกๆด้าน
ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)
- บอร์ดส่งเสริมการเรียน Programming “KidBright” โดย ดร. เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด
- NETPIE Sketch: เรียนรู้ IoT อย่างมีจินตนาการ โดย ดร. เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์