หัวข้อ : Health Tech: The Next Frontier for Thailand 4.0
เทคโนโลยีสุขภาพ: พรมแดนถัดไปของ Thailand 4.0
ห้องสัมมนา : meeting room 4
เวลา : 13.00 – 16.00 น.
เนื้อหาโดยย่อ
การก้าวสู่อนาคตด้วยวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 นั้น หนึ่งในหัวข้อที่มีการพูดถึงอยู่เสมอคือ ระบบสุขภาพของประเทศ ในสัมมนานี้ เรานำเสนอแนวโน้มทางด้านเทคโนโลยีที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพของประเทศ อะไรคือสิ่งที่จะมา และจะมาอย่างไร เมื่อไหร่ พร้อมกับกลยุทธ์วิธีการเตรียมความพร้อมและรับมือเพื่อไม่ให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างกันดังเช่นที่กำลังเกิดในอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลสุขภาพนั้นมีความอ่อนไหวมากกว่าข้อมูลประเภทอื่นๆ นอกจากนี้ ทางเนคเทคจะนำเสนอ Ulife.info แพลตฟอร์ม API ด้านข้อมูลสุขภาพเพื่อให้การเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพสามารถทำได้อย่างสะดวกทั้งผู้รับและผู้ส่งข้อมูล พร้อมทั้งแอพพลิเคชั่นทางด้านแม่และเด็ก เช่น มุมแม่ และ KidDiary ที่เชื่อมโยงถึงกันผ่านแพลตฟอร์ม Ulife.info
กำหนดการ
12:30-13.00 น. ลงทะเบียน
13.00-14.30 น. เปิดตัว ULife: แพลตฟอร์มสาธารณะเพื่อสุขภาพ ชวนเมคเกอร์ไทยร่วมต่อยอด
- ดร. ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์
นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ULife Show Case: ตัวอย่างแอปพลิเคชั่น เพื่อเชื่อมต่อและติดตามพัฒนาการลูกน้อย
- ดร.พิมพ์วดี เชาวลิต อาหวาด
นักวิจัย ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ - ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์
นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดําเนินชีวิต
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
14.30-14.45 น. ภาพรวมเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของเนคเทค
- ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร
ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
14.45-16.00 น. การเสวนาหัวข้อ “Digital Trends in Health care Services แนวโน้มด้านดิจิทัลในบริการการแพทย์”
ร่วมเสวนาโดย
- นายแพทยชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์
ผู้อํานวยการสํานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน
สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ - ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด
ผู้อํานวยการ สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ - เภสัชกรหญิงวลัยพรรณ ฉันท์มิตรกุล
บริษัท Zeekdoc จํากัด
ดำเนินรายการ โดย
ดร. ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์
นักวิจัยอาวุโส
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สรุปเนื้อหาจากสัมมนา
การเสวนาหัวข้อ “เทคโนโลยีสุขภาพ : พรมแดนถัดไปของ Thailand 4.0” (Health Tech: The Next Frontier for Thailand 4.0) ประกอบด้วยการเสวนา 2 ช่วง คือ ช่วงแรก เป็นการเปิดตัว Ulife : แพลตฟอร์มสาธารณะเพื่อสุขภาพ และชวนเมคเกอร์ไทยร่วมต่อยอด โดย ดร. ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และได้นำเสนอ ULife Show Case : ตัวอย่างแอปพลิเคชั่นเพื่อเชื่อมต่อและติดตามพัฒนาการลูกน้อย โดย ดร.พิมพ์วดี เชาวลิต อาหวาด นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีการวิเคราะห์กระบวนการเชิงคำนวณ นำเสนอแอปพลิเคชั่น “มุมแม่ เป็นแอพพลิเคชั่น บันทึกประวัติและสถิติการให้นมแม่ ช่วยหาห้องให้นมลูกเมื่อออกนอกบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ สามารถทั้งใช้ข้อมูลและแชร์ข้อมูลได้ สามารถดาวน์โหลดได้แล้วบนระบบ Android หรือเข้าดูข้อมูลอื่นๆ ที่เว็บไซต์ www.moommae.com และ ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์ นักวิจัยอาวุโส ห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดําเนินชีวิต นำเสนอ Kid Diary Platform” โปรแกรมบันทึกและคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ช่วยให้ผู้ปกครองสามารถติดตาม เฝ้าระวัง กำหนดการฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ พร้อมทั้งคัดกรองการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 19 ปี โดยมีการแจ้งเตือนเมื่อพบเด็กที่มีความเสี่ยง เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพบแพทย์และรับการประเมิน พร้อมรับทราบแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมรอบด้านตามวัย ซึ่งข้อมูลที่บันทึกและแสดงในโปรแกรมนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น รวมทั้ง ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นำเสนอภาพรวมเทคโนโลยีด้านการแพทย์ของเนคเทค
ช่วงที่สอง เป็นการเสวนาหัวข้อ “Digital Trends in Health care Services แนวโน้มด้านดิจิทัลในบริการการแพทย์” โดยนายแพทยชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อํานวยการสํานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อํานวยการ สํานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และเภสัชกรหญิงวลัยพรรณ ฉันท์มิตรกุล บริษัท Zeekdoc จํากัด ทั้งนี้แนวโน้มด้านดิจิทัลในบริการการแพทย์ยกระดับภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน มีการทำงานแบบอัจฉริยะให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง ซึ่งระบบดิจิทัลดังกล่าว คือ Electronic Health Record Sharing System (eHRSS) คือ ระบบกลางที่รวบรวมเอกสารอิเล็กทรอนิกส์บันทึกข้อมูลประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วย การตรวจร่างกาย และการให้การรักษาของสถานพยาบาล ซึ่งเป็นระบบสมัครใจ (Voluntary System) ผู้ป่วยสามารเลือกได้ว่าจะเปิดเผยข้อมูลสุขภาพของตนเองให้กับสถานพยาบาลใดบ้างในระบบ eHRSSซึ่งการสมัครเข้าสู่ระบบนี้จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ โดยในส่วนของสถานพยาบาลจะสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้ต่อเมื่อสมัครอยู่ในระบบ eHRSSและผู้ป่วยยินยอมเปิดเผยข้อมูลให้แก่สถานพยาบาลนั้นๆ
ความสำเร็จและประโยชน์ของระบบ eHRSS
- eHRSSจะช่วยให้ข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยออนไลน์บนระบบอิเล็กทรอกนิกส์ตลอดเวลา รวมทั้งข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ
- สถานพยาบาลจะสามารถให้บริการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีข้อมูลสุขภาพสำหรับการบริการพยาบาลได้ดีมากขึ้นแม่นยำขึ้น ลดข้อผิดพลาดจากการระบุข้อมูลผู้ป่วยด้วยระบบกระดาษเดิม
ไฟล์ประกอบการบรรยาย (.pdf)
- ULife: แพลตฟอร์มสาธารณะเพื่อสุขภาพ โดย ดร. ชยกฤต เจริญศิริวัฒน์
- โมบายแอปพลิเคชัน "มุมแม่" โดย ดร.พิมพ์วดี เชาวลิต อาหวาด
- Digital Trends in Health care Services แนวโน้มด้านดิจิทัลในบริการการแพทย์ โดย ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด
- Healthy Thailand โดย นายแพทยชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์