หัวข้อ : พลังแห่งการศึกษาดิจิทัล (Power of Digital Education)
ห้องสัมมนา : meeting room 3
เวลา : 10.30 – 12.00
เนื้อหาโดยย่อ
ภายใต้ยุคไทยแลนด์ 4.0 การศึกษาไทยก็กำลังก้าวเข้าสู่ดิจิทัลเช่นกัน ปัจจุบันมีหน่วยงานการศึกษา มหาวิทยาลัย หลายแห่งที่มีการใช้เทคโนโลยีด้านการศึกษา เข้ามาช่วยในกระบวนการเรียนการสอน เมื่อปี 2558 สวทช. ได้ริเริ่มโครงการระบบสื่อสาระออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ทางไกลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปี 2560 โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการ การอุดมศึกษา ได้ริเริ่มโครงการระบบการศึกษาแบบเปิดเพื่อมหาชน ผลลัพธ์ของโครงการเกิดระบบบริการการศึกษาแบบเปิดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Courses) หรือ MOOC ระดับชาติ สนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนแบบออนไลน์รองรับนักศึกษาและประชาชนทั่วไป สามารถเข้าเรียนได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ผลการเปิดให้บริการการศึกษาออนไลน์ขนาดใหญ่เหล่านี้ ส่งผลให้เห็นข้อมูลการใช้งานในเชิงลึกซึ่งสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ให้เห็นถึงพฤติกรรมของผู้เรียนและศักยภาพของระบบ ในขณะที่การศึกษาได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ประสบการณ์ของหน่วยงานการศึกษาที่ได้เปิดระบบให้บริการการศึกษาแบบออนไลน์นี้ จะเป็นเนื้อหาสำคัญในการวางแผน ออกแบบ และปรับปรุงระบบและกระบวนการให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ กับสังคมไทยยิ่งขึ้น การเสวนานี้ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดสร้างระบบและให้บริการการศึกษาออนไลน์มาร่วมอภิปราย ถ่ายทอดประสบการณ์ และชี้แนะแนวทางของการจัดการศึกษาออนไลน์ขนาดใหญ่ในอนาคตต่อไป
ร่วมเสวนาโดย
- รศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี
รองคณบดี ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษา
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ
อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
AIT (Asian Institute of Technology) - ดร.วรสรวง ดวงจินดา
ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม - รศ.ดร. อติวงศ์ สุชาโต
อาจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการ โดย
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สรุปเนื้อหาจากสัมมนา
ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยสื่อสารของมนุษย์และคอมพิวเตอร์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้กล่าวในช่วงแรกไว้ว่าปัจจุบันเราต้องเจอกับ Disruptive Technology ต่าง ๆ และในด้านการศึกษาก็มี disruptive education ด้วย McKinsey & Co ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนในศตวรรษที่ 21 จะมีลักษณะความเป็น personalized learning ซึ่งประกอบไปด้วย self-directed, relevant, Journey focused และ Strength based มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ (Scientific) เช่น ออกแบบตามหลัก cognitive science มีการใช้ Evidence based เป็นต้น และสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ที่ต้องการ มีการเชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกันมีความเป็นสังคมมากขึ้น
ผศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี รองคณบดี ฝ่ายนวัตกรรมการศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่านิยามของ digital education คือ
- ทำให้เกิดการสื่อสารความรู้ที่หลากหลายรูปแบบ ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เป็นสื่อที่มาจากผู้เผยแพร่หลายแหล่ง (Variety of learning resources.)
- ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ในทุกๆ ที่ (Ubiquitous learning; learning at any place any time)
- แก้ปัญหาเฉพาะเรื่อง/เฉพาะบุคคล (On-demand and personalized learning)
- ระบบการศึกษายืดหยุ่นมากขึ้น การเชื่อมโยงในระบบ/ นอกระบบเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา (Mix and blended between education system)
- สร้างโอกาสเข้าถึง/แลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน (People are connected)
- สามารถประเมินผู้เรียนได้อย่างแท้จริงสามารถเข้าถึงผู้คนได้หลากหลาย แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้
ดร. อติวงศ์ สุชาโต อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงเทคโนโลยีกับค่านิยม Digital Technology พลังแห่งการขับเคลื่อนด้วยวิศวกรรม หรือพฤติกรรมของคน
- เทคโนโลยี / วัฒนธรรม / ค่านิยม เป็นพลังขับเคลื่อนให้โลกดำเนินไปพร้อมๆ กัน ดำเนินไปตามธรรมชาติ
- เทคโนโลยีปัจจุบัน เข้ามา break through communication เทคโนโลยีทำให้ cost ต่างๆมันถูกลง เช่น ค่า Internet ทึ่ถูกลงมาก ทำให้คนเข้าถึงได้มากขึ้น
- นอกจากนี้ความก้าวหน้าของ Digital Technology เช่น web, HTML5 ทำให้การเรียนรู้มีสิ่งที่น่าสนใจ
- เทคโนโลยีทำให้เกิดการเชื่อมต่อ (Connected) เข้ามาเติมเต็มช่องว่าง
รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ได้ให้ความเห็นในแง่ผู้ใช้งานว่า
- Digital Education ทำให้เข้าถึงการเรียนสามารถทำได้ง่ายกว่าเมื่อก่อนมาก
- Digital Education โอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้ รวมไปถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถทำให้ทราบว่านักเรียนมีความสามารถในระดับใด ระบบสามารถที่จะปรับเปลี่ยนในการนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะกับการเรียนของแต่ละคนได้ เช่น บางคนอาจชอบที่จะเรียนทฤษฎีให้เข้าใจก่อนแล้วจึงทำตามตัวอย่างขณะที่บางคนจะชอบดูตัวอย่างควบคู่ไปพร้อมกับทฤษฎี
- กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ผู้เรียน (Personalized)
- Learning/Learner Analytics Personalized & Adoptive Learning
- Learning/Learner Analytics วิเคราะห์ประวัติการเรียน > วิเคราะห์ผลการเรียน > วิเคราะห์พฤติกรรม > พัฒนาการจัดการเรียนการสอน
- Paganized & Adaptive Learning
ดร.วรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้กล่าวเสริมว่าการเรียนในศตวรรษที่ 21 ทำให้เราสามารถเรียนในเวลาที่ชอบและพบปะกับผู้คนได้หลากหลายมากขึ้น
Digital Education ให้อะไรในสิ่งที่ Education สมัยก่อนทำไม่ได้
- Education revolution
- Readiness
- Diversity
- Options
- Freedom of voice (กล้าแสดงความคิดเห็น)
- Cost – based opportunities
- Languages & skills
- globalization
ผศ.ดร.อนุชัยฯ ยังได้กล่าวถึงโครงการ Thai MOOC ซึ่งเป็นตลาดความรู้ ที่ดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน ได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยกว่า 40 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ มาร่วมจัดทำรายวิชาได้ 140 รายวิชาแล้ว นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับ J-MOOC ประเทศญี่ปุ่น และ K-MOOC ประเทศเกาหลี
ด้วย ดร.วรสรวงฯ ได้กล่าวเสริมว่าได้มีการเปิด facebook thai academic เพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคในการทำ thai mooc และมีการแบ่งปันประสบการณ์ เช่น เครื่องมืออะไรเหมาะกับผู้เรียนอะไรบ้าง และมีการแนะนำให้ผู้สอนเข้าใจการสอนแบบที่มีผู้เรียนจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการสอนแบบเดิมมาใช้กับการสอนที่มีผู้เรียนจำนวนมากเช่นนี้ได้
รศ.ดร.อติวงศ์ฯ ยังได้แนะนำ Chula MOOC ที่พัฒนาด้วย platform courseville เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 โดย รศ.ดร.อติวงศ์ฯ ได้นำเสนอคุณลักษณะของ Platform couseville ในด้านการจัดการเนื้อหาการสอน การรายงานข้อมูลต่าง ๆ ด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงท้ายของการเสวนา ยังได้กล่าวถึง ข้อดี-ข้อเสียของ Digital Education รวมไปถึง ข้อจำกัด แนวทางในการพัฒนาในอนาคต ดังนี้
ปัญหา/ข้อจำกัด
- อาจารย์/ผู้สอน ยังไม่ชำนาญ ในการจัดการกับผู้เรียนจำนวนมากมหาศาลอย่างไร ผู้สอนต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่ ๆ
- ผู้สอนต้องเข้าใจว่า Technology ไหนเหมาะสมกับผู้เรียนของตน
- ผู้สอน ต้องการ support อะไรเพิ่มบ้าง ผู้พัฒนา Thai MOOC จะต้องให้การ support โดยปัจจัยพื้นฐาน เช่น e-mail, YouTube
ความท้าทาย
- แรงจูงใจและการกระตุ้นการเรียนรู้
- การพิสูจน์ตัวตน
- การผลิต content ที่มีคุณภาพ
- น่าสนใจ ดึงดูด สอดคล้องเป้าหมาย
- ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ, เวลา, ทรัพยากร
ข้อดี
- ประหยัดค่าใช้จ่าย, สถานที่, การเดินทาง
- ลดปัญหาการจัดการตารางเวลาผู้สอน/ผู้เรียน
- ใช้สอนได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและจำนวนผู้สอน
คำแนะนำในการพัฒนาต่อไป
- ปัจจุบันค่อนข้างขาดแคลน Programmer
- Platform, content เริ่มมีการพัฒนาดีขึ้นแล้ว แต่การทำ e-Portfolio ยังติดเงื่อนไขว่าจะทำอย่างไรให้เป็นที่ยอมรับเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
- แรงบัลดาลใจในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-motivation) ก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องสร้างแรงกระตุ้น จะทำอย่างไรให้คนใฝ่รู้ ให้สนใจแหล่งความรู้มีความใฝ่รู้
- The Power of Digital Education โดย รศ.ดร. อนุชัย ธีระเรืองไชยศรี
- The Power of Digital Education โดย รศ.ดร.ชุติพร อนุตริยะ
- Digital Education โดย รศ.ดร. อติวงศ์ สุชาโต
- The Power of Digital Education โดย ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย