รอบสุดท้าย! คัดตัวแทนนักศึกษาไทยร่วมประกวดผลงาน i-CREATe 2019

Facebook
Twitter
SIC 2019

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) ได้จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุภายในประเทศ (รอบสุดท้าย) ระดับนักศึกษา (Student Innovation Challenge: SIC 2019) ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร วันที่ 17 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นตัวแทนทีมจากประเทศไทยเข้าร่วมการประกวด Global Student Innovation Challenge for Assistive Technology (gSIC-AT) ในงานประชุมวิชาการนานาชาติฯ i-CREATe 2019

ในการคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมประกวดสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ ปี 2562 นี้ มีโครงงานเข้าร่วมการคัดเลือกทั้งหมด 36 โครงงาน และมีโครงงานผ่านการคัดเลือกฯ ทั้งสิ้น 7 โครงงาน ดังนี้

SIC 2019

 

1. Active Balance & Mobility มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นเครื่องช่วยพยุงผู้สูงอายุให้ฝึกการทรงตัวอย่างมั่นใจ มีการคิดค้นพัฒนาโปรแกรมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการทรงตัวให้ผู้สูงอายุ และมีการพัฒนาเกมให้ผู้สูงอายุเล่นเพื่อฝึกการทรงตัวและฝึกกำลังด้วย
SIC 2019

 

2. Active Exo-spine (AES) โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจจับลักษณะท่าทางของร่างกายที่ผิดปกติและมีการแจ้งเตือนให้กลับมาทำท่าทางที่ถูกต้อง สามารถกำหนดค่าผ่านโปรแกรมให้อุปกรณ์อยู่ในองศาและท่าทางที่เหมาะสม ช่วยลดอาการปวดหลัง
SIC 2019

 

3. Autonomous Walker โรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี
เป็นเครื่องช่วยเดินที่ให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุเดินได้สะดวกโดยไม่ต้องออกแรงยก สามารถพับเก็บได้และพกพาสะดวก
SIC 2019

 

4. BotTherapist มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
หุ่นยนต์สำหรับฝึกพัฒนาการเด็กออทิสติก สามารถให้หุ่นมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กได้ โดยล่าสุดได้นำ Machine Learning มาพัฒนาร่วมด้วย เพื่อให้สามารถระบุได้ว่าเด็กที่กำลังเล่นหุ่นยนต์ควรถูกกระตุ้นด้วยเกมใดจึงจะได้ผล
SIC 2019

 

5. Journey Electric Wheelchair วิทยาลัยสารพัดช่างสกลนคร
รถไฟฟ้าสำหรับผู้พิการที่นั่งวีลแชร์ สามารถช่วยเหลือตนเองในการเดินทางได้
SIC 2019

 

6. ReArm มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ช่วยฟื้นฟูและช่วยให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวก
SIC 2019

 

7. Wireless-Wearable EMG Measurementfor Rehabilitation Monitoring มหาวิทยาลัยมหิดล
เป็นอุปกรณ์ที่สามารถระบุมัดกล้ามเนื้อมัดที่อ่อนแรงโดยใช้มาตรฐาน EMG เพื่อช่วยในการติดตามการฟื้นฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อ

ทั้งนี้ โครงงานดังกล่าว จะเข้าร่วมประกวดโครงงานสิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการและผู้สูงอายุของนักศึกษาระดับนานาชาติ ในงานประชุมวิชาการนานาชาติฯ i-CREATe 2019 ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2562 ณ National Convention Centre เมืองแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย