ประกาศผลสุดยอดผลงาน มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 15

Facebook
Twitter
itcontest2016awards
itcontest2016awards

 

ปิดฉากลงแล้วอย่างยิ่งใหญ่กับมหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 หรือ Thailand IT Contest Festival 2016 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๙ ณ หอประชุมมหิศร อาคารเอสซีบีพาร์ค ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ เฟ้นหาสุดยอดตัวแทนเยาวชนไทยเพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC 2016) พร้อมสรรหาตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา จากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC 2016)

ภายในงานประกอบไปด้วย ๔ กิจกรรม ได้แก่
  1. การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (The Eighteenth National Software Contest: NSC 2016) ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบกับซอฟต์แวร์ยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ อาทิ โปรแกรมเกม โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ (CAI) โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ โปรแกรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โปรแกรมเพื่อประยุกต์ใช้งาน โปรแกรมประมวลผลภาษาไทย Internet of Things โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ โปรแกรม Open Source สุดยอดโปรแกรมของประเทศไทย โดยฝีมือและมันสมองของเยาวชนไทย
  2. การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 18 (The Eighteenth Young Scientist Competition: YSC 2016)สรรหาตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบปะกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ นักวิจัยในอนาคต ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ พลังงานและวิศวกรรมการขนส่ง คณิตศาสตร์ พิสิกส์และดาราศาสตร์ เคมี วิทยาศาสตร์พืช วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  3. การประกวดวงจรอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 15 (The Fifteenth Youth’s Electronics Circuit Contest: YECC 2016) โดยตัวแทนค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์จากทั่วประเทศ เพื่อชิงชัยและค้นหาสุดยอดนักประดิษฐ์ นักอิเล็กทรอนิกส์วัยเยาว์ สร้างสรรค์อุปกรณ์สำหรับ Smart Farm, Smart Home และ Smart Machine
  4. โครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่” โดยได้รับการสนับสนุนมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)ในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่เยาวชนที่มีความตั้งใจจริงและมีผลงานที่มีศักยภาพในการต่อยอดพัฒนาผลงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อเป็นการต่อยอดการพัฒนาผลงานสู่การนำไปใช้งานได้จริง โดยเน้นการทำงานในรูปแบบใหม่ที่เน้นการสร้างกลไกการทำงานร่วมกับภาคีในลักษณะของเครือข่ายจิตอาสา เพื่อสร้างความยั่งยืนของโครงการและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมไทย
itcontest2016awards

 

ผลการแข่งขัน มีดังนี้

1. การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 (The Eighteenth National Software Contest: NSC 2016) จัดการแข่งขันออกเป็น 3 ระดับ ในประเภทย่อย จำนวน ๑๒ ประเภท ซึ่งผู้ชนะเลิศในแต่ละประเภทจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 14 โครงการ
รางวัลที่ 1 เกมพัซเซิลที่มีระบบวางแผนการกระทำล่วงหน้าบนสมาร์ทโฟน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 ปาร์ตี้ลิงค์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลที่ 3 เกมส่องแสงต้นกล้า จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
รางวัลชมเชย เรื่องเล่าของยูนิตเวอร์ส จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
รางวัลชมเชย จากผู้เฝ้าดวงดาว จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลชมเชย เธาซันด์เวิร์ด เธาซันด์เวิลด์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 13 โครงการ
รางวัลที่ 1 เนียร์มิต: สนุกกับการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลที่ 2 หมีขั้วโลกเพื่อการเรียนรู้ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลที่ 3 ตุ๊กตาพูดโต้ตอบเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กเล็ก จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย เกมพัซเซิลสองมิติที่ผู้เล่นสามารถออกแบบด่านได้เอง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย ระบบการเรียนรู้เขียนโปรแกรมแบบโต้ตอบออนไลน์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รางวัลชมเชย การพัฒนาเกมแนวป้องกันฐานทัพสำหรับการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 11 โครงการ
รางวัลที่ 2 ระบบติดตามการเคลื่อนไหวสำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยใช้เทคนิคการทำเหมืองกระแสข้อมูล จากมหาวิทยาลัยหอการค้า
รางวัลที่ 3 เอ็กซ์โกลฟ ไทยทอล์ค จากมหาวิทยาลัยบูรพา
รางวัลชมเชย เครื่องมือสื่อสารสำหรับผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางการสื่อความหมาย จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
รางวัลชมเชย อุปกรณ์กายภาพบำบัดแขนสำหรับผู้ป่วยอัมพฤกษ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
โปรแกรมเพื่องานการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 13 โครงการ
รางวัลที่ 2 การค้นหาโครงข่ายย่อยของยีนโดยการใช้แอฟฟินิตี้ โพรพาเกชั่น คลัสเตอร์ริ่ง และระบบประมวลผล แบบคู่ขนาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลที่ 2 ระบบวิเคราะห์และตรวจจับการบุกรุกสำหรับศูนย์ข้อมูล จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รางวัลที่ 3 การสร้างโมเดลเพื่อพยากรณ์โอกาสสำเร็จการศึกษาโดยใช้เทคนิค การทำเหมืองข้อมูล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี
รางวัลชมเชย การพัฒนาโปรแกรมค้นหาโครงสร้างโครงข่าย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลชมเชย ระบบตรวจสอบโอกาสเกิดอุบัติเหตุทางบก เมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะมีทัศนวิสัยไม่ชัดเจน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Mobile Application จากทั้งหมด 13 โครงการ
รางวัลที่ 3 แกว่งล่าฝัน จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
รางวัลที่ 3 สมาร์ทเช็ค จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
รางวัลที่ 3 แอปพลิเคชั่นการบริจาคโลหิต จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลชมเชย ระบบการตอบคำถามสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวจากการทำเหมืองข้อมูลออนไลน์ จากมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย โปรแกรมประยุกต์สนับสนุนผู้เข้าใช้บริการโรงพยาบาลโดยระบบนำทางภายในอาคาร จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
รางวัลชมเชย ชัปปี้คู่หูดูแลสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หัวข้อพิเศษ
โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ (Linux Desktop Application) ระดับนิสิต นักศึกษา จากทั้งหมด 5 โครงการ
รางวัลที่ 2 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รางวัลที่ 3 แฮชแท็ก ปรินท์ติ้ง จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
รางวัลชมเชย โคโค่ : โซลูชั่นตรวจสอบและบันทึกการใช้งานอินเทอร์เน็ตพร้อมระบบตรวจสอบและจัดการการใช้งานโซเชียลมิเดียในองค์กร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
รางวัลชมเชย แพลตฟอร์มเพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่กำหนดด้วยซอฟต์แวร์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
BEST 2016-Text Localization and Recognition Contest จากทั้งหมด 6 โครงการ
รางวัลที่ 1 ข้อความเอย เจ้าอ่านว่าอย่างไร, ระบบระบุตำแหน่งและรู้จำข้อความบนภาพถ่ายทั่วไป จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 ระบบสืบค้นรูปภาพจากข้อความอย่างมีประสิทธิภาพ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลที่ 3 ระบบการแยกแยะบุคคลในภาพถ่ายจากป้ายรหัส จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Internet of Things จากทั้งหมด 10 โครงการ
รางวัลที่ 1 ระบบไอโอทีอัจฉริยะ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 ระบบตรวจวัดและควบคุมการใช้พลังงานและความปลอดภัยภายในบ้านโดยใช้การส่งข้อมูลผ่านสายไฟฟ้าและเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รางวัลที่ 3 โครงข่ายบลูทูธอัจฉริยะเพื่อการจัดงานในสถานที่ขนาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ รางวัลชมเชย เกตเวย์ที่รองรับหลายโปรโตคอล สำหรับการเชื่อมต่อของสรรพสิ่ง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Artificial Intelligence Applicationจากทั้งหมด 6 โครงการ
รางวัลที่ 3 การประยุกต์ใช้ระบบนิวแมติกส์ร่วมกับ PLC ในการสร้างหุ่นยนต์เล่นดนตรีอัตโนมัติร่วมกับมนุษย์ จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
รางวัลที่ 3 แขนกลคัดแยกขนาดไข่ไก่ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
รางวัลชมเชย ระบบการจำแนกความรู้สึกแบบสองภาษาอัลกอริทึมการเรียนรู้แบบมีผู้สอน มหาวิทยาลัยมหาสารคราม
โปรแกรมเพื่อความบันเทิง ระดับนักเรียน จากทั้งหมด 13โครงการ
รางวัลที่ 2 คืนฆ่า ล่าไม่ยั้ง จากโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2
รางวัลที่ 2 ตกศัพท์มหาประลัย จากโรงเรียนสตรีอ่างทอง
รางวัลที่ 3 เว็บแอพพลิเคชั่นแมชอัพ MixoNote จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
รางวัลที่ 3 บุญรอด ต้องรอด จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์
รางวัลชมเชย แบกเป้ตะลุยไทย จากโรงเรียนสตรีอ่างทอง
รางวัลชมเชย ท่วงทำนองแห่งการก่อกำเนิด จากโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร
โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับนักเรียน จากทั้งหมด 10 โครงการ
รางวัลที่ 1 แรงและความดันในดินแดน New AdvenTonจากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลที่ 2 สิ่งเร้า ในโลกเสมือนจริง จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลที่ 3 ทอ-ไอ-ยอ ไทย จากโรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์ คอนแวนต์
รางวัลชมเชย เปิดสมอง ประลองคำศัพท์ จากโรงเรียนสตรีอ่างทอง
รางวัลชมเชย โครงการเกมมือถือเพื่อพัฒนาความรู้รายวิชาเคมีเรื่อง ตารางธาตุ ธาตุ และสารประกอบ จากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน ระดับนักเรียน จากทั้งหมด 15 โครงการ
รางวัลที่ 2 โปรเจคท์ Zrinka: แพลตฟอร์มบัตรสมาชิกร้านค้าและโปรโมชั่นบนอุปกรณ์พกพา จากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
รางวัลที่ 2 เว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อการบริหารจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนากา
รางวัลที่ 3 หมูออมสิน จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลชมเชย ระบบข้อมูลสัตว์เลี้ยงอัจฉริยะ จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
รางวัลชมเชย การตรวจสอบการคัดลอกรหัสต้นฉบับในชั้นเรียนโดยการใช้รหัสตัวอย่าง จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
###รางวัล IoT Windows 10 Special Award ระบบแถวคอยอัจฉริยะ จากมหาวิทยาลัยบูรพา
###รางวัลพิเศษจากบริษัท ไมโครซอฟต์(ประเทศไทย) จำกัด รางวัล Microsoft Universal Windows Platform (UWP) Bridge for Game เกมพัซเซิลที่มีระบบวางแผนการกระทำล่วงหน้าบนสมาร์ทโฟน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 18 (The Eighteenth Young Scientist Competition: YSC 2016): โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศจำนวน 9 โครงการ จะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมชิงชัยในงาน Intel International Science and Engineering Fair (Intel ISEF) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบปะกับนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ นักวิจัยในอนาคต ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์ พลังงานและวิศวกรรมการขนส่ง คณิตศาสตร์ พิสิกส์และดาราศาสตร์ เคมี วิทยาศาสตร์พืช วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

  • ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศและได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท อินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด และเป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในเวที Intel ISEF ได้แก่
    • โครงการความสัมพันธ์สมมูลบนบางเซตของคำ สาขาคณิตศาสตร์ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
    • โครงการการตรวจสอบตะกั่วในน้ำเสียอุตสาหกรรมโดยใช้เซ็นเซอร์บนกระดาษ สาขาเคมี จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
    • โครงงานการศึกษาผลของสารในใบไม้แห้งที่มีผลต่อสมบัติทางเคมีของหวอดจากปลากัด และประยุกต์ใช้สารสกัดจากหวอด สาขาวิทยาศาสตร์พืช โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
  • รางวัลรองชนะเลิศ ได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนเข้าแข่งขันในเวที Intel ISEF ได้แก่
    • โครงการการศึกษาประสิทธิภาพในการลดแรงกระแทกของหมวกนิรภัยจาก ของไหลไดลาแทนต์ธรรมชาติ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
    • โครงการการตรวจสอบหมู่เลือดด้วยน้ำลายโดยใช้ GNRs สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ จากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
    • โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพของแผ่นเส้นใยพอลิเมอร์เซลลูโลสอะซิเตทจากไมยราบยักษ์ระดับนาโนจากการปั่นด้วยไฟฟ้าสถิตที่ประกอบด้วยน้ำตะโกในการต้านเชื้อแบคทีเรีย สาขาวิทยาศาสตร์พืช โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
    • โครงการBacterial Cellulosic Ethanol ที่ย่อยด้วย Cellulolytic Bacteria จากมูลวัว สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
    • โครงการวัตกรรมเครื่องกรองน้ำจากวัสดุเหลือใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียปนเปื้อนโลหะหนัก สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
    • โครงการบรรจุภัณฑ์กันกระแทกลดความสูญเสียและชะลอการเปลี่ยนแปลงของผลไม้ในกลุ่ม climacteric fruit ในระหว่างการขนส่งและรอจำหน่าย สาขาวิศวกรรมศาสตร์ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก

3. การประกวดวงจรอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 15 (The Fifteenth Youth’s Electronics Circuit Contest: YECC 2016) โดยตัวแทนค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์จากทั่วประเทศ เพื่อชิงชัยและค้นหาสุดยอดนักประดิษฐ์ นักอิเล็กทรอนิกส์วัยเยาว์ สร้างสรรค์อุปกรณ์สำหรับ Smart Farm, Smart Home และ Smart Machine

ประเภทนิสิต นักศึกษา
รางวัลที่ 1 ระบบตรวจสอบผู้ป่วยผ่านโทรเวชกรรม จากมหาวิทบาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
รางวัลที่ 2 โต๊ะทำงานอัจฉริยะที่ควบคุมด้วยการเคาะ จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
รางวัลที่ 3 ระบบระบายความร้อนในฟาร์มไก่ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
itcontest2016awards

 

itcontest2016awards

 

itcontest2016awards

 

มหกรรมประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 หรือ Thailand IT Contest Festival 2016

itcontest2016awards

 

จัดโดย

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สนับสนุนโดย

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
มูลนิธิสยามกัมมาจล
บริษัท อินเทลไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด