|หน้าหลัก|ประวัติการทำบูดู|ปลากะตัก|การผลิตบูดู|วิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู|การนำบูดูไปประกอบอาหาร|ลักษณะของบูดู|เอกสารอ้างอิง|

คณะผู้จัดทำ: โรงเรียนสายบุรี "แจ้งประชาคาร" ถ.สายบุรี ต.ตะลุบัน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี 94110
โทรศัพท์: 073-411031 แฟกซ์: 073-411031

เวปไซต์นี้จะแสดงผลได้ดีที่สุดกับ Internet Explorer 6.0 ขึ้นไป, ความละเอียดจอภาพ 800x600 พิกเซล, Text Size Medium

หลักการทำงานของเครื่องโซนาร์ (sonar) และเครื่องซาวน์เดอร์ (sounder)

เครื่องโซนาร์ (sonar) และเครื่องซาวน์เดอร์ (sounder) เป็นอุปกรณ์ที่ชาวประมงใช้ในการหาปลาโดยอาศัยหลักการสะท้อนของคลื่นที่ว่า "การสะท้อนของคลื่นจะเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเดินทางไปเจอสิ่งกีดขวาง และสิ่งกีดขวางนั้นมีขนาดเท่ากับหรือโตกว่าความยาวคลื่นที่ตกกระทบ" โดยเครื่องโซนาร์และเครื่องซาวน์เดอร์จะทำงานโดยการส่งคลื่นดลของเสียงที่มีความยาวคลื่นค่าหนึ่งซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับขนาดของปลาออกไปในทะเล เมื่อคลื่นดลนี้ไปตกกระทบกับฝูงปลาจะเกิดการสะท้อนของคลื่นกลับมายังเรือ จากช่วงเวลาที่ส่งคลื่นเสียงออกไป และรับคลื่นสะท้อนกลับมา ทำให้สามารถคำนวณหาระยะทางระหว่างตำแหน่งของเรือกับปลาได้ โดยอาศัยสมการ             โดยที่
v คือ อัตราเร็วของคลื่นเสียงในน้ำทะเลมีค่าประมาณ 1,531 เมตรต่อวินาที
s คือ ระยะทางที่คลื่นเสียงเดินทางไป-กลับ หน่วยเมตร
t คือ เวลาที่คลื่นเสียงใช้เดินทาง ไป-กลับ หน่วยวินาที

เครื่องโซนาร์ต่างจากเครื่องซาวน์เดอร์อย่างไร?

ทั้งเครื่องโซนาร์ และเครื่องซาวน์เดอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการหาปลาของชาวประมงเหมือนกัน และอาศัยหลักสะท้อนของคลื่นเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่เครื่องโซนาร์จะมีความสามารถที่หลากหลายกว่าเครื่องซาวน์เดอร์ กล่าวคือเครื่องโซนาร์สามารถเลือกชนิดของปลาที่ต้องการได้ขณะที่เครื่องซาวน์เดอร์จะไม่สามารถเลือกชนิดปลาได้ เพราะเครื่องซาวน์เดอร์ถูกออกแบบมาเพื่อหาปลาแต่ละชนิดโดยเฉพาะ นอกจากนี้เครื่องโซนาร์สามารถส่งคลื่นไปได้ไกลกว่าเครื่องซาวน์เดอร์อีกด้วย ดังนั้นเครื่องโซนาร์จะมีราคาแพงกว่าเครื่องซาวน์เดอร์มาก

หน้าหลัก ประวัติการผลิตบูดู ปลากะตัก กระบวนการผลิตบูดู กระบวนการวิทยาศาสตร์กับการผลิตบูดู การนำบูดูไปประกอบอาหาร ลักษณะของบูดูที่ดี เอกสารอ้างอิง
ภาพแสดงหลักการทำงานของเครื่องโซนาร์ และเครื่องซาวน์เดอร์
1.เครื่องซาวน์เดอร์จะส่งคลื่นที่มีความยาวคลื่นใกล้เคียงกับขนาดของปลาที่ต้องการหา
2.คลื่นจะเกิดการสะท้อนตามหลักการสะท้อนของคลื่นเมื่อไปเจอสิ่งกีดขวาง
3.เครื่องซาวน์เดอร์จะตรวจจับคลื่นสะท้อน
4.เครื่องซาวน์เดอร์จะทำการคำนวณหาระยะทางระหว่างเรือกับสิ่งกีดขวาง และวิเคราะห์ขนาดของสิ่งกีดขวาง
5.แสดงผลออกทางจอภาพโดยแสดงเป็นสีที่แตกต่างกัน ถ้าสิ่งกีดขวางขนาดต่างกัน
6.ชาวประมงจะพิจารณาจากสีบนจอภาพ เพื่อคาดการณ์ว่าใช่ฝูงปลาหรือไม่