คำฮีดใช้ตัวดสะกด เพราะเขียนตามอักขระวิธีของอักษรไทยน้อยซึ่งเป็นตัวหนังสือไทอีสานใช้
จาร(จาร-จารึก = ขีดเขียน)เรื่องราวต่างๆโดยเฉพาะนิทานพื้นบ้านและตำรายาต่างๆไว้ในคัมภีร์ใบลานของชาวอีสาน
ฮีต เป็นภาษาลาว ซึ่งชนเผ่าลาวนำมาจากคำศัพท์บาลีว่า จาริตฺต
(อ่านว่า จา-ริด-ตะ) แล้วชนเผ่าลาวและไทอีสานได้นำคำจาริตฺตมาใช้โดยวิธีเปลี่ยนรูปเปลี่ยนเสียงให้เหมาะกับลิ้นของตนว่า
จาฮีดต่อมาเกิดการกร่อนคำ จากคำหลายพยางค์ให้เป็นพยางค์เดียว โดยตัดคำ จา ที่อยู่หน้าพยางค์ออกเหลือเป็นฮีดคำเดียวโดดๆส่วนภาษาไทยยังใช้ว่า
จารีต มาตราบเท่าทุกวันนี้
คำว่าจารีตพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า จารีต เป็นคำนาม
หมายถึง ประเพณีที่ถือสืบต่อกันมานาน
จากนั้นสืบค้นต่อไปอีกว่า ประเพณีหมายถึงอะไร และจากพจนานุกรมฯฉบับดังกล่าวข้างต้น
ให้ความหมายไว้ว่า ประเพณี เป็นคำนาม หมายถึง สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบๆกันมาจนเป็นแบบแผน
ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี
ดังนั้น ประเพณี จึงมีความหมายเป็นได้ ๓ นัย ดังนี้
นัยที่หนึ่ง หมายถึง สิ่งที่นิยมถือปฏิบัติสืบๆกันมาจนเป็นแบบแผน
นัยที่สอง หมายถึง สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบๆกันมาจนเป็นขนบธรรมเนียม และ
นัยที่สาม หมายถึง สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบๆกันมาจนเป็นจารีตประเพณี
จากความหมายของคำ ประเพณี ทั้ง ๓ นัยนี้
ตามนัยที่หนึ่ง ความหมายของประเพณี หมายถึง สิ่งที่คนในสังคมนั้นนิยมประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างแพร่หลาย
เพราะเห็นว่าเป็นของดของถูกต้อง ควรถือเป็นแบบแผนได้
ตามนัยที่สอง ความหมายของประเพณี หมายถึง แบบแผนนั้นเป็นที่นิยมและประพฤติ สืบกันมา
ถ้าใครฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่วจึงเรียกว่าเป็น จารีตประเพณี
ตามนัยที่สาม ความหมายของประเพณี หมายถึง แบบแผนนั้นเป็นที่นิยมและประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน
ตั้งแต่บรรพกาลจนถึงปัจจุบัน
เมื่อเข้าใจในเบื้องต้นแล้วว่า ฮีด คือ ประเพณีที่ไทอีสานถือประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน
ตั้งแต่บรรพกาลจนถึงปัจจุบันนี้ ทำให้ผู้อ่านเกิดความอยากรู้ต่อไปอีกว่า ประเพณีไทอิสานถือปฏิบัตินั้นมีอะไรบ้าง
สำหรับประเพณีไทอีสานถือว่าเป็นฮีดนั้นคืองานบุญประจำเดือน เดือนละหนึ่งงาน โดยเริ่มนับตั้งแต่เดือนอ้ายหรือเดือนเจียงไปจนถึงเดือนสิบสอง
รวมเป็นงานบุญสิบสองอย่างด้วยกัน จึงเรียกว่า ฮีตสิบสอง
ดังนั้นฮีดสิบสอง ก็คือประเพณี ๑๒ เดือนของไทอีสานนั่นเอง