มูลเหตุที่ทำ | พิธีกรรม | การยายห่อข้าวน้อย |
การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสอง
นิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ เปรต (ชาวอีสานบางถิ่นเรียก เผต) หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว
ข้าวประดับดิน ได้แก่ ข้าวและอาหารคาวหวาน พร้อมหมากพลู บุหรี่ที่ห่อด้วยใบตอง
กล้วย นำไปวางไว้ตามใต้ต้นไม้ แขวนไว้ตามกิ่งไม้ ตามบริเวณกำแพงวัดบ้าง (คนอีสานโบราณเรียกกำแพงวัดว่า
ต้ายวัด) หรือวางไว้ตามพื้นดิน เรียกว่า "ห่อข้าวน้อย" พร้อมกับเชิญวิญญาณของญาติมิตร
นำภัตตาหารไปถวายแด่พระภิกษุ สามเณร แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย โดยหยาดน้ำ
(กรวดน้ำ) ไปให้ด้วย |
ฮีตที่ ๙ บุญข้าวประดับดินหรือบุญเดือนเก้า นักปราชญ์อีสานโบราณได้กล่าวไว้เป็นบทผญา โดยได้พรรณนาถึงความอุดมสมบูรณ์และประเพณีการทำบุญในเดือนนี้ว่า... |
"เดือนแปดคล้อยเห็นลมทั่งใบเสียว เหลียวเห็นหมู่ปลาขาวแล่นมาโฮมต้อน กบเพิ่นนอนคอยท่าฝนมาสิได้ม่วน ชวนกันลงเล่นน้ำโห่ฮ้องซั่วแซว เดือนเก้ามาฮอดแล้วบ้านป่าขาดอน เห็นแต่นกเขางอยคอนส่งเสียงหาซู้ เถิงระดูเดือนเก้าอีสานเฮาทุกท้องถิ่น คงสิเคยได้ยินบุญประดับดินกินก้อนทานทอดน้อมถวาย" |
การทำบุญข้าวประดับดินก็เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับญาติที่ตายไปแล้ว ชาวอีสานถือเป็นประเพณีที่จะต้องทำกันทุกๆ ปีมิได้ขาด โดยได้กำหนดเอาวันแรม 15 คำ เดือนเก้า เป็นเกณฑ์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญเดือนเก้าดับ" บางท้องถิ่นอาจจะเรียกว่า "บุญเดือนเก้าลับ"ก็มี ... |
ทำบุญข้าวประดับดิน เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับ เพื่อบูชาผีบรรพบุรุษและผีไร้ญาติ โดยชาวบ้านจะทำการจัดอาหาร ประกอบด้วยข้าว ของหวาน หมากพลู บุหรี่ ห่อด้วยใบตองกล้วย ร้อยเป็นพวง เตรียมไว้ถวายพระช่วงเลี้ยงเพล บางพื้นที่อาาจะนำห่อข้าวน้อย เหล้า บุหรี่ แล้วนำไปวางหรือแขวนไว้ตามต้นไม้หรือที่ใดที่หนึ่ง พร้อมทั้งกล่าว เชิญวิญญาณของบรรพบุรุษและญาติมิตรที่ล่วงลับไปมารับส่วนกุศลในครั้งนี้ ต่อมาใช้วิธีการกรวดน้ำหลังการถวายภัตตาหารพระสงฆ์แทน |
"ฮีตหนึ่งนั้นพอเถิงเดือนเก้ากลางแห่งวัสสากาล ฝูงประชาชนชาวเมืองก็เล่าเตรียมตัวพร้อม พากันทานยังข้าวประดับดินกินก่อน ทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมสู่ภาย ทำจั่งซี่บ่ฮ้ายเถิงขวบปีมา พระราชาในเมืองก็จงทำแนวนี้ ฮีตหากมีมาแล้ววางลงให้ถือต่อ จำไว้เด้อพ่อเถ้าหลานเว้า กล่าวจา" |