มูลเหตุ พิธีกรรม
ฮีตที่ ๖ บุญบั้งไฟ
    บุญเดือนหก บุญบั้งไฟ

ภาพการแห่งบั้งไฟ

 บุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในเดือน ๖ การจัดทำบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมือง เป็นประเพณีทำบุญขอฝนจากพญาแถนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลบ้าง คนหรือวัวควายอาจเกิดป่วยเป็นโรคต่างๆ บ้างเป็นต้น และเมื่อทำบุญดังกล่าวแล้ว ก็เชื่อว่าฟ้าฝนจะอุดมสมบูรณ์ ประชาชนในหมู่บ้านนั้นจะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะมีอาหารข้าวปลาที่บริบูรณ์ทั้งปราศจากโรคภัยด้วย      “ ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนหกแล้วให้นำเอาน้ำวารีสรงโสก ฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สู่ภาย อย่าได้ละเบี่ยงบ้ายปัดป่ายหายหยุด มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า จงพากันทำแท้แนวคองฮีตเก่า เอาบุญไปเรื่อยๆ อย่าถอยหน้าหากสิเสีย”
     เดือนหกทำบุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา การทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝน และจะมีงาน บวชนาคพร้อมกันด้วย การทำบุญเดือนหกเป็นงานสำคัญก่อนการทำนา หมู่บ้านใกล้เคียงจะนำ เอาบั้งไฟมาจุดประชันขันแข่งกัน หมู่บ้านที่รับเป็นเจ้าภาพจะจัดอาหาร เหล้ายามาเลี้ยงโดยไม่คิด มูลค่า เมื่อถึงเวลาก็จะตั้งขบวนแห่บั้งไฟและรำเซิ้งออกไป ณ ลานที่จุดบั้งไฟ การเซิ้งจะกระทำด้วย ความสนุกสนาน ไม่มีการทะเลาะวิวาท คำเซิ้งและการแสดงประกอบจะออกไปในเรื่องเพศ แต่ก็ไม่ ถือสาหรือคิดเป็นเรื่องหยาบคายแต่อย่างใด (ไปชมประเพณียิ่งใหญ่นี้ได้ที่จังหวัดยโสธร ช่วงต้น เดือนพฤษภาคมของทุกปี) ส่วนการทำบุญวิสาขบูชานั้น ก็มีการทำบุญเลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ช่วงเย็น มีการเวียนเทียนเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ
     โดยการเอาขี้เจีย(ดินประสิว) มาประสมคั่วกับถ่าน โขลกให้แหลกเรียกว่าหมื่อ (ดินปืน) เอาหมื่อใส่กระบอกไม้ไผ่อัดให้แน่น แล้วเจาะรูใส่หางเรียกว่าบั้งไฟ การทำบุญมีให้ทาน เป็นต้น เกี่ยวกับการทำบ้องไฟ เรียกว่า บุญบั้งไฟ กำหนดทำกันในเดือนหก

 

 

"ฮีตหนึ่งนั้นพอเถิงเดือนหกแล้ว
ให้นำน้ำวารีสรงโสดฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สู่ภาย
อย่าได้ละเบียงบ้ายปัดเป่าหายหยุด
มันสิเสียศรีต่ำไปเมื่อหน้า
จงพากันทำแท้แนงคองฮีตเก่า
เอาบุญไปเรื่อง ๆ ไปหน้าอย่าถอย"

พญาคันคากจึงท้าสู้รบกับพญาแถน หากพญาแถนแพ้ต้องส่งฝนลงมาให้โลกมนุษย์เป็นประจำทุกปี ผลการสู่รบปรากฏว่าพญาแถนแพ้พญาคันคาก เพราะพญาคันคากใช้แผนส่งปลวกขึ้นไปกัดด้ามอาวุธ ส่งมด ตะขาบ ไปซ่อนอยู่ในรองเท้าและเสื้อผ้าที่จะออกรบของพญาแถนและทหาร พญาแถนก็ยอมทำตามสัญญาแต่โดยดีแต่มีข้อแม้ว่าชาวโลกจะต้องจุดบั้งไฟขึ้นไปเตือนว่าต้องการฝนเมื่อใด ด้วยเหตุนี้ชาวโลกที่ต้องการน้ำดื่มน้ำใช้และน้ำเพื่อการเกษตรจึงได้ทำบั้งไฟจุดขึ้นไปขอฝนกับพญาแถนในช่วงก่อนฤดูทำนา คือประมาณเดือนหก ในช่วง เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ด้วยความเชื่อตามเรื่องเล่านี้จึงทำให้ชาวอีสานทำบั้งไฟทุกปีเพื่อเตือนพญาแถน

ก่อนจะถึงวันงานหรือวันเอาบุญ ชาวบ้านก็จะช่วยกันเตรียมงานกันอย่างสามัคคี ฝ่ายแม่ครัวก็เตรียมข้าวปลาอาหารไว้เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ฝ่ายช่างฟ้อนก็เตรียมขบวนรำไว้สำหรับแห่บั้งไฟ ฝ่ายผู้ชายที่เป็นช่างฝีมือก็ช่วยกันทำบั้งไฟและตกแต่งให้สวยงาม งานบุญบั้งไฟส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีพิธีกรรมทางศาสนาเท่าใดนักแต่บางแห่งก็มีพิธีทำบุญเลี้ยงพระบ้าง

ในวันโฮม ชาวบ้านก็จะมาตั้งขบวนเพื่อแห่บั้งไฟไปรอบ ๆ หมู่บ้าน เป็นงานบุญที่เน้นความสนุกสนานรื่นเริง ในขบวนจะมีการรำเซิ้งตามบั้งไฟ และบรรดาขี้เหล้าทั้งหลายก็จะร้องเพลงเซิ้งไปของเหล้าตามบ้านต่าง ๆ กาพย์เซิ้งอาจจะหยาบคายแต่ก็ไม่มีใครถือสากัน แต่กาพย์เซิ้งที่ใช้แห่ในขบวนมักจะเป็นประวัติและความเป็นมาของพิธีบุญบั้งไฟ

ส่วนในวันจุดบั้งไฟก็อาจจะเป็นอีกวันหนึ่งคือเป็นวันที่ชาวบ้านจะเอาบั้งไฟของแต่ละคุ้มแต่ละหมู่บ้านมาจุดแข่งกัน ถ้าของใครทำมาดีจุดขึ้นได้สู่งสุดก็จะชนะแต่ถ้าของใครแตกหรือซุก็ถือว่าแพ้ ต้องโดนลงโทษโดยการจับโยนลงโคลนหรือตมซึ่งเป็นที่สนุกสนานอย่างยิ่ง