มูลเหตุที่ทำ เรื่องเล่าเกี่ยวกับบุญซำฮะ
ฮีตที่ ๗ บุญซำฮะ หรือ บุญเดือนเจ็ด
บุญเดือนเจ็ด บุญซำฮะ

 

"ฮีตหนึ่งนั้นพอเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช
ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูชาแท้สู่ภาย
ตลอดไปยอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสักข์
ทั้งหลักเมืองสู่หน บูชาเจ้า
พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า
นิมนต์สังฆเจ้าชำระแท้สวดมนต์
ให้ฝูงคนเมืองนั้นทำกันอย่าได้ห่าง
สูตรชำระเมืองอย่าค้าง สิเสียเศร้าต่ำศูนย์
ทุกข์สิแล่นวุ้นโฮมใส่เต็มเมือง
มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เศร้า
ให้เจ้าทำตามนี้คือเฮาได้บอกกล่าว
จึงสิสุขอยู่สร้างสวรรค์ฟ้าเกิ่งกัน
แม่นทุกข์ฮ้อนหมื่นซั้นบ่มีว่าสิมาพาน
ปานกับเมืองสวรรค์สุขเกิ่งกันเทียมได้"
 

 

ประเพณีบุญเดือนเจ็ดหรือบุญซำฮะเป็นงานบุญที่ชาวอีสานจะจัดงานประเพณีขึ้น
มีจุดประสงค์เพื่อ ปัดรังควานและขับไล่เสนียดจัญไร
ตลอดถึงเหล่าภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้าน

คำว่า ซำฮะ ก็คือ ชำระ ที่หมายที่การ ล้างให้สะอาด

บุญซำฮะ อาจจะเรียกว่าเป็นบุญเบิกบ้าน หรือ บุญบ้าน
ซึ่งในงานบุญนี้นอกจากจะทำพิธิขับไล่สิ่งชั่วร้ายแล้ว
ยังต้องมีการทำพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง
เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่หมู่บ้านและประชาชน

 

ด้วยความเชื่อตามตำนานอันนี้ชาวอีสานจึงได้จัดให้มีประเพณีบุญซำฮะขึ้นในเดือนเจ็ดเป็นประจำทุกปี

ในการจัดงานบุญซำฮะหรือบุญเบิกบ้าน
ชาวบ้านจะทำบริเวณพิธีด้วยการนำต้นกล้วยมาสี่ต้นทำเป็นเสา
ผูกยึดด้วยสายสิญจ์ และจะมีการโยงสายสิญจ์ไปยังบ้านทุกหลังในหมู่บ้าน
แล้วนิมนต์มาเจริญพระพุทธมนต์
นอกจากนี้จะมีการนำหินเข้าพิธีเมื่อปลุกเสกแล้วพระหรือพราหมณ์ก็จะนำหินที่ปลุกเสกไปว่านทั่วหมู่บ้าน เพื่อปัดรังควาน

ในปัจจุบัน บางหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่
ชาวบ้านจะนำหินใส่ถุงเขียนชื่อเมื่อเสร็จพิธีก็จะมารับกลับไปว่านที่บ้านของตนเอง

บ้างก็นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านของตนไปสูตร หรือ ปลุกเสก

เรื่องเล่าเกี่ยวกับบุญซำฮะ
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ณ เมืองไพสาลี
เป็นยุคเข็ญ เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง ฟ้าฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
สรรพสิ่งต่างก็พากันเจ็บป่วยล้มตาย ด้วยโรคห่า หรือ อหิวาตกโรค
ชาวบ้านที่ยังมีชีวิตอยู่จึงไปนิมนต์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมาปัดเป่าทุกข์ภัย
พระพุทธองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับพระสงฆ์จำนวน 500 รูป กว่าพระองค์จะเดินทางมาถึงเมืองไพสาลีก็ใช้เวลานานถึง 7 วัน
เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงพร้อมคณะสงฆ์ก็เกิดฝนห่าแก้วตกลงมาอย่างหนัก
จนน้ำท่วมเมืองไพสาลีสูงถึงหัวเข่า แล้วน้ำก็ไหลพัดพาเอาซากศพต่าง ๆ ลงสู่แม่น้ำจนหมดสิ้น
พระองค์จึงทำน้ำพระพุทธมนต์ให้พระอานนท์ไปประพรมทั่วเมือง
นับตั้งแต่บัดนั้นโรคร้ายก็สูญหายไปจากบ้านเมือง
     บุญซำฮะนิยมทำกันในเดือน ๗ จัดทำได้ทั้งข้างขึ้นและข้างแรมการชำฮะ(ชำระ) สะสาวสิ่งสกปรกโสโครกให้สะอาดปราศจากมลทิลโทษหรือความมัวหมอง เรียกว่า การซำฮะสิ่งที่ต้องการทำให้สะอาดนั้นมี 2 อย่างคือ ความสกปรกภายนอกได้แก่ร่งกาย เสื้อผ้า อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย และความสกปรกภายใน ได้แก่จิตใจเกิดความความโลภมากโลภา โกรธหลง เป็นต้น แต่สิ่งที่จะต้องชำระในที่นี้คือ บุญชำระล้างสิ่งที่เป็นเสนียดจัญไร อันจะทำให้เกิดข้าศึกมาราวีทำลาย เกิดผู้ร้ายโจรมาปล้นเกิดรบราฆ่าฟันแย่งกันเป็นใหญ่ผู้คนช้างม้าวัวควายล้มตายถือกันว่าบ้านเดือดเมืองร้อนชะตาบ้านชะตาเมืองขาด จำต้องซำฮะให้หายเสนียดจัญไร การทำบุญมีการรักษาศีลให้ทานเป็นต้นเกี่ยวกับการซำฮะนี้เรียกว่า บุญซำฮะ มีกำหนดทำให้ระหว่างเดือนเจ็ด จึงเรียกว่าบุญเดือนเจ็ด
     “ ฮีตหนึ่งนั้น พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูชาแท้สู่ภาย ตลอดไปฮอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสัก ทั้งหลักเมืองสู่หนบูชาเจ้า พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า นิมนต์สังฆเจ้าขำระแท้สวดมนต์ ให้ฝูงคนเมืองนั้นทำกันอย่าได้ห่าง สูตรชำระเมืองอย่าค้างสิเสีย เศร้าต่ำศูนย์ ทุกข์สิแล่นวุ่นๆ มาโฮมใส่เต็มเมือง มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เศร้า ให้เจ้าทำตามนี้ แนวเฮาสิกล่าว จึงสิสุขอยู่สร้างสวรรค์ฟ้าเกิ่งกัน ทุกข์หมื่นฮ้อยซั้นบ่มีว่าพาน ปานกับเมืองสวรรค์ สุขเกิ่งกันเทียมได้”
        เดือนเจ็ดทำบุญซำฮะ (ล้าง) หรือบุญบูชาบรรพบุรุษ มีการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน ปู่ตา ผีตาแฮก ผีเมือง เป็นการทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้มีพระคุณ