MENU
Banner

หน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์

หน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ (Biomedical Electronics and Systems Research Unit) เป็นหน่วยวิจัยภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มีพันธกิจในการดำเนินการวิจัยและพัฒนาด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีด้านการบริการที่เกี่ยวข้องแบบสหสาขาวิชา (Multidisciplinary) อย่างครบวงจร โดยมีเป้าหมายระยะสั้นในการผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์และระบบเชิงการแพทย์และสุขภาพของคนไทย ที่มีมาตรฐานและเหมาะสมกับประเทศ ตัวอย่างผลงานเช่นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับงานทันตกรรม (DentiiScan) เครื่องช่วยฟังดิจิทัล (P02 Digital Hearing Aid) ระบบตรวจวัดสุขภาพเบื้องต้นอัตโนมัติ (Self Service Health Check Kiosk) ระบบติดตามสุขภาพแบบองค์รวม (SizeThailand e-Health) และ ชุดซอฟต์แวร์วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น

หน่วยวิจัยมีแผนปฎิบัติการระยะยาว มุ่งเป้าหมายเพื่อเป็น Excellence Center ที่มีการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และระบบเชิงการแพทย์และสุขภาพร่วมกับเครือข่ายแบบครบวงจร โดยมีคุณภาพของงานเป็นที่ยอมรับ

หน้าที่ความรับผิดชอบ

วิจัยและพัฒนาด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีด้านการบริการที่เกี่ยวข้องแบบสหสาขาวิชาอย่างครบวงจร

กลยุทธ์การดำเนินงาน

หน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ มีกลยุทธ์ในการดำเนินงานที่สำคัญดังนี้

  • วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางด้านการแพทย์และสุขภาพ (medical/healthcare products and services) ที่ใช้โดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้ และแสดงความชัดเจนในคุณภาพของงานวิจัยของกลุ่ม (สร้าง visibility)
  • วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเกี่ยวกับสุขภาพที่ใช้โดยผู้บริโภคโดยตรง (consumer healthcare/wellness products and services) เน้นที่นวัตกรรมซึ่งแตกต่าง เพื่อสุขภาพของประชากรไทย สามารถก่อให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม (สร้าง impact)
  • สร้างความเข็มเข็งในองค์ความรู้ที่เป็นสหสาขาวิชา (multidisciplinary)ครอบคลุมกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และระบบทางการแพทย์อย่างครบวงจรตั้งแต่แนวคิด (concept) ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ (final product) (สร้าง relevant knowledge)
  • ใช้ความรู้ทางเทคโนโลยี เสริมการผลักดันเชิงนโยบายร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้เกิดการขยายผลการใช้งานผลิตภัณฑ์และระบบด้านการแพทย์และสุขภาพที่พัฒนาโดยคนไทย

ขีดความสามารถและความชำนาญ

หน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ มีความสนใจด้านเทคโนโลยี แบ่งตามขอบเขตความชำนาญของห้องปฎิบัติการวิจัยภายในหน่วยฯ ดังนี้

ผู้อำนวยการหน่วยวิจัย


ดร.พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา
E-mail: pasin.israsena@nectec.or.th

ห้องปฏิบัติการวิจัย

ติดต่อ

อีเมล : besru@nectec.or.th