MENU
Banner

สิทธิบัตร

อุปกรณ์และวิธีการควบคุมการวัดอุณหภูมิของวัตถุด้วยภาพรังสีความร้อน

การจับภาพความร้อนที่มีความแม่นยำสูงในสิ่งประดิษฐ์นี้ใช้วิธีการเทียบกับแหล่งกำเนิดรังสีความร้อนอ้างอิงที่ควบคุมได้ โดยการถ่ายภาพวัตถุด้วยกล้องที่ไวต่อความร้อน พร้อมๆ กับการถ่ายภาพความร้อนของแหล่งกำเนิดความร้อนอ้างอิง ทำให้สามารถหาค่าของอุณหภูมิของวัตถุได้แม่นยำกว่าวิธีการอื่นๆ ซึ่งไม่เป็นระบบปิด แหล่งกำเนิดรังสีความร้อนอ้างอิงเป็นได้ทั้งแบบชนิดเดี่ยว หรือ แบบอาร์เรย์ที่เรียงตัวกันในหนึ่งมิติ และ สองมิติ

ระบบตรวจตราความปลอดภัยชนิดบันทึกข้อมูลภาพแบบดิจิตอล

ระบบตรวจตราความปลอดภัยชนิดบันทึกข้อมูลภาพที่พัฒนาขึ้น เป็นระบบที่บันทึกภาพลง Hard disk ด้วยระบบดิจิตอล ทำให้สะดวกและได้ภาพที่มีคุณภาพคมชัด นอกจากนี้มีการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยเสริม Motion Detection, Digital Zoom และระบบการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การบันทึกภาพและการสืบค้นสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

อุปกรณ์สวิทช์ชิงเชิงแสงที่ควบคุมได้ชนิด 2×2 ที่ใช้เทคโนโลยีฟิลเตอร์กรองแสงแบบฟิล์มบางสำหรับเครือข่ายสื่อสารด้วยแสงชนิด Wavelength Division Multiplexing

อุปกรณ์สวิตชิ่งเชิงแสงที่ควบคุมได้ชนิด 2×2 ที่ประกอบด้วยไฟเบอร์ออพติคคอลลิเมเตอร์ และ ใช้การผสมผสานระหว่างการทำงานของฟิลเตอร์กรองแสงชนิดฟิล์มบาง และ กระจกเรียบสองหน้าในการทำหน้าที่ควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของสัญญาณแสงที่มีความยาวคลื่นแสงที่ต้องการ ฟิลเตอร์กรองแสงชนิดฟิล์มบางที่เลือกใช้ และ กระจกเรียบสองหน้าจะถูกควบคุมด้วยตัวควบคุมการเคลื่อนที่ที่ทำหน้าอย่างเป็นอิสระต่อกัน ส่งผลให้การจัดวางอุปกรณ์ทั้งสองทำได้ง่าย และ ความเร็วในการตอบสนองของสวิตช์ก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของกระจกเรียบสองหน้า หรือ ฟิลเตอร์กรองแสงชนิดฟิล์มบาง และ ชนิดของตัวควบคุมเท่านั้น นอกจากนี้แล้วลักษณะของการประดิษฐ์นี้ยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลของค่าสูญเสียที่ไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์สวิตชิ่งเชิงแสงแบบที่ใช้ฟิล์มบาง โดยการเลือกใช้ฟิลเตอร์กรองแสงชนิดที่มีฟิล์มกรองแสงสองด้าน และ ไม่มีฟิล์มกันแสงสะท้อนกลับ หรือ ใช้ฟิลเตอร์กรองแสงชนิดที่มีทั้งฟิล์มกรองแสงด้านหน้า และ ฟิล์มกันแสงสะท้อนกลับด้านหลังจำนวนสองชิ้นประกบเข้าหากัน โดยให้ด้านที่มีฟิล์มกันแสงสะท้อนกลับอยู่ติดกัน

กรรมวิธีการวิเคราะห์สัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนที่บันทึกด้วยอิเล็กโตรดชนิดปิดบนผิวหนัง

การตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลิ้น กล้ามเนื้อคอและขมับขณะเคี้ยวและกลืนด้วย อิเล็กโตรดชนิดปิดบนผิวหนัง แล้วนำสัญญาณไฟฟ้าของกล้ามเนื้อลิ้นและคอขณะกลืนที่บันทึกได้มา วิเคราะห์โดยการใช้แอลกอริทึ่มที่นำค่าเฉลี่ยสมบูรณ์ที่ได้จากการคำนวณค่าความชันของสัญญาณยกกำลัง q มาคูณกับค่าผลรวมแอมปลิจูดของความถี่ที่ j ถึง k Hz ที่ได้จากการคำนวณเพาเวอร์สเปคตรัมของสัญญาณ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้มาพล็อต จะได้รูปคลื่นที่แสดงการกลืนจริง (C-wave) รูปคลื่นที่แสดงการเตรียมกลืน (P-wave) และรูปคลื่นช่วยกลืน (A-wave) ซึ่งสามารถใช้วิเคราะห์ลักษณะการกลืนที่ปกติและที่ผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ