ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการพื้นฟูและอำนวยความสะดวก (Rehabilitation and Assistive Technology Laboratory: RHA) เป็นหนึ่งในห้องปฏิบัติการของหน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ มุ่งเน้นการพัฒนาอุปกรณ์และระบบเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพรวมถึงเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ในกลุ่มมุ่งเป้าคือผู้สูงอายุและผู้พิการ เน้นการพัฒนาที่มีนวัตกรรม มีมาตรฐาน และสามารถนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
พันธกิจ
ดำเนินการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยวามสะดวก เพื่อการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุและผู้พิการ มุ่งเน้นการร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีเข้าสู่ระบบบริการ และสร้างความเข็มแข็งทางวิชาการ โดยห้องปฏิบัติการวิจัยฯ มีแผนงานวิจัยใน 3 ด้านหลัก คือ
- เทคโนโลยีเพื่อการพื้นฟูสมรรถภาพทางพุทธิปัญญา (Cognitive Rehabilitation)
- เทคโนโลยีการพื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยิน (Auditory Rehabilitation)
- เทคโนโลยีด้านการพื้นฟูสมรรถภาพทางกายภาพ (Physical Rehabilitation)
เทคโนโลยีที่มีความชำนาญและสนใจ
ห้องปฎิบัติการวิจัยฯ มีประสบการณ์หรือความสนใจในกลุ่มเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ ระบบ และ บริการ ตามแผนวิจัยของหน่วย ดังต่อไปนี้
- Assistive auditory technology
- Rehabilitation robotics
- Brain computer interface/Cognitive neuroscience
- Wearable sensor/Body area network
- Bone conduction/Auditory perception
ตัวอย่างงานวิจัย
เครื่องช่วยฟังดิจิทัล P02
P02 เป็นอุปกรณ์การแพทย์สำหรับผู้สูญเสียการได้ยินเนื่องจากระบบประสาทรับเสียงเสีย โดยอุปกรณ์จะทำหน้าที่ขยายและปรับแต่งสัญญาณเสียงที่ได้รับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโดยใช้ตัวประมวลผลแบบ digital signal processor มีจุดเด่นที่ราคาประหยัด สามารถใช้แบตเตอรี่แบบชาร์จไฟใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมปรับตั้งค่าเครื่องช่วยฟังภาษาไทยเพื่อสะดวกต่อผู้ใช้งานในการปรับแต่ง ปัจจุบันได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้บริษัทเอกชน นำไปผลิตตามมาตรฐานเครื่องมือแพทย์สากล ได้รับเครื่องหมาย CE-Mark และให้บริการอยู่ในโรงพยาบาลมากกว่า 12 แห่งจากทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ INTIMA
ระบบหุ่นยนต์เพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย
ระบบ SEFRE/WEFRE ถูกออกแบบให้มีรูปแบบที่น่าใช้ ง่ายต่อการจัดการ และตอบสนองความต้องการของแพทย์ นักฟื้นฟูฯ และผู้ใช้งาน โดยระบบ SEFRE Rehab System เป็นนวัตกรรมที่สามารถฟื้นฟูข้อไหล่ ข้อศอก และแขนท่อนล่างได้ในระบบเดียวกัน ขณะที่ ระบบWEFRE Rehab System มีจุดเด่นที่ความสามารถในการเคลื่อนย้าย โดยสามารถฟื้นฟูข้อมือ แขนท่อนล่าง และข้อศอกได้ในระบบเดียวกัน ระบบหุ่นยนต์ทั้งสองสามารถรองรับการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ในหลากหลายรูปแบบตามสถานะความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของผู้ใช้ รวมถึงมีการป้องกันข้อยึดติด และยังสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ขณะที่ทำการฟื้นฟู เพื่อให้แพทย์สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ผลของการฟื้นฟูได้อีกด้วยบุคลากรและความสนใจ
ชื่อ - นามสกุล | ความสนใจ |
ดร. พศิน อิศรเสนา ณ อยุธยา | Signal processing systems for medical applications |
ดร. วินัย ชนปรมัตถ์ | Rehabilitation robotics |
นายสุวิชา จิรายุเจริญศักดิ์ | BCI, Machine learning |
นายอนุกูล น้อยไม้ | Embedded systems, Hearing aids |
ดร. สุรภา เทียมจรัส | Wireless Sensor Network |
ดร. ศิวัตม์ สายบัว | Sensors and systems |
นายธราพงษ์ สูญราช | Electronics hardware |
นายอภิชย์ เหมาคม (ลาศึกษา) | Digital Signal Processing |
นายสังวรณ์ สีสุทัศน์ | Electroacoustic measurements |
นายวิศรุต ทรัพย์ศรี | Gaming software |
ติดต่อ
ห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก (RHA)
Email: rha@nectec.or.th