ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบและข้อมูลสุขภาพ (Healthcare Systems and Data Analytics Lab : HDA) เป็นห้องปฏิบัติการหนึ่งในหน่วยวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และระบบทางชีวการแพทย์ (BESRU) ภายใต้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เป็นห้องปฏิบัติการที่เน้นภารกิจทางด้านการวิจัยและพัฒนาซอฟต์แวร์และบริการทางด้านระบบข้อมูลสุขภาพ เพื่อการวิเคราะห์ใช้ประโยชน์จากข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีหลักทางด้านHealth Informatics และ Data Analytics
วิสัยทัศน์
มุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี ระบบและบริการสำหรับจัดเก็บ บริหารจัดการและวิเคราะห์ใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ทางด้านสุขภาพอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และสามารถสนับสนุนการตัดสินใจจากข้อมูลได้ เพื่อส่งเสริมให้ระบบการให้บริการสุขภาพและสาธารณสุขมีประสิทธิผล เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการ และนำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย
พันธกิจ
- สร้างองค์ความรู้ในการจัดเก็บ เข้าถึง จัดการ และ ใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อภาคบริการสุขภาพและสาธารณสุขในประเทศไทย
- สร้างนวัตกรรมและประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งการให้บริการด้านการใช้และวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับ Best Practice ของภาคบริการสุขภาพและสาธารณสุข
- สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานและสถาบันการศึกษาภายในและต่างประเทศ
ผลงานวิจัยและพัฒนา
-
แพลตฟอร์มข้อมูลสุขภาพระดับประเทศ (Healthcare Data Analytics Platform)
รองรับมาตรฐานข้อมูลระดับประเทศ (หรือระดับนานาชาติ) ทุกระบบ โดยนำเข้า จัดเก็บและ ประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูล ผ่าน Data Analytics Platformกลาง เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบได้ และมีมาตรการทางด้าน Security และ Privacy
-
แอปพลิเคชันสำหรับการใช้ประโยชน์ข้อมูล (Healthcare Data Analytics Applications)
-
ระบบแสดงผลข้อมูลระหว่างสถานบริการภายในจังหวัด (Patient Health Information Exchange หรือ PHIE)
เป็นระบบแสดงผลข้อมูลสุขภาพรายบุคคลข้ามสถานบริการ เชื่อมโยงประวัติการรักษา ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รองรับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง (Continuity of Care) มีการวิเคราะห์ผลตาม Guideline ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพการให้บริการและลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการ รับทุนสนับสนุนจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
-
ระบบทะเบียนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง) (Non-Communicable Disease Management Information System หรือ NCDMIS)
เป็นระบบประมวลผลข้อมูลรายบุคคล วิเคราะห์ผล การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และรักษาตาม Guideline สำหรับโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง และมี Clinical Decision Support ช่วยวิเคราะห์โรคร่วมโรคแทรกซ้อน การได้รับยา การติดตามนัดหมาย และผลLab รับทุนสนับสนุนจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
-
ระบบรายงานข้อมูลสุขภาพ (Business Intelligence หรือ BI)
เป็นระบบรายงานข้อมูลสุขภาพ สำหรับสร้างและเผยแพร่รายงาน ข้อมูลสรุปกระดานตัวชี้วัดและการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพแบบหลายมิติ ที่ประมวลผลอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีฐานข้อมูลที่เหมาะสมมีข้อมูลผู้ป่วยนอกผู้ป่วยใน โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค รับทุนสนับสนุนจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
-
แอปพลิเคชันคุณลูก (KhunLook)
คุณลูก (KhunLook) เป็นแอปพลิเคชันบนมือถือและเว็บ (www.khunlook.com) เหมาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ช่วยในการดูแล ประเมิน และติดตาม การเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพลูกน้อย เก็บบันทึกภาพและข้อมูล การดูแลสุขภาพลูก การเจริญเติบโต ภาวะโภชนาการ พัฒนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันตามวัย และมีคำแนะนำจากกุมารแพทย์และทันตแพทย์
พัฒนาร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สนับสนุนทุนวิจัยโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
-
ระบบแสดงผลข้อมูลระหว่างสถานบริการภายในจังหวัด (Patient Health Information Exchange หรือ PHIE)
บุคลากร
- ดร.กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย (หัวหน้าห้องปฏิบัติการ)
- นางสาวกฤษณา นิธิเกตุกุล
- นางสาวกฤษณา สุริยศ
- นางสาวภัทรรัตน์ สงทุ่ง
- นายมังคลาภิรัตน์ จันทนกฤษ์
- นายกฤษณ์ พันธ์พฤกษ์
- นายธีระพงษ์ ขัตติยะวงศ์
ติดต่อ
ห้องปฏิบัติการวิจัยระบบและข้อมูลสุขภาพ (HDA)
อีเมล์: hda@nectec.or.th