เป็นวัดที่พญามังรายโปรดให้สร้างวัดกานโถมขึ้นในราวปี
พ.ศ. 1833 ประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
ด้านหลังมีอาคาร เชื่อมต่อออกไปมีลักษณะเป็นมณฑปหลังวิหารเป็นที่ประดิษฐานเอกสารพงศาวดาร
โยนก ฐาน
เจดีย์มีฐานกว้าง 12 เมตร สูง 18 เมตร ทำซุ้มคูหาสี่ทิศใช้พระพุทธรูปซ้อนเป็นสองชั้น
ชั้นล่างไว้พระพุทธรูป 4 องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืนองค์หนึ่ง
มีรูปอัครสาวกโมคัลลาน์ สารีบุตร และพระอินทร์ รูปนางธรณีไว้สำหรับพระพุทธ
รูปด้วย ตั้งอยู่ ในเขตท้องที่หมู่ที่ 11 ตำบล ท่าวังตาล วัดกานโถม
นอกจากนี้ในบริเวณวัดกานโถมยังมีต้นศรีมหาโพธิ์ที่ได้อัญเชิญเมล็ดจากเมืองลังกาในครั้งโบราณและหลักฐานทาง
โบราณคดีที่สำคัญ นอกจากพบพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชยจำนวนหนึ่งแล้วยังพบจารึกหินทรายสีแดงเป็น
อักษร ได้แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ อักษรมอญ อักษรที่มีลักษณะระหว่างอักษรมอญกับอักษรไทย
และอักษรสุโขทัย และ
ฝักขามรุ่นแรก ภายในวัดกานโถม (ช้างค้ำ) มีต้นโพธิ์ที่เก่าแก่
มีพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่เคารพสักการะและมีหอพญา
มังราย หรือ ศาลพญามังรายซึ่งเป็นที่สถิตของเทพ และเป็นที่เคารพสักการะของประชากรในละแวกนั้นมาตั้งแต่
โบราณ และวัดกานโถมนี้ เป็นวัดที่มีพระสงฆ์เข้าพรรษาอยู่ภายในวัด
และมีพุทธศาสนิกชนทำบุญ และร่วมทำ
กิจกรรมต่าง ๆ ในวันสำคัญ ๆ ทางศาสนาอยู่เป็นประจำ