" เวียงกุมกาม "  นามนี้เป็นสิ่งบ่งชี้ความสามารถของคนสมัยก่อน  ...
 


ลักษณะทางกายภาพเวียงกุมกาม
ร่องรอยของเวียงกุมกามปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลท่าวังตาล  อำเภอสารภี  จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีระยะห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ  5  กิโลเมตร ลักษณะ ที่ตั้งและรูปร่างของเวียงกุมกามนั้นจากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศและจากการสำรวจ
ร่องรอย ของคูน้ำคันดินที่เป็นกำแพงเวียงโบราณที่เหลืออยู่พบว่า  เวียงกุมกาม  มีผังเป็น รูปสี่ เหลี่ยม  ผืนผ้ามีความยาวประมาณ  850  เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออก เฉียงเหนือ  และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหล ไปทางด้าน ทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกาม จะตั้งอยู่บนฝั่ง ทิศตะ วันตก หรือฝั่ง เดียว กับเมืองเชียงใหม่ แต่เนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้ เวียงกุมกาม เปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ช่วงเวลาของการ เปลี่ยนแปลง กระแส น้ำ ดังกล่าวคาดว่าน่าจะอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 การเปลี่ยนแปลง ของกระแสน้ำครั้งนั้น ทำให ้เกิดน้ำท่วมเวียงกุมกามครั้งใหญ่จนเวียงกุมกามล่มสลาย และวัดวาอารามจมอยู่ใต้ดินทราย จน กลายเป็นเมืองร้างไปในที่สุด

ลักษณะภูมิประเทศ

     เป็นที่ราบจนถึงเกือบราบ พื้นที่ราบช่วงนี้จะกว้างขวางและเป็นที่ราบลุ่มต่ำน้ำท่วมถึงพื้นดิน
มีความ อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเป็นที่ราบดินตะกอนทับถม มีแหล่งน้ำสำคัยตามธรรมชาติ คือแม่น้ำ ปิง ไหลผ่านบริเวณที่ราบ จึงมีการตั้งถิ่นฐานกันมาแต่โบราณ
      พบการตั้งหมู่บ้านเรียงราย ไปตามร่องรอยทางน้ำเก่า โดยบ้านเรือนจะสร้างในที่สูงคือ บริเวณ ขอบลานตะพักลำน้ำ วัดและชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในอดีต จะมีลักษณะการตั้งหมู่บ้าน ในแนว เหนือ - ใต้ ตามร่องน้ำเป็นสายลงมาก
      สิ่งที่พบอยู่เสมอในการสำรวจชุมชนคือ ซากโบราณสถาน ซึ่งบางแห่งเหลือเพียงกองอิฐเท่านั้น ร่องรอยของหลักฐานทางวัตถุได้แสดงถึงความสืบเนื่องของชุมชนที่อยู่มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน
นอกจากการศึกษาที่ตั้งของเวียงกุมกามแล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชน เมืองโบราณ จำเป็นต้องศึกษาร่องรอยทางน้ำเก่า เนื่องจากจะทำให้ทราบถึงการตั้งถิ่นฐาน และความ เปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นจึง สมควรที่จะส่งเสริมให้มีการศึกษาค้นคว้ากันมากขึ้น


ร่องรอยทางน้ำเก่าของแม่น้ำปิง "ปิงห่าง"
      เดิมแม่น้ำปิงไหลไปทางเวียงกุมกาม โดยรวมเวียงกุมกามไว้ฟากเดียวกับเชียงใหม่ร่องรอยปิง ห่างปรากฏเป็นแนวขนานอยู่ทางด้านตะวันตกของถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน ตั้งแต่บ้านสัน คือลงไปถึงบ้านอุโมงค์ มีลักษณะลาดต่ำลงเป็นแอ่ง จึงสร้างอยู่บนพนังดินธรรมชาติของร่องปิงห่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีระดับสูงในแอ่งที่ราบน้ำท่วมถึง สภาพของปิง ห่าง แตกต่างกันมาก บางส่วนตื้น เขินมากและบางส่วนยังมีสภาพเป็นแม่น้ำอยู่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ร่องปิงห่างช่วงนี้มีสภาพเป็นแม่ น้ำ เพราะมีการขุดลอกปิงห่างอยู่เสมอ
     จากการศึกษาทั้ง "ปิงห่าง"และ"ปิงเก่า" ได้พบ ร่องรอยสาขาทางน้ำหลายสาย กระจายทั่วไป ในบริเวณเวียงกุมกามและใกล้เคียง นับว่าเป็นบริเวณที่ม ีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำ การเกษตรกรรม จึงเป็นชุมชนที่มีความสืบเนื่อง ตั้งแต่สมัยหริภุญไชยจนถึง ปัจจุบัน