" เวียงกุมกาม "  นามนี้เป็นสิ่งบ่งชี้ความสามารถของคนสมัยก่อน  ...

 



ความหมายของชื่อเวียงกุมกาม

      หลักฐานเก่าที่สุดที่กล่างถึงเวียงกุมกามคือ ศิลาจารึก วัดรพระยืน จังหวัดพระยืน เขียนเป็น อักษรไทย สุโขทัย คำว่า กุมกามอยู่ในด้านที่ 1 บันทัดที่ 31 เขียนว่ากูมกาม คำอ่านปัจจุบันคือ กุมกาม
      
กาม หมายถึง บ้านเมือง แต่ในการศึกษาครั้งแรกก็มิได้รู้ว่าเป็นอะไร แต่สันนิฐานจากเวียงอื่น ที่ลงท้ายด้วยคำว่ากาม คือ เวียงพุกาม ซึ่งในภาษา พม่า กามแปลว่า บ้านนั่นเอง
      
กุม หมายถึง รักษา เนื่องจากเป็นภาษาไทยยวนมีความหมายคล้ายกับคำว่า "คุม" ในภาษาไทย กลาง ซึ่งหมายความว่า ป้องกันรักษา คอยกำกับดูแล
      เพราะฉะนั้น เวียงกุมกาม หมายถึง รักษาบ้านเมือง


มูลเหตุกำเนิดเวียงกุมกาม

    เวียงกุมกามกำเนินขึ้นเพราะพญามังรายทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ แทนที่เมือง หริภุญไชย ด้วยความไม่พอใจในเมืองหริภุญไชย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียง ที่สร้างมาประมาณ 500 ปี มีขนาดเล็ก คับแคบไม่สามารถขยายเวียงได้ จึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวง ขึ้นใหม่ โดยให้ เมืองหริภุญไชย มีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนา ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็น ศูนย์กลางการค้า และการเมือง พญามังราย จะเลือกสร้างในเขตแอ่งที่ราบ เชียงใหม่ - ลำพูน โดยไม่กลับไป สร้างเมือง หลวงในเขต ที่ราบลุ่ม แม่น้ำกก ซึ่งอยู่ทางตอนบน ทั้งนี้ในที่เวียงกุมกาม เป็นที่ราบติดต่อกันไปเป็นผืนใหญ่ ที่สุดในภาคเหนือ จะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้นกับเมืองทางตอนใต้ได ้อย่างสะดวก


สาเหตุการย้ายเมืองหลวงจากเวียงกุมกามมาเชียงใหม่

     เชียงใหม่มีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เหมาะกว่าเวียงกุมกามกล่าวคือตัวเวียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ ระหว่าง เชิงดอยสุเทพ และแม่น้ำปิง ที่ตั้งลาดเทจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ลักษณะชัยภูมิ ของการตั้งเวียง เชียงใหม่ ตรงกับจารีตเดิม ของชาวไทยยวนที่ชอบตั้งคือให้ภูเขาอยู่ทาง ทิศตะวันตกของเวียง(หันหลังให้เขา) หนหน้าเขาน้ำ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ สายน้ำจากดอยสุเทพ ไหลลงมาหล่อเลี้ยงตัวเมืองเชียงใหม่ตลอดเวลาและในปัจจุบันหากเปรียบเทียบ ลักษณะ ทางกายภาพ ระหว่างเวียงกุมกามและเมืองเชียงใหม่จะพบว่าเวียงกุมกามมีข้อด้อยกว่าเชียงใหม่อย่างชัดเจน กล่าวคือ เวียงกุมกาม ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มต่ำ เป็นไปได้ว่าหลังจากสร้างเวียง กุมกาม แล้วประมาณ 2 - 3 ปีก็เริ่มเห็นข้อบกพร่องในจุดนี้ของ เวียงกุมกาม ครั้นพบที่ตั้งของเชียงใหม่ซึ่งเหมาะสมกว่า จึงย้ายมาสร้างในที่แห่งใหม่และการย้ายมาสร้างเชียงใหม่ มิใช่ เพราะเวียงกุมกามถูกน้ำท่วมใหญ่ แล้วจึงย้ายมาสร้างเวียงเชียงใหม่ ทั้งนี้ในหลักฐานทางธรณีวิทยา บ่งชัดว่า เวียงกุมกาม ถูกน้ำท่วม เพียงครั้งเดียว เมืองก็ล่มสลายลง ในสมัยพม่าปกครอง