หน้าแรก | กิตติกรรมประกาศ | วัตถุประสงค์ | บทคัดย่อ | ขั้นรวบรวมข้อมูล | ที่มาและความสำคัญ | อัตชีวประวัติสุนทรภู่ | ผลการศึกษา | สรุปผลการศึกษา | ทีมงาน
 
 
 
 
     
ถึงน้ำวลชลสายที่ท้ายย่าน เขาเรียกขานวัดโบสถ์ตลาดแก้ว
จะเหลียวกลับลับวังมาลิบแล้วี่ พี่ลับแก้วลับบ้านมาย่านบาง.

 

 
 
ท่าเรือพิบูลสงคราม1 ในอดีตคือท่าเรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ตลาดแก้ว

เส้นทางสายน้ำเจ้าพระยาหน้าตลาดแก้วเพื่อไปสู่ตลาดขวัญ

มัสยิดรี่ยาดิ๊สสุนัน มีความเก่าแก่เคียงคู่มากับตลาดแก้วอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
จากการเดินทาง ได้ติดตามหาที่ตั้งวัดโบสถ์และตลาดแก้ว ในบริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายู่ตรงไหน แต่มีผู้สันนิษฐานว่าคงอยู่แถววัดปากน้ำ ตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ในขณะที่สุนทรภู่แต่งนิราศพระบาท วัดโบสถ์ยังมีอยู่ แต่ปัจจุบันวัดโบสถ์ได้สูญหายไปแล้ว อยู่ใกล้กับวัดค้างคาว แต่ตลาดแก้วยังมีการเล่าขานกันว่าอดีตแถวนี้เคยมีตลาดน้ำค้าขายกันอย่างคับคั่ง ซึ่งตลาดแก้วมีคลองบางเขน ปากคลองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาใต้บ้านตลาดแก้ว ที่มีชาวบ้านจากคลองบางเขนนำของจากสวนออกมาขายกันทุกวัน ชาวบ้านบางคน ให้ข้อมูลว่าที่สุนทรภู่กล่าวถึงวัดโบสถ์อาจจะเป็นเพราะบริเวณนี้มีวัดอยู่มากมายทั้งของชาวไทยและชาวมุสลิม เช่น วัดปากน้ำ วัดพลับพลา วัดค้างคาว วัดเขมาภิรตาราม มัสยิดรียาดิ๊สสุนัน ซึ่งสุนทภู่เห็นวัดและโบสถ์หลายวัด จึงใช้คำควบความหมายว่าวัดโบสถ์ตลาดแก้ว
วัดปากน้ำ
วัดพลับพลา
วัดเขมาภิตาราม