หน้าแรก
|
กิตติกรรมประกาศ
|
วัตถุประสงค์
|
บทคัดย่อ
|
ขั้นรวบรวมข้อมูล
|
ที่มาและความสำคัญ
|
อัตชีวประวัติสุนทรภู่
|
ผลการศึกษา
|
สรุปผลการศึกษา
|
ทีมงาน
ที่มาและความสำคัญ
สุนทรภู่เป็นกวีเอกที่คนไทยควรภาคภูมิใจ เพราะท่านเป็นต้นแบบของการแต่งคำประพันธ์กลอนแปดที่ไพเราะ เล่นคำ เล่นสัมผัส และเปรียบเทียบได้อย่างเห็นภาพ คณะทำงานได้มีโอกาสศึกษาประวัติและผลงานของท่านจากการจัดกิจกรรมวันสุนทรภู่ และจากการเรียนในห้องเรียน โดยเฉพาะงานประพันธ์ประเภทนิราศ
คณะทำงานได้มีโอกาสศึกษานิราศพระบาท จากบทเรียนแล้วทำให้ ทราบว่า นิราศพระบาทเป็นนิราศเรื่องที่ 2 ของสุนทรภู่ เป็นการเดินทางโดยตามเสด็จพระองค์เจ้า ปฐมวงศ์ ไปนมัสการพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี ในนิราศพระบาทมีสถานที่ที่น่าสนใจติดตามประวัติความเป็นมา มีบทประพันธ์ที่อ่านแล้วมีความไพเราะ มีการเปรียบเทียบโดยการเล่นคำ เล่นอักษร เช่น
ถึงวัดเทียนถวายวัดใหม่ข้าม
ก็รีบตามเรือพระที่นั่งมากลางหน
ทุ่งละลิ่วทิวเมฆเป็นหมอกมน
สะพรั่งต้นตาลโตนดอนาถครัน
เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น
ระวังตนตีนมือระมัดมั่น
เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน
ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล
ถึงแม้สุนทรภู่จะจากไปด้วยร่างกาย และ ชีวิต แต่ผลงานการประพันธ์ของท่านยังคงความเป็นอมตะไม่มีวันตาย โดยเฉพาะสำนวนโวหาร ภาษิต คำคม ที่สอดแทรกคติสอนใจด้วยภาษาสวย นิราศพระบาทเป็นผลงานที่สอดแทรกประวัติชีวิตของท่านขณะที่มีอายุ 21 ปี ซึ่งการศึกษานิราศ พระบาทจะช่วยตอบคำถามช่วงชีวิตวัยรุ่นของท่านในเรื่องอุปนิสัยใจคอ ความรู้สึกและแนวคิด ตลอดจนได้มีโอกาสศึกษาคติ คำสอน ธรรมชาติ และเส้นทางสถานที่ขณะเดินทางและในที่สุดจะได้ทราบแนวคิดทรรศนะความคิดเห็นอย่างหลากหลายจากบุคคลต่าง ๆ ที่มีต่อนิราศพระบาท