|
มารดาเป็นพระนมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง คือ พระองค์เจ้าจงกล
บิดา มารดาแยกทางกัน มารดาแต่งงานใหม่ สุนทรภู่เรียนหนังสือกับพระที่วัดชีปะขาว
(วัดศรีสุดาราม) ต่อมาสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลังตั้งแต่ยังเด็ก
สุนทรภู่เมื่อรุ่นหนุ่มรักใคร่กับแม่จัน
ในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ และ
เป็นที่โปรดปรานของ รัชกาลที่ 2 จนได้รับตำแหน่ง ขุนสุนทรโวหาร
สุนทรภู่มีภรรยาอีกคนชื่อ นิ่ม
ในปี พ.ศ. 2364 สุนทรภู่ติดคุกเพราะเมาสุรา อาละวาด ทำร้ายผู้ใหญ่
ไม่นานก็พ้นโทษเพราะ มีความสามารถในเพลงกลอน
วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
สวรรคต สุนทรภู่ก็หมดวาสนา เพราะเคยมีเรื่องขัดเคืองเรื่องการแก้กลอนในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงต้องออกจากราชการ และ บวชเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณจำพรรษาที่วัดราชบูรณะ
ภายหลังเกิดอธิกรณ์กับพระในวัด จึงถูกขับออกจากวัด แล้วออกเดินทางไปกรุงเก่า
แต่งนิราศภูเขาทองขึ้น สุนทรภู่ลาสิกขาบทเมื่อปี พ.ศ.2385 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวอุปถัมภ์ให้ไปอยู่พระราชวังเดิม
ต่อมากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ทรงพระเมตตาอุปการะสุนทรภู่ด้วย กล่าวกันว่า
ชอบพระหฤทัยในเรื่องพระอภัยมณี จึงรับสั่งให้สุนทรภู่แต่งต่อ
นอกจากนี้สุนทรภู่ยังแต่งเรื่องสิงหไตรภพถวายกรมหมื่นอัปสรฯ
อีกเรื่องหนึ่ง แม้นสุนทรภู่จะอายุมากแล้วแต่ท่านยังรักในการเดินทางและแต่งกลอนเป็นที่สุด
ท่านได้แต่งนิราศอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร
สุนทรภู่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ในปี
พ.ศ.2394 ขณะที่ท่านมีอายุได้ 65 ปี แล้ว ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี
พ.ศ.2398 รวมอายุได้ 69 ปี
สำหรับนิราศพระบาท เป็นนิราศที่สุนทรภู่แต่งขึ้นจากประสบการณ์จริงในชีวิต
นับเป็นเรื่องที่ 2 รองจากนิราศเมืองแกลง เป็นผลงานของกวีหนุ่มอายุเพียง
21 ปี เมื่อตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปพระพุทธบาท ในปี พ.ศ.2351
พระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลัง ซึ่งผนวชอยู่
ณ วัดระฆังโฆสิตารามได้เสด็จฯ ไปทรงเวียนเทียนที่พระพุทธบาทในวันมาฆบูชาเมื่อเดือน
3 ปี พ.ศ. 2350 ซึ่งสุนทรภู่เป็นมหาดเล็กในพระองค์ก็ต้องตามเสด็จไปในครั้งนี้
ทั้ง ๆ ที่ยังมีเรื่องมีราวกับแม่จัน ไม่ทันได้คืนดี
|