Schedule

กำหนดการห้อง Ballroom

กล่าวรายงานโดย ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ปาฐกถาพิเศษโดย ดร. ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  คณะผู้บริหาร คณะสื่อมวลชน และผู้เข้าร่วมงานสัมมนา เยี่ยมชมงานนิทรรศการ และผลงานวิจัย

“Are we ready for creating captions on digital TV? ” ร่วมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคนพิการทางการได้ยิน เสวนาประเด็นโครงสร้างพื้นฐานเชิงเทคนิคและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พร้อมชมการสาธิตระบบต้นแบบบริการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงแบบทันเวลา และการประยุกต์เพื่อทำคำบรรยายแทนเสียงบนสื่อออนไลน์ เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกกลุ่ม

Meeting Room1

“Lexitron” เครื่องมือในการสร้างรากฐานความเป็นพจนานุกรม ที่บุคคลทั่วไปสามารถนำไปใช้อ้างอิงและต่อยอด สนับสนุนการเพิ่มความสามารถของบุคคลากร โดยยกระดับจาก Labour Worker สู่ Knowledge Worker

ร่วมเสวนาถึงอนาคตของการศึกษาไทยในยุคดิจิทัลเมื่องานวิจัยและพัฒนาระบบการศึกษาออนไลน์แบบเปิดเพื่อมหาชน (Massive Open Online Coursesหรือ MOOC) กับระบบคลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด (Open Educational Resources หรือ OER) เชื่อมโยงถึงกันกลายเป็นเครือข่ายทรัพยากรการศึกษามหภาค 

สะเต็มศึกษา (STEM Education) คือ แนวทางการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ได้แก่ ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี ความรู้ทางด้านวิศวกรรม และความรู้ทางคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต โดยวิชาดังกล่าวมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และความมั่นคงของประเทศ ทั้งยังส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21

Meeting Room2

ร่วมเสวนาเกี่ยวกับ “การสร้างธุรกิจใหม่ ด้วยเทคโนโลยี IoT” แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นตั้งแต่แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี IoT ด้วย แพลตฟอร์ม NETPIE การประยุกต์ใช้งานสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการแนวทางการลงทุนต่อยอดสู่ธุรกิจ  ปัจจุบัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) มีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของอุปกรณ์ หรือ “Things” ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบต่างๆ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมก็ต่อเมื่อมีบุคลากรร่วมกันเข้าใช้และพัฒนาการใช้งานในลักษณะต่างๆ เพื่อพัฒนาสู่ธุรกิจ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว โดยแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี IoT บนแพลตฟอร์ม NETPIE เหมาะกับทั้งผู้ประกอบการ ผู้วิจัยพัฒนา รวมถึงบุคคลผู้สนใจทั่วไป อันจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจสำหรับประเทศไทยและสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมได้ในอนาคต การนำเสนอและ Showcase ในครั้งนี้จะเป็นการให้มุมมองความคิดเห็นอย่างครบวงจร ตั้งแต่แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยี IoT ด้วย แพลตฟอร์ม NETPIE การประยุกต์ใช้งานสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงการแนวทางการลงทุนต่อยอดสู่ธุรกิจ ซึ่งสามารถใช้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลงานวิจัยพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการของไทยให้ตอบสนองความต้องการของตลาด และผู้บริโภค อย่างแท้จริง โดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลาย เวลา 10:30-12:00 น. Special Talk I “มุมมอง…การสร้างธุรกิจใหม่ ด้วยเทคโนโลยี IoT” เปิดมุมมอง […]

ร่วมเสวนากับเหล่านักพัฒนาผู้ใช้ NETPIE พร้อมไขข้อข้องใจอนาคตของนักพัฒนาไทยและการนำ IoT ไปใช้ต่อยอดสร้างธุรกิจ

การนำเสนอผลงานประดิษฐ์คิดค้นด้าน IoT ที่พัฒนาด้วย NETPIE ร่วม Vote ผลงานที่สนใจในแง่ความคิดสร้างสรรค์และน่าลงทุน

Meeting Room3

ระบบบูรณาการข้อมูลเกี่ยวกับการกำหนดพื้นที่เพาะปลูก กับ แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกออนไลน์ จะมีผลต่ออนาคต Smart Farm ของประเทศไทยอย่างไร?

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ได้มีความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับการผลิตเป็นอาหารเท่านั้น สัตว์น้ำสวยงามยังเป็นกลุ่มที่ทำรายได้จำนวนมหาศาลให้กับเกษตรกร ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เห็นความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพยายามคิดค้นวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ระบบ และอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีลักษณะภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรได้

ร่วมเสวนาถึงเส้นทางการวิจัยเทคโนโลยีแสงของเนคเทค การนำผลงานวิจัยเทคโนโลยีแสงไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนตัวอย่างเทคโนโลยีแสงที่กำลังก้าวเข้ามาในอนาคต ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ได้เริ่มมีการวิจัยด้านเทคโนโลยีแสงอย่างต่อเนื่องและยาวนานเป็นระยะเวลาเกือบ 3 ทศวรรษ เริ่มจากงานวิจัยเทคโนโลยีฮอโลแกรมจนถึงการพัฒนาปรับปรุงอุปกรณ์เชิงแสง เทคนิคเชิงแสงในการตรวจวัดตรวจสอบต่าง ๆ ของเนคเทคได้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมภายในประเทศอย่างกว้างขวาง อาทิ การเคลือบเลนส์แว่นตา การตรวจวัดหัวอ่านฮาร์ดดิสต์ การตรวจสอบผลผลิตทางการเกษตร และการตรวจสอบสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น ปัจจุบัน เทคโนโลยีแสงยังคงเป็นงานที่ท้าทายสำหรับนักวิจัยทั่วโลก การค้นพบใหม่ถูกนำไปพัฒนาต่อยอดในเชิงเทคนิคเพื่อรองรับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรม 4.0 มากมาย ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับทราบถึงเส้นทางการวิจัยเทคโนโลยีแสงของเนคเทค การนำผลงานวิจัยเทคโนโลยีแสงไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนตัวอย่างเทคโนโลยีแสงที่กำลังก้าวเข้ามาในอนาคตและทิศทางการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม อาทิ เทคโนโลยีแสงแบบใหม่ในหัวอ่านฮาร์ดดิสต์ และเทคโนโลยี TeraHertz (THz) เป็นต้น ผู้ร่วมเสวนา คุณธรณ์ ประจักษ์ธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยออพติคอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดร.กฤษฎา เสียงแจ้ว ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดร.กิตติพงศ์ […]

Meeting Room4

การพัฒนาเมืองธรรมดาให้กลายเป็น Smart City สามารถทำได้อย่างไร อะไรคือองค์ประกอบ? มาร่วมฟังประสบการณ์ของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่ได้มีส่วนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาร่วมแก้ปัญหา ตลอดจนการร่วมสร้าง Business Model เพื่อประโยชน์ของเมืองต่างๆ

การเสวนา Open Data and Big Data Analytics for E-Government ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริม และผลักดันการใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเปิดและข้อมูลขนาดใหญ่ จะมาช่วยถ่ายทอดให้เห็นถึงเป้าหมายและความก้าวหน้าในการพัฒนาระบบ ตลอดจนฉายภาพให้เห็นถึงข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่จะนำไปสู่การปรับปรุงการทำงานของภาครัฐตามแนวทางของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์

ในปัจจุบันเทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการพัฒนาภาคการเงินของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าเดิม