13:00 - 16:00 - การเสวนา เรื่อง เราเตรียมพร้อมในการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงในทีวีดิจิทัลแล้วหรือยัง?

“Are we ready for creating captions on digital TV? ” ร่วมรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคนพิการทางการได้ยิน เสวนาประเด็นโครงสร้างพื้นฐานเชิงเทคนิคและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พร้อมชมการสาธิตระบบต้นแบบบริการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงแบบทันเวลา และการประยุกต์เพื่อทำคำบรรยายแทนเสียงบนสื่อออนไลน์ เพื่อให้การเผยแพร่ข่าวสารเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทุกกลุ่ม

วงการสื่อสารมวลชนของประเทศไทยมีความตื่นตัวมากขึ้นในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เพื่อเอื้อสำหรับการเข้าถึงของประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก “ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่องการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนพิการ ให้เข้าถึงหรือรับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์” เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 ที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ต้องจัดให้มีรายการโทรทัศน์ที่มี บริการล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง เสียงบรรยายภาพ หรือบริการอื่นใด ตามสัดส่วนรายการที่เป็นข่าวสารหรือสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยเฉพาะเรื่องคำบรรยายแทนเสียงต้องมีสัดส่วนร้อยละ 40 และต้องจัดให้มีเพิ่มขึ้นจนถึงร้อยละ 60 ภายใน 5 ปี รวมเวลาตลอดทั้งวันเฉลี่ยแล้วต้องไม่น้อยกว่า 180 นาทีต่อวัน ทั้งนี้ให้ดำเนินการจัดบริการดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป

การจัดทำคำบรรยายแทนเสียงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันเพื่อให้ผลการดำเนินการสามารถตอบโจทย์การนำไปใช้ เพื่อให้ผู้ที่บกพร่องทางการได้ยินได้รับข้อมูลจากรายการโทรทัศน์เท่าเทียมกับผู้ที่ได้ยินเสียง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมือช่วยการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงในหลายๆ รูปแบบ ได้แก่ เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำแบบบันทึกล่วงหน้า และแบบทันเวลาหรือใกล้เคียงกับเวลาออกอากาศ ในการสัมมนาวิชาการครั้งนี้จะกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องในการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงให้เป็นไปตามข้อกำหนดและทันต่อเวลาในการนำไป ออกอากาศ ได้แก่ ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคนพิการทางการได้ยิน โครงสร้างพื้นฐานเชิงเทคนิค การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อจัดทำคำบรรยายแทนเสียง เครื่องมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำ เช่น เครื่องมือช่วยการพิมพ์เร็ว การใช้ระบบการรู้จำเสียงพูด เป็นต้น การบริหารต้นทุนการจัดบริการ ข้อท้าทายของการจัดบริการ รวมถึงการมีศูนย์บริการถอดความเสียงพูดเพื่อจัดทำคำบรรยายแทนเสียง

นอกจากนี้มีการสาธิตระบบต้นแบบบริการจัดทำคำบรรยายแทนเสียงแบบทันเวลา และการประยุกต์เพื่อทำคำบรรยายแทนเสียงบนสื่อออนไลน์ ดังตัวอย่างวิดีโอบนยูทูบ (youtube)

เวลา13.00-13.20 น.
“นโยบายระดับนานาชาติด้านการเข้าถึงการสื่อสารสาธารณะ และมาตรฐานด้านกิจการ โทรทัศน์”

ร่วมเสวนาโดย

  • นายมณเฑียร บุญตัน
    สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
    และประธานสมาคมสภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย

เวลา13.20-13.40 น.
“นโยบายของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการให้เข้าถึงหรือ รับรู้และใช้ประโยชน์จากรายการ ของกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2559 “

ร่วมเสวนาโดย

  • คุณตรี บุญเจือ
    ผู้อำนวยการ
    สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์

เวลา13.40-14.00 น.
“ความคาดหวังของกลุ่มผู้ใช้ และโอกาสทางธุรกิจ”

ร่วมเสวนาโดย

  • คุณวิทยุต บุนนาค
    นายกสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย

เวลา14.00-15.00 น.
“การเตรียมความพร้อมและประสบการณ์บริการคำบรรยายแทนเสียงในรายการโทรทัศน์ไทย”

ร่วมเสวนาโดย

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ไทยพีบีเอส
    และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำคำบรรยายแทนเสียง ไทยพีบีเอส

เวลา15.00-15.20 น.
“ศักยภาพของเทคโนโลยีการแปลงเสียงเป็นข้อความเพื่อจัดทำคำบรรยายแทนเสียง”

ร่วมเสวนาโดย

  • ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
    ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยวิทยาการสารสนเทศ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เวลา 15.20-15.40 น.
“ระบบคำบรรยายแทนเสียงแบบทันเวลา”

ร่วมเสวนาโดย

  • ดร.ณัฐนันท์ ทัดพิทักษ์กุล
    หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยและออกแบบนวัตกรรมที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เวลา15.40-16.00 น.
สรุปการเสวนา

ร่วมเสวนาโดย

  • อาจารย์วันทนีย์ พันธชาติ
    ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สถาบันเทคโนโลยีเพื่อคนพิการและผู้สูง อายุ
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ