หลังจากที่ผีเสื้อได้รับการผสมพันธุ์แล้ว
ผีเสื้อเพศเมียจะบินออกหาต้นพืชที่เหมาะสมเป็นอาหารของตัวหนอนที่จะฟักออกมา
ด้วยสัญชาตญาณพิเศษของผีเสื้อตัวเมีย เพียงการเตะปลายตีนสัมผัส กับใบพืชก็สามารถรู้ได้ทันทีว่าใช่ใบพืชชนิดที่ต้องการหรือไม่
ซึ่งผีเสื้อจะวางไข่กับใบไม้ที่เป็นอาหารของหนอนผีเสื้อเท่านั้น หนอนของผีเสื้อแต่ละชนิดจะกินใบพืชชนิดที่แตกต่างกันไป
ผีเสื้อส่วนใหญ่จะวางไข่ไว้ใต้ใบพืช แต่ก็มีผีเสื้อบางชนิดที่วางไข่บนใบพืช
ผีเสื้อบางชนิดที่หนอนกินใบหญ้าเป็นอาหารจะใช้วิธีบินเรี่ยๆกับป่าใหญ่แล้วปล่อยไข่ลงมา
โดยที่ตัวผีเสื้อไม่ต้องเกาะบนใบหญ้าเลย ผีเสื้อประเภทนี้จะวางไข่ครั้งล่ะมากๆ
เพื่อเผื่อไข่บางส่วนที่อาจเสียหาย ผีเสื้อกลางคืนมักวางไข่เป็นกลุ่มและมีขนจากลำตัวปกคลุมไว้
ขณะที่ผีเสื้อวางไข่จะขับสารเหนียวๆออกมาเพื่อให้ไข่ยึดติดกับใบไม้ ไข่ของผีเสื้อมีสี
รูปร่าง และขนาดที่แตกต่างกันไปตามวงศ์ ของผีเสื้อ ซึ่งมีหลายแบบด้วยกัน
ทั้งกลม แบน หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า
|
|
|
หนอน
|
|
หลังจากที่ผีเมื้อวางไข่ไว้แล้ว 5
10 วัน หนอนก็จะใช้ปากเจาะเปลือกไข่ให้แตกออกและเริ่มกินเปลือกไข่ของตัวเองเป็นอาหารมื้อแรก
( แต่จากการสังเกตพบว่า ผีเสื้อบางชนิดไม่ได้กินเปลือกไข่จนหมด จะกินเพียงครึ่งเดียวหรือ
2 ใน 3 ) ไม่มีคำยืนยันที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดหนอนถึงกินเปลือกไข่ตัวเองก่อน
นักวิทยาศาสตร์บางท่านสันนิษฐานว่าเปลือกไข่อาจมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของหนอนผีเสื้อ
หลังจากนั้นหนอนจะเริ่มกินใบพืชเป็นอาหารต่อไป
หนอนผีเสื้อบางชนิดไม่กินใบพืชเป็นอาหาร เช่น หนอนผีเสื้อดักแด้หัวลิง
(spalgis epeus) กินเพลี้ยเกล็ด หนอนผีเสื้อหนอนกินเพลี้ยธรรมดา (Milepus
chinensis) กินเพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อกระดำแถบเพศ (Allotinus leogoron)
กินเพลี้ยเกล็ดและเพลี้ยอ่อน หนอนผีเสื้อมอท (Lipsyra brassolis) กินตัวอ่อนของมดแดง
รูปร่างและสีสันของหนอนผีเสื้อมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดและวงศ์ของผีเสื้อ
หนอนของผีเสื้อกลางคืนส่วนใหญ่มีขนปกคลุมทั่วลำตัว
ในระยะที่เป็นตัวหนอนนี้ค่อนข้างเสี่ยงต่อการถูกนกหรือสัตว์อื่นๆจับกินเป็นอาหาร
หนอนบางชนิดจึงต้องพลางตัวให้กลมกลืนไปกับใบไม้ที่เกาะอยู่ บางชนิดมีต่อมกลิ่นที่สามารถปล่อยกลิ่นฉุนรุนแรง
ทำให้ศัตรูไม่กล้าเข้าใกล้ บางชนิดสามารถขยายส่วนหัวให้พองโตได้เพื่อข่มขู่ศัตรู
|
|
|
ลักษณะของหนอนผีเสื้อ
|
|
หนอนมีลำตัวเป็นปล้องๆ ส่วนหัวมีตาเดี่ยวอยู่ข้างละ6ตามีปากอยู่ด้านใต้
เป็นลักษณะแบบปากกัดกิน ( chewing )
ใกล้ขากรรไกรมีหนวดสั้นๆ 1 คู่ ทำหน้าที่สำหรับคลำหาทิศทางในการคืบคลาน
ใต้ปากมีรูขับของเหลวจากต่อมใย( spinneret ) เส้นใยที่ถูกขับออกมาจะแห้งและแข็งเมื่อสัมผัสกับอากาศ
หนอนจะใช้เส้นใยนี้รองลำตัวสำหรับการคืบคลานไปข้างหน้า
ถัดจากส่วนหัวเป็นปล้องอก 3 ปล้อง แต่ละปล้องมีขาที่มีปลายแหลม 1 คู่
มีเล็บเรียงเป็วงที่ปลายขา ถัดจากปล้องอกเป็น ปล้องท้องทั้งหมด ขาคู่อื่นๆในปล้องท้องเป็นขาเทียม
( prolegs ) มีปลายทู่ ไม่มีเล็บที่ปลายขา ส่วนใหญ่จะมีขาเทียม 4 5
คู่
หนอนจะหายใจผ่านทางช่องหายใจที่อยู่ด้านข้างของลำตัว( แบบ peripneustic
) เมื่อหนอนเจริญเติบโตได้ระยะหนึ่งก็จะลอกคราบ เนื่องจากผิวหนังของหนอนจะไม่ขยายตัวตามการเจริญเติบโตของร่างกาย
ตลอดช่วงของการเป็นหนอนจะลอกคราบประมาณ 4 6 ครั้ง หลังจากลอกคราบครั้งสุดท้าย
ผิวด้านนอกของลำตัวจะแข็งตัวเป็นเปลือกดักแด้เข้าสู่ระยะของดักแด้ต่อไป
(ดักแด้ของผีเสื้อกลางคืนบางชนิดเป็นเส้นใหญ่ที่พันรอบตัวเองไว้)
หนอนผีเสื้อมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ตัวแก้ว ตัวเขียวหวาน
บุ้ง ร่าน เป็นต้น
|
|
ดักแด้
|
|
ระยะที่เป็นดักแด้จะไม่มีการกินอาหารแต่อย่างใด
ผีเสื้อส่วนใหญ่อยู่ในดักแด้ประมาณ 10 15 วัน หากสภาพอุณหภูมิภายนอกไม่เหมาะสมอาจยืดเวลาออกไปอีก
ระหว่างนี้เนื้อเยื่อของตัวหนอนที่อยู่ภายในดักแด้จะย่อยสลายเกือบหมด
เหลือเพียงตุ่มเล็กๆ คู่หนึ่งตุ่มนี้จะเจริญเติบโตขึ้นมาใหม่จนกลายเป็นผีเสื้อตัวเต็มไว
ที่มีปีกพับยู่ยี่อยู่ภายในดักแด้ |
ตัวเต็มวัย
|
|
หลังจากครบระยะแล้วผีเสื้อจะใช้ขาดันให้เปลือกดักแด้แตกออกและขยับตัวออกมา
ขณะที่ผีเสื้อออกจากดักแด้ใหม่ๆยังบินไม่ได้ในทันทีต้องเกาะห้อยปีกลงด้านล่าง
เพื่อให้ปีกแห้งและกางออกเต็มที่จนมีความแข็งแรงพอจึงเริ่มบินออกหากิน
หนอนผีเสื้อที่ขาดแคลนอาหารเมื่อเป็นตัวเต็มไวอาจมีปีกที่พิการหรือกางออกไม่สมบูรณ์ได้
ผีเสื้อที่ออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัยที่สมบูรณ์ พร้อมจะผสมพันธุ์ได้ทันทีและจะไม่มีการเจริญเติบโตหรือ
เปลี่ยนแปลงรูปร่างอีกจนกระทั่งตาย |
|