|
|
|
|
|
|
|
รูปร่าง
|
|
รูปร่างของผีเสื้อ ประกอบด้วยลำตัวที่ไม่มีโครงกระดูกภายใน
เหมือนเช่นสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่จะมีเปลือกแข็ง ซึ่งเป็นสารจำพวกไคติน
(chitin) หุ้มอยู่ภายนอก เช่นเดียวกับแมลงอื่นๆ ในชั้นอินเซกตรา (Class
Insecta)
|
|
หนวด มี 1 คู่อยู่ระหว่างตาทำหน้าที่ในการดมกลิ่น
|
|
ตา ประกอบด้วยตา 2 ชนิด
คือตาเดี่ยว (ocelli) และตารวม (compound eyes) ตาเดี่ยวใช้ในการรับรู้ความมืดสว่าง
ส่วนตารวมประกอบด้วยเลนส์เล็กๆ หลายพันอัน ทำหน้าที่รับภาพที่เคลื่อนไหว
มีประสิทธิภายในการมองเห็นสูงมาก ตาของผีเสื้อมองเห็นสีได้มากกว่าตาของมนุษย์
เช่น สามารถมองเห็นรังสีอัลตราไวโอเลต (สีในคลื่นแสงระดับหนึ่ง) แต่จะเห็นรายละเอียดในระยะไกลได้ไม่ดี
|
|
ปาก เป็นท่อ (proboscis หรือ haustellum)
สำหรับดูดกินอาหารที่เป็นของเหลว เช่น น้ำหวาน ขณะที่ไม่ได้กินอาหาร ปากจะถูกม้วนเก็บเป็นวงกลมคล้ายขดลานนาฬิกา
ผีเสื้อบางชนิดไม่มีปากและไม่กินอาหาร โดยเฉพาะผีเสื้อกลางคืน
|
|
ปีก มี 2 คู่ คู่หน้าติดอยู่กับอกปล้องกลาง
คู่หลังติดอยู่กับอกปล้องที่สาม (ด้านที่ติดกับปล้องท้อง)
|
|
อก ประกอบด้วยปล้อง 3 ปล้องเรียงต่อกันรอยต่อระหว่างปล้องมองเห็นได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากมีเกล็ดและขนปกคลุม
มีขาติดอยู่ที่อกปล้องล่ะ 1 คู่
|
|
ท้อง ตอนปลายสุดของส่วนท้องที่มีอวัยวะเพศ
ที่มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันตามชนิดของผีเสื้อและจะผสมพันธุ์กันได้ เฉพาะผีเสื้อชนิดเดียวกันเท่านั้น
นักกีฏวิทยาจึงใช้อวัยวะเพศประกอบการจำแนกชนิดของผีเสื้อ
|
|
ลำตัว ลำตัวประกอบด้วยปล้องวงแหวนหลายๆปล้องเรียงต่อกัน
เชื่อมยึดด้วยเยื่อบางๆ เพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก มีเปลือกนอกแข็ง ภายในมีก้านแข็ง
(asophyses) เป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหว วงแหวนที่เชื่อมต่อกันเป็นลำตัวของผีเสื้อมีทั้งหมด
14 ปล้อง แบ่งออกเป็นส่วนหัว 1 ปล้อง ส่วนอก 3 ปล้อง และส่วนท้อง 10 ปล้อง
|
|
ขา เป็นข้อๆแบ่งออกเป็น
5 ส่วน ได้แก่ โคนขา ข้อต่อโคนขา ต้นขา ปลายขา และตีนตามลำดับ มีเล็บ 1 คู่ที่ปลายตีน
ขาคู่หน้าของบางชนิดหดหายไปบางส่วนเหลือเพียงส่วนที่เป็นโคนขาและต้นขาที่มีกระจุกพู่ขนปกคลุมอยู่
เช่น ผีเสื้อในวงศ์ผีเสื้อขาหน้าพู่
|
|
|