หน้าแรก | กิตติกรรมประกาศ | วัตถุประสงค์ | บทคัดย่อ | ขั้นรวบรวมข้อมูล | ที่มาและความสำคัญ | อัตชีวประวัติสุนทรภู่ | ผลการศึกษา | สรุปผลการศึกษา | ทีมงาน
 
 
 
 
     
ถึงบางหลวงทรวงร้อนดังศรปัก พี่ร้างรักมาด้วยราชการหลวง...
   
พี่เร่งเตือนเพื่อนชายพายกระโชก
ถึงสามโคกต้องแดดผึ่งแผดเผา
ให้รุ่มร้อนอ่อนจิตระอิดแรง เห็นมอญแต่งตัวเดินมากลางทาง...
   
ถึงวัดตำหนักพักพลพอเสวย แล้วก็เลยตามแควกระแสไหล
ทั้งน้ำลงน่าสลดระทดใจ โอ้น้ำไหลเชี่ยวยังมีเวลาลง
   

 
 

แม่น้ำเจ้าพระยาเส้นทางผ่านสามโคก

ศาลาธรรม วัดตำหนัก จ.ปทุมธานี

ทั้งบางหลวง สามโคก และวัดตำหนัก อยู่ในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน

ที่สามโคกสุนทรภู่ได้กล่าวถึงชาวมอญอาศัยอยู่ในบริเวณนี้จากการสืบค้นข้อมูล
ปัจจุบันบริเวณนี้มีชาวมอญอาศัยอยู่แม้ที่วัดตำหนักยังได้มีการกล่าวถึงตามประวัติดังนี้

“ วัดตำหนักอยู่ที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี สร้างเมื่อ พ.ศ.2352 ในสมัยรัชกาลที่ 2
โดยพวกมอญอพยพมาจากเมืองเมาะตะมะ เป็นผู้เริ่มก่อสร้างวัดและได้ขนานนามว่า ”วัดแพพะแต๊ะ” แปลว่าวัดพระพุทธบาทอาจหมายถึงพระพุทธบาทจำลองที่มีอยู่แต่เดิมก็ได้ เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดขอมหรือวัดใหญ่ รัชกาลที่ 3 เสด็จเมืองสามโคก และได้เสด็จประทับพลับพลาอยู่ที่วัดตำหนัก จึงเข้าใจว่าเริ่มใช้ชื่อนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดนี้มีอุโบสถเก่ากว้าง 7 เมตร ยาว 2 เมตร
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2000 ลักษณะเป็นรูปเรือสำเภา ไม่มีหน้าต่างมีประตูด้านหน้า1บาน ด้านหลัง 2บาน

จากข้อมูลมีข้อขัดแย้งในเรื่องชื่อวัด สุนทรภู่เดินทางในสมัยรัชกาลที่ 1 แต่ข้อมูลบอกว่าเรียกชื่อวัดตำหนักในสมัยรัชกาลที่ 3

อุโบสถเก่า รูปร่างคล้ายเรือ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2000
เจดีย์เก่าอยู่ในบริเวณวัดตำหนักเป็นปูชนียสถานที่แสดงความเก่าแก่ของวัดนี้
พระครูปทุม อัตถสุนทร ท่านเจ้าอาวาสวัดตำหนักได้กรุณาให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติของวัด
ขบวนของพระองค์เจ้าปฐมวงศ์และสุนทรภู่แวะรับประทานอาหารกันที่วัดตำหนัก ซึ่งเป็นการพักผ่อนระหว่างการเดินทาง ภูมิประเทศก็เห็นสมควรให้แวะพักกลางทาง เพราะร่มรื่น
ด้วยต้นไม้ดังที่ว่า ”ถึงวัดตำหนักพักพลพอเสวย”