ภาพนิ่ง PPT
ภาพนิ่ง 47
ชื่อพฤกษศาสตร์ Artocarpus heterophyllus Lamk.
ชื่อพื้นเมือง มะขนุน มะหนุน (เหนือ) หมักหมี้ (เพ็ชรบูรณ์) หนุน (ใต้) ขะนู (ของจันทบุรี) นะยอยซะ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) นากอ (มาเลเซีย ปัตตานี)
ขนุน เป็นไม้ผลเมืองร้อน มีปลูกหลายสายพันธุ์ เช่น ขนุนหนัง ขนุนละมุด ขนุดจำปาดะ เป็นต้น เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เติบโตเร็ว สูง 18 21 เมตร ใบ หนาหยาบ ยาวเรียบ ยาว 4 7 นิ้วหลังใบเป็นมัน ท้องใบเป็นขน ดอกช่อ ตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ใต้ต้นเดียวกัน แต่แยกกันอยู่คนละดอก ดอกออกตามต้นและกิ่งจำนวนมากก้านดอกยาว ดอกตัวเมียมีสีเขียวใหญ่กว่าดอกตัวผู้ เมื่อได้รับการผสมเกสรแล้วดอกตัวเมียจะเจริญเป็นผลแก่ภายใน 8 เดือนผลใหญ่รูปกลมหรือกลมยาวมีหนามแหลมสั้นรอบผล สีเขียวแกมเหลือง เนื้อเป็นยวง มีเมล็ดอยู่ภายในเกิดบนแกนกลางผล
ที่อยู่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ทั่วไปในอินเดีย แหลมทอง ลังกา มาเลเซีย พบตามบ้าน สวนทั่วไป
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ดที่เก็บมาซึ่งไม่ควรเก็บไว้นาน ควรเพาะภายใน 25 วัน การเพาะอาจเพาะในกะบะหรือแปลงเพาะล้างเมล็ดให้สะอาด ฝังเมล็ดลึก 3 5 ซม. ห่างกันราว 5 นิ้ว วัตถุที่ใช้เพาะนิยมใช้ขี้เถ้าแกลบดำ ทรายหยาบขนาดกลาง และดินผสมพืชวัตถุ รดน้ำอยู่เสมอ ไม่แฉะไม่แห้งเกินไป 2 3 สัปดาห์ จะเริ่มงอก เมื่อต้นสูง 3 - 4 นิ้วก็ย้ายไปชำจนอายุ5 6 เดือน จึงย้ายไปปลูกนอกจากนั้นยังขยายพันธุ์โดยการตอน ทาบกิ่ง หรือเทียบกิ่ง
ประโยชน์อื่น ๆ เนื้อไม้และแก่นนำมาทำเครื่องเรือนและเครื่องดนตรี ใช้เป็นอาหารเนื้อสุกรหวาน หอม บำรุงกำลังและชูหัวใจให้ชุ่มชื้น ยอกและผลอ่อน ใช้เป็นผักรสฝาดมัน กินเป็นผัก และปรุงเป็นอาหารอื่นๆ ยาง รสจืด ฝาด เผื่อนแก้อักเสบบวมแผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ขับพยาธิ ขับน้ำนม ใบ รสฝาดมัน รักษาหนองเรื้อรัง ใบสด นำมาต้มให้ละเอียด ผสมน้ำอุ่นพอกแผล ราก (ขนุนละมุด) รสหวานอมขมแก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้ธาตุกำเริบ ฝาดสมานบำรุงกำลังและบำรุงโลหิต
ส่วนที่ให้สี แก่นเรียกว่ากรัก และราก ให้สีน้ำตาลแกมเหลือง
การย้อมสี นำแก่นหรือรากมาผ่าแล้วสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำ 1 คืน นำมาต้มประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วกรองเอากากออก ใส่น้ำจากพืชที่มีรสเปรี้ยวและน้ำด่างลงไป ใส่เกลือ ใส่ผ้าที่เตรียมไว้ ใส่ลงไปในหม้อย้อมต้มต่อไป ประมาณ 30 นาที หรือดูจนกว่าจะได้สีที่ต้องการแล้วยกหม้อลงแช่ทิ้งไว้ให้เย็น