ภาพนิ่ง PPT
เหลือง แกแล (ไทยภาคกลาง) แกก้อง (แพร่, น่าน) แกล
แหร (ใต้) เข (นครราชสีมา สุรินทร์ ร้อยเอ็ด) ช้างงาต๊อก (ลำปาง)
เป็นไม้ประเภทเถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ ชอบเกาะพันกับต้นไม้อื่น ส่วนที่ทอดไปกับพื้นดินนั้น พวกนี้มักจะแตกรากขึ้น
เป็นพุ่มเตี้ย ๆ มีหนามแข็งแรงลักษณะคล้ายเดือยไก่
ชอบขึ้นอยู่ในป่าดงดิบ หรือป่าเบญจพรรณทึบ ป่าเบญจพรรณขึ้น หรือท้องที่มีความชุ่มชื้นมาก หรือ ตามบริเวณต้นน้ำลำ
ธาร ในท้องที่ต่างๆ ที่มีความชุ่มชื้นดี สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 800 ม.
ไม้ชนิดนี้ชอบสืบพันธุ์ทางเหง้า หรือแตกหน่อขยายออกจากต้นเดิมสามารถขุดมาพักฟื้น 3 4 เดือน แล้วนำไปปลูกได้
มันจึงขึ้นอยู่เป็นกลุ่มๆ ละหลายต้น เมื่อตัดแม่ไม้ หรือต้นใหญ่ออกแล้วต้นเล็กก็จะแตกหน่อออกมาจากตอที่ถูกตัดไป เพื่อให้ห่อแตกออก
มาได้งามดี ควรเหลือแม่ไม้ไว้ 1 ต้น เสมอไป เพื่อมันจะได้ช่วยเลี้ยงหน่อไม้ที่จะแตกขึ้นมาใหม่ ไม้เหลืองเป็นไม้โตช้า ปีหนึ่งวัดโดยรอบ
อายุและขนาดไม้ที่จะตัดฟันได้
มักเลือกต้นที่มีขนาดโตวัดรอบตั้งแต่ 35 ซม. ขึ้นไป ในกรณีที่ต้นสูง 10 12 ม. ซึ่งช่วงโคนต้นจะมีหนามกี่ จะต้องขึ้นตัด
ที่ปลายเถาเสียก่อน แล้วถึงลง ถ้าตัดที่โคนก่อนจะสางลงไม่ได้ เมื่อตัดแล้วทอนออกเป็นท่อนๆ ขนาดยาว 1 2 เมตร แล้วถากเปลือก
และกะพี้ออกเอาแต่แก่นไปใช้ทำประโยชน์ ไม้ขนาดวัดรอบ 35 ซม. เมื่อถากออกแล้ว
จะเหลือแก่นวัดรอบประมาณ 20 ซม. เป็นอย่างมาก
ไม้ที่มีขนาดต่ำกว่า 35 ซม. จะมีแก่นน้อย
ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้ทำประโยชน์
ตำรายาไทยใช้แก่นมีรสขมใช้ทำยา แก้ท้องร่วง บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ
เอาแก่นเขมาตากแดดให้แห้ง แล้วผ่าให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่หม้อต้มกับน้ำสะอาดจนเดือดจะเห็นว่าน้ำเป็นสีเหลืองเข้มๆ ยก
ลงกรองด้วยผ้าขาบางพักเก็บไว้ เอาชิ้นเขที่กรองออกมาต้มอีกครั้งหนึ่งจะได้สีอ่อนกว่าสีแรก ทำการต้มแบบนี้ 3 ครั้ง ตั้งแต่อ่อนสุดจนถึง
แก่สุด เมื่อได้สีตามต้องการเอาฝ้ายที่เตรียมไว้จุ่มลงในน้ำสีสุดท้ายก่อน (สีอ่อนสุด) กลับบ่อยๆ เพื่อให้น้ำสีดูดซึมเข้าไปในฝ้ายได้อย่างทั่ว
ถึง และไม่เป็นด่าง ยกลงจุ่มในน้ำสีที่ 2 และสีแรก ทำแบบเดียวกันจนครบ 3 หม้อ นำมาซักน้ำสะอาดจนสีไม่ตกแล้วบิดกระตุกตาก