เซต

ความหมายของเซต การเขียนเซต
ลักษณะของเชต ความสัมพันธ์ของเซต
สับเซต เพาเวอร์เซต
เอกภพสัมพัทธ์ แผนภาพของเวนน์-ออยเลอร์
ปฏิบัติการระหว่างเซต สัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับจำนวนต่าง ๆ ที่ควรทราบ


ปฏิบัติการระหว่างเซต (Operation between Sets)
ปฏิบัติการระหว่างเซต คือ การนำเซตต่าง ๆ มากระทำกันเพื่อให้เกิดเป็นเซตใหม่ได้ ซึ่งทำได้ 4 วิธี คือ
1. ยูเนียน (Union) ยูเนียนของเซต A และ B คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A หรือ B
เขียนแทนด้วย A B
2. อินเตอร์เซคชัน (Intersection) อินเตอร์เซคชันของเซต A และ B คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเซต A และ B
เขียนแทนด้วย A B
3. คอมพลีเมนต์ (Complement) คอมพลีเมนต์ของเซต A คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเอกภพสัมพัทธ์ แต่ไม่เป็นสมาชิกของ A
เขียนแทนด้วย A'
4. ผลต่างของเซต (Difference) ผลต่างของเซต A และ B คือเซตที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A แต่ไม่เป็นสมาชิกของเซต B
เขียนแทนด้วย A - B

= {1, 2, 3, ..., 20},      A = {1, 2, 3, 4, 5, 6},      B = {2, 4, 6, 8, 10, 12}

A B = {1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 10, 12}

A B = {2, 4, 6}

A' = {7, 8, 9, ..., 20}

B' = {1, 3, 5, 7, 9, 11, ...,20}

(A B)' = {7, 9, 11, 13, ..., 20}

(A B)' = {1, 3, 5, 7, ..., 20}

A - B = {1, 3, 5}

B - A = {8, 10, 12}


ที่มา : ทวี บุญช่วย , วารสารไฮเอ็ด ม.ปลาย (วิทย์), ปีที่ 1 ฉ. 1 พฤษภาคม 2539