2541_icon.gif

about_menu.gif (2483 bytes) school_menu.gif
(2483 bytes) education_menu.gif
(2483 bytes) cool_menu.gif
(2483 bytes) activity_menu.gif
(2483 bytes)
ท่านถาม...เราตอบ SchoolNet@1509
หากท่านต้องการสอบถามข้อมูลโครงการ SchoolNet@1509 สามารถสอบถามได้ที่ webmaster@school.net.th
  1. ทำไม SchoolNet ต้องจำกัดจำนวนผู้ใช้ ประเภทบัญชีการใช้งาน จำกัดเวลา และจำกัดจำนวนชั่วโมงการใช้งานต่อเดือน ?
  2. ทำไม SchoolNet ไม่ครอบคลุมทั้งโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ
  3. ทำไมบัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของ SchoolNet จึงใช้งานได้เพียง40 ชั่งโมงต่อเดือน
  4. โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet)คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอย่างไร มีเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนอย่างไร
  5. โรงเรียนจะเข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ?
  6. สำหรับโรงเรียนที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ SchoolNetโดยที่โรงเรียนไม่อยู่ในรายชื่อโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการคัดเลือก ให้เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการอย่างไร?
  7. สมาชิกจะต่ออายุบัญชีเดิมได้อย่างไร?
  8. สมาชิกสามารถช่วยประชาสัมพันธ์โครงการ SchoolNet@1509 และ NECTEC ได้อย่างไร?  
  9. จะทำอย่างไรเมื่อ Web Browser ไม่สามารถแสดง web page รายงานผลการใช้งาน,ตรวจสอบ status ,แก้ไขเปลี่ยนแปลง password หรือต่ออายุสมาชิก SchoolNet ได้ ?
  10. โรงเรียนจะขอเพิ่มบัญชี SchoolNet จะต้องทำอะไรบ้าง ?
  11. สมาชิกต้องการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบบัญชี,เปลี่ยนประเภทบัญชี หรือเปลี่ยนตารางเวลาจะต้องทำอย่างไร ?
  12. จะเริ่มต้นสร้างโฮมเพจได้อย่างไร?
1. ทำไม SchoolNet ต้องจำกัดจำนวนผู้ใช้ ประเภทบัญชีการใช้งาน จำกัดเวลา และจำกัดจำนวนชั่วโมงการใช้งานต่อเดือน ?
SchoolNet มีทรัพยากรค่อนข้างน้อย จึงจำเป็นต้องบริหารทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัดอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อโรงเรียน ทรัพยากรที่มีจำกัดนั้น ได้แก่ เบอร์โมเด็มติดตั้ง ณ 20 จังหวัดทั่วประเทศครอบคลุมทุกรหัสทางไกล จังหวัดละ 15 หมายเลข ติดตั้งในกรุงเทพฯ อีก 120 หมายเลข รวมทั้งสิ้น 420 หมายเลข ซึ่งหากต้องการรักษาคุณภาพการให้บริการในสัดส่วนที่ดี เช่น เบอร์โมเด็ม 1 เบอร์ ต่อผู้ใช้ 10 คน ระบบของ SchoolNet นี้ ก็สามารถรองรับผู้ใช้ได้ 4,200 คน การจำกัดประเภทบัญชีการใช้งานและช่วงเวลาใช้งานโดยเน้นใช้งานเวลากลางวัน ก็เพื่อให้ครูได้ใช้งานบัญชีอินเทอร์เน็ตร่วมกับนักเรียนที่โรงเรียนส่วนการจำกัดจำนวนชั่วโมงการใช้งานต่อเดือนก็wbr > อรักษาคุณภาพการให้บริการเป็นการรับประกันว่าสมาชิกสามารถติดต่อเข้าสู่ระบบได้ตลอดเวลาอย่างง่ายดาย การให้บริการโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพการให้บริการ ไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของระบบ ย่อมไม่เกิดประโยชน์ต่อครูและนักเรียนอย่างเต็มที่
2. ทำไม SchoolNet ไม่ครอบคลุมทั้งโรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชนทั่วประเทศ และให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบเต็มรูปแบบ ?
เนคเทค เป็นองค์กรที่มีบทบาทหลักในการสนับสนุนงานวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการขยายการให้บริการ SchoolNet ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียนทั่วประเทศจึงไม่อยู่ในขอบเขตความสามารถที่เนคเทจะดำเนินการได้ เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับเป็นงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่า เนคเทค ได้วางโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยของประเทศไทยแล้วในโครงการ ThaiSarn และ SchoolNet แต่การที่จะพัฒนาโครงการให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดและคุ้มค่ากับการลงทุนนั้นจำเป็นต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆ ได้เแก่ การพัฒนาด้านบุคลากร การพัฒนาด้านเนื้อหาข้อมูล ซึ่งต้องอาศัยงบประมาณและกำลังคนมหาศาล อีกทั้งต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งก็คือความพร้อมของโรงเรียน ความพร้อมในที่นี้ได้แก่ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม อุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ ตลอดจนความพร้อมด้านบุคลากร ในระยะยาว การที่จะขยายโครงการออกไปครอบคลุมทุกโรงเรียนทั่วประเทศก็ควรอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานที่ด ูแลเรื่องการจัดการศึกษาของประเทศอย่างกระทรวงศึกษาธิการและ ทบวงมหาวิทยาลัย มากกว่าเนคเทซึ่งเป็นหน่วยงานทางด้านเทคโนโลยี
3. ทำไมบัญชีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของ SchoolNet จึงใช้งานได้เพียง40 ชั่งโมงต่อเดือน?
ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทยมีทรัพยากรค่อนข้างจำกัดคือมีเลขหมายเพื่อโทรเข้าระบบได้จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 420 เลขหมาย ซึ่งเปิดให้บริการแก่โรงเรียนในโครงการได้ติดต่อเข้าสู่ระบบตลอด 24 ชม. จะเห็นว่า ด้วยจำนวนเลขหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ไม่สามารถให้บริการแก่โรงเรียนทั้งหมดในประเทศได้

หากพิจารณาในแง่ของการให้บริการแก่โรงเรียน จะเห็นว่าโรงเรียนมีช่วงเวลาทำการตั้งแต่ 6:00 น. - 18:00 น. (12 ชั่วโมง) ในวันจันทร์ - ศุกร์ คำถามก็มีอยู่ว่า เลขหมายจำนวน 420 เลขหมายที่มี ควรจะจัดบริการให้โรงเรียนอย่างไร

กรณีแรก หากให้บริการแบบไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนชั่วโมงการใช้งาน ไม่จำกัดเวลาในการเข้าใช้ระบบ สิ่งที่เกิดขึ้นคืออาจให้บริการได้เพียง 420 โรงเรียน และปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ การใช้งานส่วนตัว การแชร์กันใช้ และการใช้งานที่ไม่เกิดประโยชน์ อย่างการพูดคุยสนทนา หรือ การดึงข้อมูลด้านบันเทิง ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ อีกประการหนึ่งคือการใช้งานของโรงเรียนเป็นการเรียกใช้งานพร้อมๆกันในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการโทรไม่ติดในเวลาทำการหากมีจำนวนผู้ใช้มากเกินไป

ทางออกที่ดีกว่า คือการเกลี่ยให้โรงเรียนได้มีโอกาสเท่าๆ กันในการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตของ SchoolNet โดยในแต่ละโรงเรียนจะถูกกำหนดให้สามารถใช้งานบัญชีอินเทอร์เน็ตได้ 40 ชม.ต่อเดือน และใช้งานตามช่วงเวลาที่ได้กำหนดไว้ ตัวเลข 40 ชั่วโมง มาจากการคำวนโดยอาศัยตัวเลขจำนวนชั่วโมงที่โรงเรียนสามารถใช้งานได้ใน 1 วันคือ 12 ชม. (เป็นเวลาที่ครูและนักเรียนอยู่ที่โรงเรียน) จำนวนวันที่ใช้ได้ใน 1 เดือน (20 วัน) ดังนั้นจะได้ว่า จำนวนชั่วโมงรวมที่สามารถใช้งานได้คือ 240 ชม./เดือน ซึ่งเมื่อนำจำนวนชั่วโมงรวม (240 ชม./เดือน) และอัตราส่วนการใช้งาน 6 โรงเรียนต่อ 1 เลขหมาย (มาจากการตั้งเป้าไว้ 2,500 โรงเรียน เปรียบเทียบกับจำนวนเลขหมาย 420 เลขหมาย จะได้ ตัวเลข6 โรงเรียนต่อ 1 เลขหมาย) มาเฉลี่ยจะได้ว่าแต่ละโรงเรียน จะได้รับบัญชีอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าสู่ระบบ SchoolNetได้จำนวน40ชม./เดือนจะเห็นว่าการออกแบบการให้บริการ ดังกล่าวสามารถจัดบริการให้โรงเรียนได้จำนวนมากขึ้นคือ 2,500โรงเรียนซึ่งเป็นบริการที่มีคุณค่ากว่าเพราะการจำกัดเวลาการใช้งานควบ คู่กับนโยบายการติดตามและประเมินผลการนำไปใช้งาน เป็นการส่งเสริมให้โรงเรียนนำบัญชีที่ได้ไปทำประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนมากกว่า

อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่ง ที่เรียกได้ว่าเป็น "สื่อชนิดเสริม" เช่นเดียวกับโทรทัศน์ ไม่ใช่สื่อหลัก ดังนั้นการที่โรงเรียนรู้จักนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้งาน ในการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ย่อมเกิดประโยชน์มากกว่าการได้รับจำนวนชั่วโมงการใช้งานมากแต่ไม่รู้จักวิธีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

4. โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet)คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการอย่างไร มีเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียนอย่างไร?
กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของรัฐ สังกัดกรมสามัญศึกษาจำนวน 1,200 โรงเรียน โรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน จำนวน 300 โรงเรียน และโรงเรียนประถมศึกษา (ขยายถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น)สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 100 โรงเรียน นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครให้เข้าร่วมโครงการอีก 10 โรงเรียน ซึ่งรายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ แสดงไว้ที่ http://www.school.net.th/about/schools/

เกณฑ์ที่กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครใช้คัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการคือ เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมโมเด็มที่เตรียมไว้สำหรับใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างน้อย 1 เครื่อง และ โทรศัพท์สายตรง 1 เลขหมาย นอกจากนี้โรงเรียนยังไม่ได้เชื่อมต่อเป็นอินเทอร์เน็ตโหนมาก่อน

5. โรงเรียนจะเข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง ?
หากโรงเรียนได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครให้เข้าร่วมโครงการ (สามารถตรวจสอบได้ที่ รายชื่อโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ) สามารถดำเนินการ ดังนี้

(1) ติดต่อขอรับแบบเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่
- สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดทุกจังหวัด
- สำนักเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ โทรศัพท์ : (02) 6448150 โทรสาร : (02) 6446653 อินเทอร์เน็ต :
info@school.net.th
- แบบขอเข้าร่วมโครงการฯ จากเว็บไซด์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
http://www.school.net.th/schoolnet1509/k12_form.pdf กรุณาติดตั้งโปรแกรม Acrobat Reader
(2) ส่งแบบขอเข้าร่วมโครงการฯ พร้อมหลักฐาน ได้ที่ สำนักเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 73/1 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรสาร : (02) 6446653

6. สำหรับโรงเรียนที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการ SchoolNetโดยที่โรงเรียนไม่อยู่ในรายชื่อโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการคัดเลือก ให้เข้าร่วมโครงการจะต้องดำเนินการอย่างไร?
โรงเรียนที่ไม่อยู่ในรายชื่อโรงเรียนที่กระทรวงศึกษาธิการคัดเลือกให้เข้าร่วม แต่มีความประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะนำอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในโรงเรียน สามารถเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องมีเงื่อนไขขั้นต่ำ 3 ข้อคือ
(1) โรงเรียนมีความพร้อมในการใช้งานอินเทอร์เน็ต กล่าวคือ โรงเรียนมีโทรศัพท์สายตรง และเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมโมเด็ม ที่เตรียมไว้ใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะ
(2) โรงเรียนมีแผนการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในโรงเรียนที่ชัดเจน
(3) โรงเรียนมีไฟฟ้าใช้

โรงเรียนจะต้องทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ พร้อมแนบเอกสารแผนการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในโรงเรียน มาที่ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 73/1 ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรสาร : (02) 6446653

7. สมาชิกจะต่ออายุบัญชีเดิมได้อย่างไร?
ท่านสามารถต่ออายุบัญชีเดิมผ่านทางอินเทอร์เน็ตดังนี้
1. เปิดที่
http://www.school.net.th/renewal/
2. ใส่ชื่อบัญชี(Login) ในช่องชื่อ
3. ใส่รหัสผ่าน(Password)ในช่องรหัสผ่าน
4. คลิปุ่ม Submit จะแสดงหน้าถัดไป
5. กรุณาตรวจสอบข้อมูลโรงเรียนและข้อมูลครูผู้รับผิดชอบบัญชีอินเทอร์เน็ต
หากมีข้อมูลผิดพลาดกรุณาส่งรายละเอียดข้อมูลที่ต้องการแก้ไขมายัง
helpdesk@school.net.th
6. จากนั้นท่านสามารถต่ออายุสมาชิก โปรดลิที่"ท่านสามารถต่ออายุสมาชิก โปรดลิที่นี่"
จะแสดงหน้าถัดไปซึ่งแสดงว่าท่านได้รับการต่ออายุชั่วคราว 15 วัน
7. กรุณาส่งคำรับรองมายังศูนย์บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย 108 อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ชั้น 11 ถนนรางน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
8. อีก 2 สัปดาห์หลังจากท่านส่งคำรับรอง กรุณาตรวจดูผลการต่ออายุสมาชิก
ได้ที่
http://www.school.net.th/status/
8. สมาชิกสามารถช่วยประชาสัมพันธ์โครงการ SchoolNet@1509 และ NECTEC ได้อย่างไร?
โครงการ SchoolNet ขอความร่วมมือจากโรงเรียนช่วยประชาสัมพันธ์โครงการ SchoolNet (http://www.school.net.th) และศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (http://www.nectec.or.th) โดยการเพิ่มสัญลักษณ์ของ SchoolNet และ NECTEC เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหน้า Homepage ข้อมูลโรงเรียน ในบริเวณที่เหมาะสมเพื่อเชื่อมโยงข้อมูล มายัง Homepage ของ SchoolNet และ NECTEC
วิธีการใส่สัญลักษณ์ของ SchoolNet และ NECTEC เข้าสู่ Homepage ได้โดยการเพิ่ม html tag ดังนี้
1. เพิ่ม html tag สัญลักษณ์ของ SchoolNet
<a href="http://www.school.net.th/">
<img src="http://www.nectec.or.th/images/schoolnetlogo.gif">
</a>
2. เพิ่ม html tag สัญลักษณ์ของ NECTEC

<a href="http://www.nectec.or.th/">
<img src="http://www.nectec.or.th/images/nectec-logo.gif">
</a>
9. จะทำอย่างไรเมื่อ Web Browser ไม่สามารถแสดง web page รายงานผลการใช้งาน,ตรวจสอบ status ,แก้ไขเปลี่ยนแปลง password หรือต่ออายุสมาชิก SchoolNet ได้ ?
เนื่องจาก web page http://www.school.net.th/reports (รายงานผลการใช้งาน) , http://www.school.net.th/status (ตรวจสอบสถานะการใช้งาน), http://www.school.net.th/password (แก้ไขเปลี่ยนแปลง password) มี ระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลของ SchoolNet อยู่ ดังนั้นเมื่อ Browser เรียก web page เพื่อแสดงจะมีการเตือนเรื่องความปลอดภัยข้อมูลขึ้น เพื่อให้ Browser ยอมรับระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลนั้น ปัญหาการ แสดง web page เหล่านี้ ไม่ได้ จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
  1. สำหรับ Browser Internet Explorer version 3 จะไม่ยอมรับระบบรักษาความ ปลอดภัยของ SchoolNet จึงไม่สามารถเปิด web page เหล่านี้ได้ วิธีแก้ไข คือ การ Update Browser เป็น Internet Explorer version 4 ขึ้นไป หรือเป็น Netscape Communicator
  2. สำหรับ Browser Netscape เมื่อทำการยอมรับระบบรักษาความปลอดภัยแล้ว จะสามารถเปิด web page ได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง การยอมรับระบบรักษา ความปลอดภัยนั้นจะหมดอายุลง ทำให้ไม่สามารถแสดง web page ได้ วิธีแก้ไข สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.school.net.th/about/password.html#security
10. โรงเรียนจะขอเพิ่มบัญชี SchoolNet จะต้องทำอะไรบ้าง?
  • โรงเรียนมีสิทธิ์ได้รับ 3 บัญชี คือ บัญชีประเภทค้นหาข้อมูล 1 บัญชี และบัญชีประเภทเผยแพร่ข้อมูล 2 บัญชี
  • โรงเรียนที่ได้บัญชีไม่ครบ 3 บัญชี สามารถขอเพิ่มบัญชี SchoolNet ได้ โดยจัดหาครูผู้รับผิดชอบ ( ไม่ซ้ำกับครูผู้รับผิดชอบเดิม ) สามารถ download ใบสมัครได้ที่ http://www.school.net.th/about/index.html พร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ ส่งมาที่ ศูนย์บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย 108 อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น 11 ถนนรางน้ำ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ helpdesk@school.net.th
11.สมาชิกต้องการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบบัญชี,เปลี่ยนประเภทบัญชี หรือ เปลี่ยนตารางเวลาจะต้องทำอย่างไร?
สมาชิกที่ต้องการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบบัญชี สามารถทำได้ดังนี้
จัดทำเป็นหนังสือราชการ แจ้งรายละเอียดของผู้ที่รับผิดชอบบัญชีเดิม คือ ชื่อ-นามสกุลของเจ้าของบัญชีเดิม หมายเลขบัญชี (id), ชื่อบัญชี (username) และชื่อ-นามสกุลของผู้ที่จะมารับผิดชอบบัญชีใหม่ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ และเหตุผลในการขอเปลี่ยนชื่อผู้รับผิดชอบบัญชี ทั้งนี้ชื่อผู้ที่จะมารับผิดชอบบัญชีใหม่จะต้องไม่มีราชชื่อในการรับผิดชอบบัญชีที่โรงเรียนมีอยู่เดิม

สมาชิกที่ต้องการจะเปลี่ยนประเภทบัญชี สามารถทำได้ดังนี้
จัดทำเป็นหนังสือราชการ แจ้งรายละเอียดของประเภทบัญชีที่จะขอเปลี่ยนพร้อมทั้งชื่อ-นามสกุลของเจ้าของบัญชี หมายเลยบัญชี (id)เดิม, ชื่อบัญชี (username) เหตุผลในการขอเปลี่ยนประเภทบัญชี จากนั้นทำการสมัครใหม่โดยกรอกข้อมูลลงในใบสมัคร ข (ค้นหาข้อมูล ประเภทบัญชี A) หรือใบสมัคร ค (เผยแพร่ข้อมูล ประเภทบัญชี B) และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ

สมาชิกที่ต้องการจะเปลี่ยนตารางเวลาในการเข้าใช้งาน สามารถทำได้ดังนี้
เนื่องจาก SchoolNet ได้ทำการจัดสรรตารางเวลาในการเข้าใช้งานของสมาชิกทุกท่าน ให้สามารถใช้งานได้ดีไม่เกิดความล่าช้าในการเข้าถึงข้อมูล ดังนั้น จึงได้จัดความสัมพันธ์ระหว่างตารางประเภทค้นข้อมูลแบบ A กับตารางประเภทเผยแพร่ข้อมูลแบบ B
กรณีที่สมาชิกต้องการจะเปลี่ยนตารางเวลา ขอให้เลือกตารางเวลาการใช้งานประเภทค้นข้อมูลแบบ A (A1,A2,A3) เป็นหลัก จากนั้นจึงทำหนังสือราชการ แจ้งรายละเอียดของประเภทบัญชีที่ต้องการจะเปลี่ยนตารางเวลาการเข้าใช้งาน พร้อมทั้งชื่อ-นามสกุลของเจ้าของบัญชี หมายเลยบัญชี (id)เดิม, ชื่อบัญชี (username) เหตุผลในการขอเปลี่ยนตารางเวลา และแจ้งตารางเวลาใหม่ที่ต้องการใช้งาน พร้อมทั้งแนบเอกสารการสมัครใหม่โดยกรอกข้อมูลลงในใบสมัคร ข (ค้นหาข้อมูล ประเภทบัญชี A) หรือใบสมัคร ค (เผยแพร่ข้อมูล ประเภทบัญชี B) และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ

หมายเหตุุ กรณีที่โรงเรียนของสมาชิกมีบัญชีครบทั้ง 3 บัญชีแล้ว หากต้องการจะเปลี่ยนตารางเวลาการใช้งานบัญชีใดบัญชีหนึ่ง อีก 2 บัญชีที่เหลือจะต้องทำการเปลี่ยนตารางเวลาการใช้งานด้วย ดังนั้นสมาชิกจึงต้องทำการสมัครใหม่ทั้ง 3 บัญชี   โดยจัดทำเป็นหนังสือราชการแจ้ง ชื่อ-นามสกุลของเจ้าของบัญชี หมายเลยบัญชี (id)เดิม, ชื่อบัญชี (username) ประเภทของบัญชีที่ใช้งานอยู่ พร้อมทั้งแนนเอกสารการสมัครใหม่โดยกรอกข้อมูลลงในใบสมัคร ข (ค้นหาข้อมูล ประเภทบัญชี A) หรือใบสมัคร ค (เผยแพร่ข้อมูล ประเภทบัญชี B) และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรข้าราชการ

ส่งเอกสารทั้งหมดมายัง
ศูนย์บริการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เลขที่ 108 อาคารบางกอกไทยทาวเวอร์ ชั้น 11
ถนน รางน้ำ แขวงพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ helpdesk@school.net.th

12. จะเริ่มต้นสร้างโฮมเพจได้อย่างไร?
  1. ศึกษาคู่มือการสร้าง Web Page ด้วย HTML Tag ทั่วไป และคู่มือการสร้าง web page ภาษาไทยที่   http://www.school.net.th/web-guide/
  2. บัญชีที่จะฝากข้อมูลยังเครื่องบริการของ SchoolNet ได้ ต้องเป็นบัญชีประเภทเผยแพร่ข้อมูล (B)    ศึกษาคู่มือการฝากข้อมูลบนเครื่องบริการ SchoolNet โดยใช้โปรแกรม Cute FTP ที่ http://www.school.net.th/support/cuteftp.php3
  3. ตรวจสอบผลการฝากข้อมูลที่เครื่องบริการ user.school.net.th ได้โดยโปรแกรม Browser พิมพ์ URL เป็น http://user.school.net.th/~<username ของผู้ใช้ประเภทเผยแพร่ข้อมูล> หากพบปัญหาการแสดงผล font ภาษาไทย การแสดงรูปภาพ และการเชื่อมโยงระหว่าง web page ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาได้ที่ http://www.school.net.th/web-guide/#netscape-prob

Home | About | Thai School | Interesting | Education | Activity
NTL | NITC | NSTDA | NECTEC | Internet Thailand

Contact: SchoolNet Webmaster
SchoolNet Thailand is served and managed by
Network Techonology Laboratory (NTL)
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright ? 1997 by Network Technology Laboratory of NECTEC. All Rights Reserved.

ข้อมูลภาษาไทยในหน้านี้ผ่านการ ตัดคำโดย บริการตัดคำสำหรับโฮมเพจภาษาไทย