2541_icon.gif

about_menu.gif (2483 bytes) school_menu.gif (2483 bytes) education_menu.gif (2483 bytes) cool_menu.gif (2483 bytes) activity_menu.gif (2483 bytes)

ข้อมูลสำหรับการพัฒนาโฮมเพจสำหรับโรงเรียนในโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย

คำแนะนำทั่วไป
  1. ไม่ควรแทรกภาพที่มีขนาดใหญ่มากลงไปในโฮมเพจ เนื่องจากผู้ใช้บางท่านอาจจะดูโฮมเพจ ผ่านทางโมเด็ม ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เสียเวลาในการ Download ข้อมูล
  2. ในการแทรก Audio หรือ Video clip เพื่อให้ Download ใน โฮมเพจของท่าน ท่านควรจะแจ้งขนาดของไฟล์ ให้ผู้ใช้ทราบเสมอ
  3. การตั้งชื่อไฟล์ HTML ควรจะใช้ตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมด ไม่ควรที่จะใช้ตัวใหญ่หรือตัวเล็กปะปนกัน เพราะจะทำให้ผู้ใช้สับสนและเข้าถึงข้อมูลได้ยาก หรืออาจจะเข้าถึงข้อมูลไม่ได้เลย เนื่องจากปัญหาของการเชื่อมโยงไฟล์ข้อมูล
  4. ในกรณีที่ท่านต้องการ ป้องกันการลอกเลียนบทความ, ข้อความหรือรูปภาพของท่าน ท่านควรจะใส่ Copyright © ลงในโฮมเพจของท่าน


รูปแบบของชื่อไฟล์
ชื่อไฟล์สามารถประกอบด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ และตัวเลขผสมกันได้ โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษจะต้องใช้ตัวอักษรตัวเล็กทั้งหมด นอกจาก นี้ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ผู้ดูเข้ามาพบเป็นไฟล์แรกในแต่ละไดเรกทอรีย่อยนั้นๆ
จะต้องตั้งชื่อว่า "index.html" (ไม่ใช่ "index.htm") ทั้งนี้ เนื่องจาก หากผู้ดูไม่กำหนดชื่อไฟล์ในโปรแกรม browser ไฟล์ที่ชื่อ "index.html" ในไดเรกทอรีย่อยนั้นจะถูกเปิดขึ้นอ่านเป็นไฟล์แรกโดยอัตโนมัติ และหากในไดเรกทอรีย่อยนั้นไม่มีไฟล์ชื่อ index.html โปรแกรม browser จะแสดงชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเรกทอรีย่อยนั้น ซึ่งทำให้ผู้ดูเห็นไฟล์ข้อมูลทั้งหมดในไดเรกทอรีย่อยนั้น ๆ   ไฟล์โฮมเพจเวอร์ชันภาษาไทยควรตั้งชื่อด้วยรูปแบบ "ชื่อไฟล์".th.html เช่น ท่านมีไฟล์โฮมเพจเวอร์ชันภาษาอังกฤษชื่อ index.html ไฟล์โฮมเพจเวอร์ชันภาษาไทย
ควรมีชื่อว่า index.th.html เพื่อให้การตั้งชื่อไฟล์เป็นระบบเดียวกัน และเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขของท่านเอง


การกำหนด title ของแต่ละหน้า
การกำหนด title ของแต่ละหน้าโฮมเพจจะต้องกำหนดเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น เพื่อให้ Search Engine เช่น AltaVista, Web Crawler และอื่น ๆ สามารถค้นพบโฮมเพจของหน่วยงานได้ เพราะ Search Engine เหล่านี้ไม่สามารถเข้าใจรหัสภาษาไทยได้ การกำหนด title เพื่อให้ถูกค้นพบโดย Search Engine ดังกล่าวได้ง่าย จะต้องกำหนดด้วยรูปแบบดังนี้
<TITLE>Thailand : SchoolNET : "ชื่อโรงเรียน" : "ชื่อเรื่องของโฮมเพจหน้านั้นๆ"</TITILE>


การตัดคำภาษาไทย
หลายท่านคงแปลกใจว่าการตัดคำคืออะไร และจำเป็นอย่างไรในการสร้างโฮมเพจภาษาไทย เนื่องจากโปรแกรมจำพวกเว็ปบราวเซอร์เช่น Netscape หรือ IE คนไทยเราไม่ได้เป็นคนสร้างดังนั้นการแสดงผลภาษาไทยนั้นจึงมีปัญหาเล็กน้อย เนื่องจากการเขียนภาษาไทยของเรานั้นแตกต่างจากภาษาอังกฤษ ตรงที่คำในภาษาอังกฤษนั้นเวลาเขียนจะเว้นวรรคระหว่างคำเสมอ ในขณะที่คำในภาษาไทยจะเขียนติดกัน ดังนั้นจึงเกิดปัญหาในการตัดบรรทัดของข้อความ ซึ่งสำหรับภาษาไทยแล้ว จะทำให้โปรแกรมเวปบราวเซอร์แสดงข้อความ แบบไม่มีการตัดบรรทัดจนกว่าจะเจอเว้นวรรค ท่านลองดูตัวอย่างของโอมเพจทั้งสอง เพื่อเปรียบเทียบจะได้เห็นปัญหาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

ซึ่งปัญหาเหล่านี้เราสามารถแก้ได้โดยใช้โปรแกรมตัดคำผ่าน WWW ที่ทาง NECTEC ได้จัดบริการไว้หรือท่านอาจจะ Download โปรแกรมตัดคำไปใช้งานบนเครื่องของท่านก็ได้ โปแกรมตัดคำจะทำการแทรก HTML tag " " ลงไประหว่างคำภาษาไทยซึ่งโปรแกรมเวปบราวเซอร์จะมองเห็น tag ดังกล่าวเสมือนเว้นวรรคทำให้การแสดงผลและการตัดบรรทัดถูกต้องขึ้น อย่างไรก็ตามการแทรก tag ก็ทำให้ขนาดของไฟล์เพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งเท่าตัว ดังนั้นในกรณีที่เรามีข้อมูลมาก เราก็ไม่ควรจะพิมพ์ข้อมูลทั้งหมดให้อยู่ในไฟล์เดียวกัน เราอาจะแยกเป็นหน้าละไฟล์ก็ได้
โปแกรมตัดคำผ่าน WWW: http://ntl.nectec.or.th/services/wordbreak


การกำหนดรูปแบบของตัวอักษรภาษาไทย
คุณเคยเข้าไปดูพวกโฮมเพจภาษาไทยแล้วจะต้องมาเปลี่ยน Encoding เป็น user define ทุกครั้งเพื่อที่จะได้อ่านอักษรไทยในหน้าโฮมเพจเหล่านั้น ปัญหาสามารถแก้ไขได้โดยการกำหนดรูปแบบของตัวอักษรภาษาไทย ในภาษา HTML จะมี tag ตัวหนึ่งที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบตัวอักษร นั่นคือ <FONT FACE="ชื่อของ font">.........</FONT> ดังนั้นประโยชน์ของ tag ตัวนี้ก็คือสามารถทำให้บราวเซอร์แสดงตัวอักษรภาษาไทยได้ทันทีโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องปรับ Encoding เป็น user define
วิธีใช้
เราใช้ tag มาตราฐานเหล่านี้คร่อมข้อความภาษาไทยเพื่อช่วยในการแสดงผลที่ดีขึ้น
<FONT FACE="Ms Sans Serif,EucrosiaUPC,CordiaUPC,Thonburi">....ข้อความภาษาไทย....</FONT>
<FONT FACE="CordiaUPC,EucrosiaUPC,Thonburi">....ข้อความภาษาไทย....</FONT>

Ms Sans Serif, EucrosiaUPC และ CordiaUPC เป็น font ที่มีอยู่แน่นอนในเครื่อง PC ที่ใช้ ระบบ windows และส่วน Thonburi นั้นเป็น font ที่มีอยู่บนเครื่อง Macintosh คุณสามารถกำหนดตัวอักษรเป็นรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ถ้าจะให้แน่นอนแล้วควรจะใช้ตัวอย่างข้างต้นนะครับ มีทั้งแบบสั้นและแบบยาวให้เลือก

หมายเหตุ: สำหรับ font Ms Sans Serif นั้นจะมีปัญหาเมื่อแสดงผลที่ขนาดใหญ่มากๆ


ปัญหาการเก็บรหัสภาษาไทยที่ผิดพลาด ซึ่งเกิดจากการใช้โปรแกรมช่วยสร้างโฮมเพจ
เป็นที่น่าเสียดายว่าโปรแกรมดีๆ ที่ใช้ในการสร้างโฮมเพจจะไม่สนับสนุนการสร้างโฮมเพจภาษาไทยเช่น Microsoft frontpage ทุกเวอร์ชั่นไม่สนับสนุนภาษาไทยเลย และอีกโปรแกรมนึงที่หลายๆคนรู้จัก คือ Netscape Gold และ Net1scape Composer ซึ่งสามารถทำภาษาไทยได้แต่ก็มีข้อควรระวังก็คือ รูปแบบของการเก็บรหัสภาษาไทย ซึ่งผู้ใช้จะต้องตรวจสอบทุกครั้ง ก่อนที่จะเก็บบันทึกโฮมเพจที่สวยงามของท่านว่าได้เปลี่ยน Encoding เป็น user define หรือยัง ถ้าหาก Encoding ของท่านยังเป็น Western1(latin1) อยู่ละก็ท่านต้องเปลี่ยนเป็น user define ก่อนที่จะบันทึกงานของท่านนะครับ มิฉะนั้นการเก็บรหัสภาษาไทยของท่านจะผิดพลาด
ท่านสามารถตรวจสอบและเปลี่ยน Encoding ของท่านได้ที่
เมนู Option --> Document Encoding [Netscape 3.X]
เมนู View --> Encoding [Netscape 4.X]


การอ้างถึงชื่อไฟล์ (Hyper link)
หากท่านต้องการอ้างถึงชื่อไฟล์ในไดเรกทอรีย่อยภายใต้ไดเรกทอรี account ของท่าน ท่านจะต้องอ้างถึงชื่อไฟล์แบบสัมพันธ์ (relative) เช่น <a href="image/line.gif"> เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสะดวกต่อท่านในการปรับปรุงแก้ไขโฮมเพจ ที่สร้างขึ้น กรณีที่ท่านต้องการอ้างถึงทรัพยากรส่วนกลางของเครือข่าย SchoolNET เช่น Logo  จะต้องอ้างถึงชื่อไฟล์แบบสมบูรณ์ (absolute) เช่น
<a href="http://www.school.net.th/picture/2541_icon.gif"> เป็นต้น


การเชื่อมโยงรูปภาพ และการตั้งชื่อของไฟล์ที่เชื่อมโยง
เนื่องจากระบบการตั้งชื่อไฟล์ บนระบบ DOS และ UNIX มีความแตกต่างกันคือ
  • ระบบ DOS,Windows 3.X และ Windows 95 ชื่อไฟล์ที่ตั้งชื่อด้วยตัวใหญ่หรือตัวเล็ก จะไม่มีความแตกต่างกัน และระบบจะถือว่าเป็นไฟล์เดียวกัน
    test.jpg = TEST.jpg = test.JPG = Test.JPG
  • ระบบ UNIX ชื่อไฟล์ที่ชื่อด้วยตัวใหญ่หรือตัวเล็ก จะมีความแตกต่างกัน และระบบจะถือว่าเป็นคนละไฟล์
    test.jpg != TEST.jpg != test.JPG != test.jpg ( != คือเครื่องหมายไม่เท่ากับ )

ถ้าหากชื่อไฟล์บน DOS หรือ windows เป็น test.JPG และท่านอ้างถึงรูปนี้เป็น <IMG SRC="test.jpg"> ถ้าท่านได้ทดสอบโฮมเพจบนเครื่อง PC ของท่านนั้น ท่านจะเห็นผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แต่เมื่อท่าน upload ไฟล์ของท่านไปไว้บน web server ที่เป็นระบบ UNIX แล้วละก็ ภาพของท่านก็จะไม่ปรากฎเนื่องจากว่า UNIX จะถือว่า test.jpg และ test.JPG เป็นคนละไฟล์กัน เพื่อกำจัดปัญหาเหล่านี้ ท่านควรจะตั้งชื่อไฟล์ของท่าน ทั้งหมดเป็นตัวเล็กและ การเชื่อมโยงภาพหรือไฟล์ต่างๆ ก็ควรจะเป็นอักษรตัวเล็กทั้งหมด เครื่องให้บริการของ schoolNET (user.school.net.th) เป็นระบบ UNIX ดังนั้นท่านควรจะระวังปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น


การใช้เครื่องหมายนขลิขิตหรือวงเล็บ ( ), อัญประกาศ (" "), ไม้ยมก (ๆ), ไปยาลน้อย (ฯ), จุลภาคหรือจุดลูกน้ำ (,), จุดคู่ ( : ), อัฒภาคหรือจุดครึ่ง ( ; ) และมหัพภาคหรือจุด ( . )
  • นขลิขิตหรือวงเล็บ (เครื่องหมาย ( ))
    ควรเว้นวรรค 1 ครั้งก่อนเปิดวงเล็บ และเว้นวรรค 1 ครั้งหลังปิดวงเล็บ ข้อความภายในวงเล็บควรติดกับ เครื่องหมายวงเล็บเปิดและเครื่องหมายวงเล็บปิด ตัวอย่างเช่น xxx (yyy) xxx
  • อัญประกาศหรือเครื่องหมายคำพูด (เครื่องหมาย " ")
    ควรเว้นวรรค 1 ครั้งก่อนเปิดเครื่องหมายคำพูด และเว้นวรรค 1 ครั้งหลังปิดเครื่องหมายคำพูด ข้อความภายในเครื่องหมายคำพูด ควรติดกับเครื่องหมายคำพูดเปิดและเครื่องหมายคำพูดปิด ตัวอย่างเช่น xxx "yyy" xxx
  • ไม้ยมก (เครื่องหมาย ๆ)
    ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายไม้ยมก อาจเว้นวรรค 1 ครั้งหรือไม่เว้นวรรคเลยแล้วแต่กรณี ตัวอย่างเช่น xxxๆ yyy หรือ xxxๆyyy
  • ไปยาลน้อย (เครื่องหมาย ฯ) จุดลูกน้ำ (เครื่องหมาย ,) จุดคู่ (เครื่องหมาย : ) และ จุดครึ่ง (เครื่องหมาย ; )
    ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายควรเว้นวรรค 1 ครั้ง
    ตัวอย่างเช่น
    xxxฯ yyy
    xxx, yyy
    xxx: yyy
    xxx; yyy
  • มหัพภาคหรือจุด (เครื่องหมาย .)
    ควรอยู่ติดกับข้อความ หลังเครื่องหมายจุดควรเว้นวรรค 2 ครั้ง ตัวอย่างเช่น xxx. yyy

*** หมายเหตุ xxx และ yyy แทนข้อความใดๆ ***


ห้ามใช้ code "<ul>"หลายชั้นเกินไป
code "<ul>" (Unordered List) เป็นรหัสสำหรับแจกแจงรายการแบบไม่ระบุลำดับ หากใช้ซ้อนกันหลายชั้น จะมีผลต่อผู้ใช้จอภาพขนาดเล็ก กล่าวคือโปรแกรม browser แสดงผลจะปรากฎการย่อหน้าเข้ามามากจนเกินไป จนเกิดความไม่สวยงาม และหัวข้อที่อยู่ชั้นในจะตกขอบจอภาพ


ต้องทดสอบโฮมเพจของท่านบนโปรแกรม browser หลาย ๆ เวอร์ชั่น ดังนี
  • Windows 3.11 และโปรแกรม Netscape เวอร์ชั่น 2 และ 3
  • Windows 95 และโปรแกรม Netscape เวอร์ชั่น 3
  • Macintosh และโปรแกรม Netscape เวอร์ชั่น 2 และ 3
  • Internet Explorer เวอร์ชั่น 3

และถ้าหากท่านใช้ Windows 95 ที่ตั้งความละเอียดของจอสูง (800 x600 หรือ1024x768) ก็ควรทดสอบที่จอภาพความละเอียดต่ำ (640x480)ด้วย เนื่องจากมีผู้ใช้ Window 3.1 จำนวนมากที่ใช้ความละเอียดของจอในระดับนี้


ปัญหาที่พบในโฮมเพจที่สร้างจากโปรแกรม Netscape Gold และวิธีแก้ไข
1. ปัญหาที่พบในโฮมเพสที่สร้างจาก Netscape Gold 16 bit สำหรับวินโดว์ส 3.1
ปัญหา

Netscape Gold 16 bit สำหรับวินโดว์ส 3.1

1. โปรแกรม browser ไม่แสดงรูปภาพบนโฮมเพจ 1.1 ชื่อไฟล์เป็นอักษรตัวใหญ่

สาเหตุ วินโดว์ส 3.1 จะตั้งชื่อไฟล์เป็นอักษรตัวใหญ่ทั้งหมด เมื่อท่านคลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์รูปภาพที่ต้องการ Netscape Gold จะใส่ชื่อไฟล์ดังกล่าวเป็นอักษรตัวใหญ่ (เช่น PIC1.GIF) เมื่อท่านโอนย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ PC มายังเครื่อง user.school.net.th ชื่อไฟล์มักเปลี่ยนเป็นอักษรตัวเล็ก (เช่น pic1.gif) เครื่อง mozart.inet.co.th ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ซึ่งรู้จักชื่อไฟล์อักษรตัวใหญ่ ต่างกับชื่อไฟล์อักษรตัวเล็กเช่น PIC1.GIF , pic1.gif, pic1.GIF เป็นต้น ดังนั้นโฮมเพจที่อยู่บนเครื่อง mozart.inet.co.th จึงไม่แสดงรูปภาพ

วิธีแก้ไข ท่านจำเป็นต้องพิมพ์ชื่อไฟล์ด้วยตนเอง ไม่สามารถคลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการ ท่านต้องระวังการอ้างถึงชื่อไฟล์ แบบสัมพันธ์ซึ่งจะคั่นด้วย slash (/) เช่น dir/file1.htm

1.2 อ้างชื่อไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC

สาเหตุ เนื่องจาก link ของไฟล์มีข้อความ file:///C|/directory/filename.gif ซึ่งเป็นการอ้างถึงไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ดังนั้นโฮมเพจที่อยู่บนเครื่อง mozart.inet.co.th จึงไม่พบไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC

วิธีแก้ไข ท่านจำเป็นต้องลบการอ้างถึงไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC เหลือเพียงชื่อไฟล์เท่านั้น เช่น
file:///C|/directory/filename.gif เหลือเพียง filename.gif เป็นต้น

1.3 อ้างไดเรกทอรีของไฟล์ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ ท่านเลือก Keep images with document ในเมนู Option ไว้ เมื่อท่านคลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการ Netscape Gold จะใส่เพียงชื่อไฟล์เท่านั้น โดยไม่อ้างถึงไดเรกทอรีของไฟล์รูปภาพ

วิธีแก้ไข เมนู Options เลือก Editor Preferences แล้วคลิกที่แถบ Publish จากนั้นคลิกที่ช่องสี่เหลี่ยม Keep images with document ให้ว่าง

2. ไม่สามารถคลิกไปยังโฮมเพจ หน้าอื่นได้ (แสดงข้อความ File not found) สาเหตุและวิธีแก้ไข

เช่นเดียวกับข้อ 1.1 และ 1.2

3. ภาษาไทยบนโฮมเพจไม่สามารถอ่านได้บนแพลตฟอร์มอื่น การแปลงรหัสภาษาไทยไม่ถูกต้อง

สาเหตุ ผู้ใช้เลือก Document Encoding เป็น Western (latin1) ซึ่งแปลงรหัสภาษาไทยไม่ถูกต้อง ทำให้ไม่สามารถอ่านภาษาไทย บนโฮมเพจจากแพลตฟอร์มอื่นได้ เช่น ภาษาไทยบนโฮมเพจที่สร้างจาก Netscape Gold บนวินโดว์ส จะไม่สามารถอ่านได้บนเครื่อง Macintosh เป็นต้น ตัวอย่างรหัสภาษาไทยที่ไม่ถูกต้องของตัวอักษร ก คือ &iexcl; เป็นต้น

วิธีแก้ไข

  1. ถ้าต้องการสร้างโฮมเพจใหม่ ท่านจะต้องเลือกเมนู Options เลือก Document Encoding เป็น User Defined ทุกครั้งก่อนพิมพ์ข้อความ
  2. ถ้าต้องการแก้ไข รหัสภาษาไทยของโฮมเพจที่มีอยู่แล้ว ทำดังนี้
    - เมนู Options เลือก Document Encoding เป็น User Defined
    - เมนู File เลือก Open File in Editor เลือกไฟล์ที่ต้องการ
    - เมื่อ Netscape Gold เปิดไฟล์จะเปลี่ยนรหัสภาษาไทยให้ถูกต้องโดยอัตโนมัติ ท่านสามารถจัดเก็บไฟล์ได้ทันทีโดยเลือก Save จากเมนู File

2. ปัญหาที่พบในโฮมเพสที่สร้างจาก Netscape Gold 32 bit และ Netscape Composer สำหรับวินโดว์ส 95

ปัญหา

Netscape Gold 32 bit สำหรับวินโดว์ส 95

1. โปรแกรม browser ไม่แสดงรูปภาพบนโฮมเพจ 1.1 ชื่อไฟล์เป็นอักษรตัวใหญ่ปนกับอักษรตัวเล็ก

สาเหตุ วินโดว์ส 95 สามารถตั้งชื่อไฟล์เป็นอักษรตัวใหญ่ปนกับอักษรตัวเล็กได้ เมื่อท่านคลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์รูปภาพที่ต้องการ Netscape Gold จะใส่ชื่อไฟล์ที่เป็นอักษรตัวใหญ่ปนกับอักษรตัวเล็ก (เช่น Pic1.gif) เมื่อท่านโอนไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ PC มายังเครื่อง mozart.inet.co.th ชื่อไฟล์มักเปลี่ยนเป็นอักษรตัวเล็ก (เช่น pic1.gif) เครื่อง mozart.inet.co.th ใช้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ซึ่งรู้จักชื่อไฟล์อักษรตัวใหญ่ต่างกับชื่อไฟล์อักษรตัวเล็ก เช่น Pic1.gif ต่างกับ pic1.gif เป็นต้น ดังนั้นโฮมเพจที่อยู่บนเครื่อง mozart.inet.co.th จึงไม่แสดงรูปภาพ

วิธีแก้ไข หลังจากคลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการแล้ว ท่านจำเป็นต้องตรวจสอบชื่อไฟล์ที่ Netscape ใส่ให้ พร้อมทั้งแก้ไขให้ชื่อไฟล์เป็นอักษรตัวเล็กทั้งหมด

1.2 อ้างชื่อไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC

สาเหตุ เนื่องจาก link ของไฟล์มีข้อความ file:///C|/directory/filename.gif ซึ่งเป็นการอ้างถึงไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ดังนั้นโฮมเพจที่อยู่บนเครื่อง mozart.inet.co.th จึงไม่พบไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC

วิธีแก้ไข ท่านจำเป็นต้องลบการอ้างถึงไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC เหลือเพียงชื่อไฟล์เท่านั้น เช่น
file:///C|/directory/filename.gif เหลือเพียง filename.gif เป็นต้น

1.3 อ้างไดเรกทอรีของไฟล์ไม่ถูกต้อง

สาเหตุ ผู้ใช้เลือก Keep images with document ในเมนู Option ไว้ เมื่อท่านคลิกปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการ Netscape Gold จะใส่เพียงชื่อไฟล์เท่านั้น โดยไม่อ้างถึงไดเรกทอรีของไฟล์รูปภาพ

วิธีแก้ไข เมนู Options เลือก Editor Preferences แล้วคลิกที่แถบ Publish จากนั้นคลิกที่ช่องสี่เหลี่ยม Keep images with document ให้ว่าง

2. ไม่สามารถคลิกไปยังโฮมเพจหน้าอื่นได้ (แสดงข้อความ File not found) สาเหตุและวิธีแก้ไข

เช่นเดียวกับข้อ 1.1 และ 1.2

3. ภาษาไทยบนโฮมเพจไม่สามารถอ่านได้บนแพลตฟอร์มอื่น การแปลงรหัสภาษาไทยไม่ถูกต้อง

สาเหตุและวิธีแก้ไข

เช่นเดียวกับ Netscape 16 bit สาหรับวินโดว์ส 3.1

Home | About | Thai Schools | Interesting | Education | Activity
NTL | NITC | NSTDA | NECTEC | Internet Thailand

Contact: SchoolNet Webmaster
SchoolNet Thailand is served and managed by
Network Techonology Laboratory (NTL)
National Electronics and Computer Technology Center (NECTEC)
Copyright © 1997 by Network Technology Laboratory of NECTEC. All Rights Reserved.


ข้อมูลภาษาไทยในหน้านี้ผ่านการ ตัดคำโดย บริการตัดคำสำหรับโฮมเพจภาษาไทย