1. เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจของทั้ง 3 ปีที่ผ่านมา
(การสำรวจนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2542)
พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตระหว่างกลุ่มหญิงและชาย
มีแนวโน้มที่การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของกลุ่มหญิงจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ
โดยในปีแรกที่มีการสำรวจ คือ 2542
พบสัดส่วนจำนวนผู้ใช้เปรียบเทียบหญิงต่อชายคือ 35 ต่อ 65 ในปีถัดมาคือ
2543 สัดส่วนดังกล่าวสูงขึ้นเป็น 49 ต่อ 51 ในปี 2544
สัดส่วนนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงอีกเล็กน้อยเป็น 51 ต่อ 49 และในปี 2545
สัดส่วนนี้ได้สูงขึ้นเป็น 53.4 ต่อ 46.6
อย่างไรก็ตามสัดส่วนความแตกต่างระหว่างหญิงและชายยังไม่สูงนัก
จึงอาจจะกล่าวได้ว่าประเทศไทยไม่มีปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเพศ (gender
gap) ในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
เพศ
Gender |
หญิง
Female |
ชาย
Male |
รวม*
Total |
จำนวน
Frequency |
8,023 |
7,013 |
15,036 |
ร้อยละ
Percent |
53.4 |
46.6 |
100
|
*จำนวนในที่นี้คือผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น
มิใช่จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
2.
ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเปรียบเทียบระหว่างคนกรุงเทพฯ
และต่างจังหวัด ยังปรากฏอย่างชัดเจน โดยสัดส่วนผู้ใช้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ
และสัดส่วนผู้ใช้รวมกรุงเทพฯ และปริมณฑลลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว
คือจากร้อยละ 52.2 และร้อยละ 66.0 ในปี 2544 เป็นร้อยละ 50.2 และ 62.5
ในปีนี้ ตามลำดับ ซึ่งนับว่าสัดส่วนดังกล่าวก็ยังนับว่าสูงอยู่มาก
3. สำหรับอายุของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
จากการสำรวจพบว่ากลุ่มอายุของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.2)
อยู่ระหว่างอายุ 20-29 ปี
ซึงไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักจากการสำรวจในปีก่อนๆ
4. เมื่อพิจารณาถึงระดับการศึกษาของกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจใน 3 ปีที่ผ่านมา
สัดส่วนของกลุ่มผู้ใช้ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ
ในปีนี้กลุ่มผู้ใช้ที่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปคิดเป็น 62.3
ซึ่งลดลงจากร้อยละ 74.0 ในปี 2544
ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แพร่กระจายไปสู่ระดับการศึกษาอื่นๆ
เพิ่มขึ้น
5. ในเรื่องของการใช้งาน ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail)
ยังคงดำรงตำแหน่งกิจกรรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดเหมือนการสำรวจในปีก่อนๆ
ในปีนี้ร้อยละ 37.9 ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าใช้อีเมล์มากที่สุด
ตามมาด้วยการค้นหาข้อมูล ร้อยละ 33.8
เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลหญิง-ชายพบว่า
ความนิยมในอีเมล์ในกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นหญิงสูงกว่ามาก คือร้อยละ 42.5
ของผู้ใช้ที่เป็นหญิงระบุว่าใช้อีเมล์มากที่สุด เทียบกับเพียงร้อยละ 32.6
ของผู้ใช้ที่เป็นชาย ในขณะที่สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นชายนั้น
กิจกรรมอันดับหนึ่งคือการค้นหาข้อมูล ด้วยคะแนนร้อยละ 34.2
ในขณะที่คะแนนของกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นหญิงสำหรับกิจกรรมนี้คือ 33.5
กิจกรรมที่พบความแตกต่างชัดเจนระหว่างหญิง-ชายคือการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตเพื่อติดตามข่าว
และดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ โดยร้อยละ 10.7
ของผู้ใช้ที่เป็นชายระบุว่าใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลมากที่สุด
ในขณะที่ผู้ใช้หญิงกลับตอบข้อนี้เพียงร้อยละ 8.3
สำหรับกิจกรรมการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ ร้อยละ 5.2
ของผู้ใช้ที่เป็นชายระบุว่าใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับกิจกรรมนี้มากที่สุด
ในขณะที่กลุ่มผู้ใช้ที่เป็นหญิงคิดเป็นร้อยละ 1.2
เมื่อเปรียบเทียบการใช้อินเทอร์เน็ตระหว่างกลุ่มอายุ โดยจำแนกเป็น 3
กลุ่มคือ ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี และ 30 ปีขึ้นไป
จะเห็นว่ากลุ่มอายุต่ำกว่า 20
จะใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่เน้นไปในการบันเทิง เช่นเพื่อเล่นเกมและสนทนา
ในขณะที่กลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไปจะใช้ประโยชน์จากการค้นหาข้อมูล
และติดตามข่าวสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ
กิจกรรม
Activity |
จำนวน(คน)
Frequency |
ร้อยละ
Percent |
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
e-mail |
5,623 |
37.9 |
ค้นหาข้อมูล
Information Search |
5,023 |
33.8 |
ติดตามข่าว
News, Timely Report |
1,397 |
9.4 |
เว็บบอร์ด
Web Board |
701 |
4.7 |
สนทนา
Chat/ ICQ |
621 |
4.2 |
ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์
Download-Software |
454 |
3.1 |
เล่นเกม
Game |
348 |
2.3 |
ชมสินค้า
Shopping |
215 |
1.4 |
ดาวน์โหลดเพลง
Download-Music |
161 |
1.1 |
ดาวน์โหลดเกมส์
Download-Game |
72 |
0.5 |
อื่นๆ
Others |
232 |
1.6 |
รวม
Total |
14,847 |
100 |
หมายเหตุ
:
สำหรับข้อนี้ ผู้ตอบต้องระบุว่าใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมใดมากที่สุดเลือกได้เพียง
คำตอบเดียว (จำนวนรวม
คือจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามข้อนี้ทังหมด)
6.
สำหรับความคิดเห็นต่อปัญหาสำคัญของอินเทอร์เน็ตนั้น ในแบบสอบถามนี้
ได้ระบุให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือกได้ 3 ปัญหานั้น พบว่าปัญหา 3
อันดับแรกที่มีผู้ระบุบ่อยครั้งที่สุดคือ ความล่าช้าของการสื่อสาร ร้อยละ
62.5 อีเมล์ขยะ ร้อยละ 38.5 และความเชื่อถือได้ของบริการเครือข่าย ร้อยละ
28.1
ในปีนี้ปัญหาเรื่องอีเมล์ขยะเป็นปัญหาที่ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าเป็นปัญหาที่สำคัญเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับการสำรวจในปี
2544 ปัญหานี้ถูกระบุเป็นอันดับ 4 ได้เลื่อนอันดับขึ้นเป็นลำดับที่ 2
และปัญหาการมีแหล่งยั่วยุทางเพศ ซึ่งเคยอยู่ในอันดับ 2
ได้ถูกจัดลำดับลงไปอยู่ในลำดับที่ 4 ในปีนี้
การที่ปัญหาเรื่องแหล่งยั่วยุทางเพศถูกจัดอันดับให้ลดลงอาจเนื่องจากปีนี้มีข่าวที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีข่าวในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการถูกล่อลวงทางเพศโดยใช้
อินเทอร์เน็ตหลายครั้ง
และการที่ปัญหาเรื่องอีเมลล์ขยะกลับเพิ่มขึ้นก็เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใช้ประโยชน์จากอีเมล์เพิ่มขึ้น
และได้รับอีเมล์โฆษณาขายสินค้า/บริการที่ไม่พึงประสงค์มากขึ้น
ปัญหา
Perceived Problems |
จำนวน (คน)
Frequency |
ร้อยละ
Percent |
ความล่าช้าของการสื่อสาร
Speed |
9,486 |
62.5 |
อีเมล์ขยะ
Junk
Mail |
5,839 |
38.5 |
ความเชื่อถือได้ของบริการเครือข่าย
Network Reliability |
4,256 |
28.1 |
การมีแหล่งยั่วยุทางเพศ
Pornography |
4,055 |
26.7 |
ความน่าเชื่อถือของข้อมูล
Data Integrity |
3,436 |
22.7 |
ความยากในการหาเว็บไซต์
Web
Search |
3,252 |
21.4 |
ภาระค่าใช้จ่าย
Expenses |
3,224 |
21.3 |
ปัญหาทางภาษา
Language |
3,201 |
21.1 |
ขาดกฎหมายที่ครอบคลุมชัดเจนสำหรับการกระทำนิติกรรม
Lack of Law
for web-based business transaction |
3,077 |
20.3 |
การใช้ถ้อยคำหยาบคาย
Impolite/Inappropriate Content |
3,057 |
20.2 |
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
Data Privacy
Violation |
2,976 |
19.6 |
การขโมยข้อมูล/การบุกรุกข้อมูล
Hacking |
2,720 |
17.9 |
การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการโฆษณาขายสินค้า
Commercial Use of Internet |
1,020 |
6.7 |
เกิดการถูกกลืนทางวัฒนธรรม
Cultural Dominance |
854 |
5.6 |
ลดการติดต่อสัมพันธ์ในชีวิตจริง
Social Isolation |
789 |
5.2 |
การขอหมายเลขโทรศัพท์
Request for telephone line installation |
739 |
4.9 |
อื่นๆ
Others |
229 |
1.5 |
หมายเหตุ : ผู้ตอบสามารถตอบได้ 1-3 คำตอบ
7.
เมื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต
พบว่าสัดส่วนผู้ที่เคยซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตสูงขึ้นตามลำดับ
จากร้อยละ 18.4 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 19.1 ในปี 2543 ร้อยละ 19.6ในปี
2544 และเพิ่มเป็นร้อยละ 23.6 ในปีนี้
เมื่อเปรียบเทียบการซื้อสินค้าระหว่างหญิง-ชายพบว่า
ชายมีการซื้อมากกว่าหญิง คือ
ชายเคยซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตคิดเป็นร้อยละ 30.6 และหญิงร้อยละ17.3
การที่ผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นชายนี้เองทำให้สินค้ายอดนิยมที่มีการซื้อทางอินเทอร์เน็ตหลายรายการเป็นสินค้าที่ผู้ชายนิยมซื้อ
เช่น ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
8.
สำหรับสินค้ายอดนิยมที่มีการซื้อทางอินเทอร์เน็ตของปีนี้ยังคงเป็นหนังสือ
(ร้อยละ 54.4) รองลงมาคือซอฟต์แวร์ (ร้อยละ 30.2)
ตามด้วยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ร้อยละ 28.9) เป็น 3
อันดับแรกของปีที่แล้วเช่นกัน ในปีนี้ได้มีการปรับปรุงแบบสอบถามในข้อนี้
โดยได้เพิ่มคำตอบเกี่ยวกับการสั่งจองบริการต่างๆ เช่นโรงแรม ภาพยนตร์
และพบว่าคำตอบในข้อนี้สูงถึงร้อยละ 16.1
9.
เหตุผลที่ไม่เคยซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งผู้ตอบสามารถเลือกได้ 1-3 คำตอบนั้น
เหตุผลที่ได้รับเลือกมากที่สุดคือ ไม่สามารถเห็นหรือจับต้องสินค้าได้
(ร้อยละ 40.5)
ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุให้สินค้ายอดนิยมที่ซื้อทางอินเทอร์เน็ตคือหนังสือซึ่งเป็นสินค้าที่คุณภาพคงที่
ไม่ต้องดูรูปร่างหน้าตาในรายละเอียด ลำดับต่อมาคือไม่ไว้ใจผู้ขาย (ร้อยละ
36.4) และไม่อยากให้หมายเลขบัตรเครดิต (ร้อยละ 27.3) ตามลำดับ
ซึ่งเป็นปัญหาอันดับต้นๆที่ผู้ตอบแบบสอบถามตอบในการสำรวจปีก่อนเช่นเดียวกัน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับเว็บไซต์ภาครัฐ
1.ร้อยละ 62.1 ของผู้ตอบแบบสอบถาม เข้าชมเว็บไซต์ภาครัฐน้อยกว่า 5
ครั้งใน 1 เดือน ซึ่งเมื่อแยกตามอายุแล้วพบว่ากลุ่มอายุต่ำกว่า 20
ปีเป็นกลุ่มที่ตอบว่าไม่เคยเข้าชมเลยใน 1 เดือนมากที่สุด
2. สำหรับเรื่องการเข้าไปใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ภาครัฐนั้น
ให้ผู้ตอบสามารถตอบได้ 1-3 ข้อที่เคยใช้บริการจากเว็บไซต์ภาครัฐ ส่วนใหญ่
(ร้อยละ 78.5) ผู้ตอบแบบสอบถามจะเข้าไปค้นคว้าหาข้อมูล
หรือหาความรู้ทั่วไป รองลงมาได้แก่ การรับทราบข่าวสารใหม่ๆ (ร้อยละ 36.8)
และ การหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ราชการ (ร้อยละ 36.4) ตามลำดับ
สำหรับข้อนี้มีคำตอบที่น่าสนใจคือมีผู้ตอบว่าเข้าไปตรวจผลการออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลถึงร้อยละ
22.5
3. ในประเด็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ภาครัฐ
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (ร้อยละ 67.6)
ตอบว่าได้พบข้อมูลหรือบริการที่ต้องการจากการเข้าไปค้นหาในเว็บไซต์ภาครัฐต่ำกว่าร้อยละ
50
4. ในแง่ของปัญหาที่พบจากการเข้าไปใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ภาครัฐ 3
ปัญหาแรกได้แก่ ข้อมูลไม่ทันสมัย (ร้อยละ 57.9) ไม่รู้จักชื่อเว็บไซต์
(ร้อยละ 57.7) และหาข้อมูลที่ต้องการไม่พบเมื่อเข้าไปในเว็บไซต์นั้นแล้ว
(ร้อยละ 44.9) แสดง
ให้เห็นว่าเว็บไซต์ของภาครัฐยังต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
และต้องมีการจัดระบบการสืบค้นข้อมูลในเว็บไซต์ให้หาง่ายขึ้นกว่าเดิม
ปัญหา
Perceived Problems |
จำนวน
Frequency |
ร้อยละ
Percent |
ข้อมูลไม่ทันสมัย ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
Out-dated Information |
8,783 |
57.9 |
ไม่รู้จักชื่อเว็บไซต์( URL)
ของหน่วยงานภาครัฐที่ต้องการค้นหาข้อมูล
Dont know website name |
8,747 |
57.7 |
หาข้อมูลที่ต้องการไม่พบ สับสนในการค้นหาข้อมูล
Cant find needed information |
6,811 |
44.9 |
มีบริการที่ไม่ตรงตามความต้องการ
Cant find needed services |
4,555 |
30.0 |
ลิงค์ขาด
คลิกบริเวณที่มีลิงค์แต่ไม่สามารถลิงค์ไปถึงข้อมูลได้
Unaction links |
4,543 |
30.0 |
ไม่แจ้งที่อยู่ หน่วยงาน หรือส่วนงาน
ให้ติดต่อกลับ
No contact information |
1,467 |
9.7 |
อื่นๆ
Others |
422 |
2.8 |
หมายเหตุ : ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือกได้ 1-3 คำตอบ
ข้อจำกัดของการสำรวจ
ข้อจำกัดที่สำคัญที่สุดคือ การสำรวจครั้งนี้มิได้ใช้การ สุ่มตัวอย่าง (random
sampling) แต่เป็นการ เลือกตอบโดยสมัครใจ (self selection)
ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่สนใจจะตอบแบบสอบถาม ดังนั้น
จึงเป็นไปได้มากว่าข้อมูลที่รวบรวมได้จะมีความลำเอียง (bias)
อยู่มากพอสมควร ตัวอย่างเช่น
อาจเป็นไปได้ว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ
จะยินดีเสียเวลาการออนไลน์ให้กับการตอบแบบสอบถามมากกว่าผู้ใช้ในต่างจังหวัด
เพราะจากระดับรายได้ที่ต่างกันระหว่างกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด
ทำให้ในเชิงเปรียบเทียบแล้ว
ค่าบริการอินเทอร์เน็ตนั้นถูกกว่าสำหรับคนกรุงเทพ ฯ
ในทางเดียวกัน มีบางท่านให้ข้อสังเกตว่า
ผู้หญิงอาจยินดีตอบแบบสอบถามมากกว่าผู้ชายก็เป็นได้
ผู้ดำเนินการสำรวจพยายามอย่างที่สุด ที่จะลดความลำเอียงเท่าที่จะทำได้
ซึ่งคือการกระจายแบบสอบถามไปยังผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ทั่วถึงมากที่สุด
ให้ได้ผู้ตอบจำนวนมาก และไม่เจาะจงไปยังกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเป็นพิเศษ
วิธีการนั้นคือพยายามที่จะติดป้ายประกาศเชิญชวนตอบแบบสอบถามไว้ในเว็บไซต์หลายๆ
แห่ง ที่เป็นที่นิยมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน
เพื่อให้ได้ผู้ตอบจำนวนมากที่สุด และมีความหลากหลาย
เว็บไซต์ที่ให้ความอนุเคราะห์ติด banner
เว็บไซต์ในเครือเอ็มเว็บ, dailynews.co.th, hunsa.com, kapook.com,
pantip.com, police.go.th, siam2you.com, siamguru.com, thairath.co.th,
thannews.com
|