|
รายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย |
|
โดย International Telecommunication Union ของสหประชาชาติ
|
|
ใน พ.ศ. 2544 ITU
ได้จัดให้มีการจัดทำรายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตในประเทศสมาชิกอาเซียน
7 ประเทศ (มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม)
โดยรายงานการศึกษาได้รับการจัดพิมพ์เผยแพร่เมื่อมีนาคม 2545
ข้อมูลสถิติต่างๆ ในรายงาน จัดได้ว่าเป็นการรวบรวมที่ครบถ้วน โดยมี
บทที่ 1 กล่าวถึงสถานภาพทั่วไปของประเทศไทย ปัญหาการลดค่าเงินบาท
ภาวะทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคนในประเทศไทย บทที่ 2
กล่าวถึงสถานภาพด้านโทรคมนาคมและสื่อสารมวลชนในประเทศไทย
บทที่ 3
กล่าวถึงประวัติและสถานภาพของ อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย บทที่ 4
กล่าวถึงนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ICT ของประเทศ
และภาวะของตลาดซึ่งมีการนำอินเทอร์เน็ตไปใช้งานในด้านต่างๆ และ
บทที่ 5
เป็นการสรุปภาวะความพร้อมของประเทศไทย
|
กล่าวโดยรวมแล้ว ถือว่ารายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวมข้อมูล สถิติต่างๆ
ด้านโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตของประเทศไทยได้อย่างครบดีเยี่ยม
โดยมีความทันสมัยถึงประมาณต้นปี 2545
โดยคณะผู้ศึกษาได้ติดต่อประสานงานด้านการสัมภาษณ์และขอข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
14 แหล่ง และจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
ในการรวบรวมจัดได้ว่า ITU ได้ทำรายงานที่มีคุณภาพสูง
ข้อมูลเจาะลึกละเอียดได้พอสมควร ทันสมัย
(ถึงประเด็นการวิเคราะห์โครงการเกี่ยวกับการใช้ ICT เพื่อสนับสนุน SME
และชุมชน รวมไปถึงโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์)
ในบทสรุปรายงานฉบับนี้ได้ให้คะแนนสภาพของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย 15.5
คะแนน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน ใน 6 ด้านๆ ละ 4 คะแนน (ประกอบด้วย
ความกว้างขวางในการใช้งาน 3 คะแนน, ความทั่วถึงทางภูมิศาสตร์ 3.5 คะแนน,
การนำไปใช้ในแขนงต่างๆ 2.5 คะแนน, โครงสร้างของการเชื่อมต่อ 2.5 คะแนน,
สภาวะขององค์กรบริการ และตลาด 2 คะแนน
และระดับความสลับซับซ้อนในการใช้งาน 2 คะแนน)
หากจะเปรียบเทียบกับกรณีของมาเลเซีย เขาได้ 18.5 คะแนน
|
ข้อเสนอที่ ITU
เสนอกับประเทศไทย
มี 4 ประเด็นดังนี้
1. การกำกับดูแลและนโยบายการพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่ไม่ชัดเจน
เป็นอุปสรรคทำให้ ISP ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นเพียง ผู้ขายส่ง
ที่ทำงานให้กับผู้มีอำนาจผูกขาดในการกำกับดูแลตลาดอินเทอร์เน็ต (กสท.)
นอกจากนี้ความล่าช้าของการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแล (กทช.)
ทำให้เกิดการหยุดชะงักในการขยายตัวของตลาดอินเทอร์เน็ต
2. การที่ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 5% ของประชากร (3.5 ล้านคนในพ.ศ.
2544) จะช่วยทำให้ประเทศไทยมีโอกาสก้าวหน้าทางด้านการทำให้ประเทศไทย
online ไปไกลพอควร ถ้าอุปสรรคตามข้อ 1 ได้ลดลง
3. การหยุดชะงักของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจทำให้ Economic Intelligence
Unit (EIU) ปรับลดลำดับของประเทศไทยในด้านความพร้อม (readiness)
จากอันดับที่ 28 จาก 60 ในปี 2543 ลงไปเป็นอันดับที่ 46 ในปี 2544
4. ข้อเสนอต่อประเทศไทยในการพัฒนาอินเทอร์เน็ต ได้แก่ |
|
4.1 การเปิดเสรีตลาดอินเทอร์เน็ต
4.2 การอนุญาตให้เปิดบริการ VoIP เพื่อให้เกิดการแข่งขันในการบริการด้าน
voice จากผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตรายอื่นๆ
4.3 การพัฒนา ICT ในประเทศไทย ทำกันซ้ำซ้อนในหลายหน่วยงาน
(กระทรวงคมนาคม, กรมไปรษณีย์โทรเลข, กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ, สวทช., เนคเทค)
น่าที่จะพิจารณาให้มีหน่วยงานรับผิดชอบหลักเพียงหน่วยงานเดียว
4.4 แม้ว่าประเทศไทยมีราคาค่าอินเทอร์เน็ตแบบ dial-up ค่อนข้างต่ำ
แต่เป็นประเทศที่ตั้งราคาค่าวงจรเช่า (leased line)
ในอัตราที่แพงมากในภูมิภาค ทำให้ธุรกิจต่างๆ
ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มที่
และเป็นเหตุหนึ่งทำให้การเริ่มใช้ broadband เกิดขึ้นช้าเกินควร
สมควรที่จะเปิดตลาดวงจรเช่าให้แก่ผู้ประกอบการมากขึ้น
และควรเตรียมการให้มีการกำกับดูแลการทำให้ผู้ให้บริการโครงข่ายพื้นฐานแบบเคเบิลโมเด็ม
และ ADSL จัดบริการให้แก่ ISP ได้ในราคาที่ใกล้กับราคาทุน
4.5 ควรจัดทำเนื้อหาสาระที่เป็นภาษาไทยให้มากขึ้น
เนื่องจากคนไทยใช้ภาษาอังกฤษกันน้อย
โดยอาจจะให้การสนับสนุนเป็นแรงจูงใจด้านภาษีแก่ภาคเอกชนที่จัดทำเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตเป็นภาษาไทย
ทั้งนี้ อาจจะเน้นในด้านของเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อชุมชนในชนบท
4.6 ภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำให้ประเทศไทยมีพลังในการแข่งขัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เพื่อส่งออก
ในการรับรองมาตรฐานวิชาชีพด้าน ICT
ของไทยควรต้องมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับความรู้ภาษาอังกฤษด้วย
4.7 จำนวนโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย (3.4 ล้านเครื่องในเดือนธันวาคม
2543) มีมากกว่าจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ (2.3 ล้านเครื่อง)
โทรศัพท์เคลื่อนที่จึงเป็นช่องทางสำคัญอีกทางหนึ่งที่จะใช้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
(เช่นผ่าน WAP, SMS)
ประเทศไทยจึงควรที่จะพัฒนาการใช้ภาษาไทยกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ และทำให้
SMS มีบริการต่ำมากๆ
และต้องพิจารณาถึงวิธีการที่จะอนุญาตให้เปิดบริการในยุค 3G โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้
ต้องวางแผนในด้านกรรมวิธีอนุญาตและการจัดสรรผ่านความถี่ให้พอเพียง
4.8 ในปัจจุบันข้อมูลการตลาดอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยทำได้ค่อนข้างดี
ทั้งนี้ เป็นผลจากการจัดทำรายงานการสำรวจ Internet User Profile
ที่จัดขึ้นทุกปีโดยเนคเทค
และการสำรวจครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับเนคเทค
นอกเหนือไปจากสถิติด้านโทรศัพท์และโทรทัศน์แล้วข้อมูลตัวชี้วัดด้าน ICT
อื่นๆ มีค่อนข้างน้อย ในอนาคตองค์กรกำกับดูแล (กรมไปรษณีย์โทรเลข
ซึ่งจะกลายเป็นองค์กรใหม่)
ควรรับผิดชอบในการสำรวจและประเมินสภาวะด้านโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตอย่างเต็มรูปแบบต่อไปเพื่อช่วยให้การกำกับดูแลเกิดขึ้นอย่างน่าเชื่อถือจริง
ในทำนองเดียวกันกับที่องค์กรกำกับดูแลในสิงคโปร์และมาเลเซียดำเนินการอยู่
|
สรุปความจาก "Bits and Bahts: Thailand
Internet Case Study" , ITU , March 2002
โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล,
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ |
|
หากสนใจรายงานฉบับเต็ม
คลิกที่นี่
|
|
|